บาลีวันละคำ

ปรมัตถสัจจะ (บาลีวันละคำ 1,706)

ปรมัตถสัจจะ

จริงจริงๆ

อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ-สัด-จะ

ประกอบด้วย ปรมัตถ + สัจจะ

(๑) “ปรมัตถ

บาลีเป็น “ปรมตฺถ” (ปะ-ระ-มัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก ปรม + อตฺถ

(ก) “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรมฺ + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปรฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

หมายเหตุ: “ปรม” ยังมีรากศัพท์และแปลอย่างอื่นอีกหลายความหมาย

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(ข) “อตฺถ” (อัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง เป็นไป; พินาศ) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตเป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ)

: อรฺ + = อรฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ” (4) “ภาวะที่พินาศ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตเป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + ปัจจัย

: อตฺถฺ + = อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ

อตฺถ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ; ความดี, พร, สวัสดิภาพ; ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา, ประโยชน์ (need, want, use)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import [of a word], denotation, signification)

(4) ข้อความ, สิ่งของ (matter, thing)

(5) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

ปรม + อตฺถ = ปรมตฺถ หมายถึง ประโยชน์อันสูงสุด, ปรมัตถ์; ความจริงอย่างยิ่ง, ความจริงเชิงปรัชญา (the highest good, ideal; truth in the ultimate sense, philosophical truth)

(๒) “สัจจะ

บาลีเป็น “สจฺจ” (สัด-จะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (แทนศัพท์ว่า “สนฺต” = สัตบุรุษ, คนดี) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง ภู เป็น

: + ภู > = สจ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี)

(2) สรฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ส)-รฺ (สรฺ > ), ซ้อน จฺ

: สรฺ > + จฺ + = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)

สจฺจ” เป็นคำนาม แปลว่า ความจริง (the truth), การยืนยันแน่นอน (a solemn asseveration) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า จริง, แท้ (real, true)

สจฺจ” ในภาษาไทย นิยมตัด ออกตัวหนึ่ง เขียนเป็น “สัจ” ถ้าใช้คำเดียวและ/หรืออ่านว่า สัด-จะ เขียนเป็น “สัจจะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัจ, สัจ-, สัจจะ : (คำนาม) ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมีสัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).”

ปรมตฺถ + สจฺจ = ปรมตฺถสจฺจ > ปรมัตถสัจจะ แปลว่า “ความจริงโดยปรมัตถ์

ปรมัตถสัจจะ” คู่กับ“สมมุติสัจจะ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [50] อธิบายไว้ดังนี้ –

1. สมมติสัจจะ : ความจริงโดยสมมุติ, ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน, ความจริงที่ถือตามความกำหนดหมายตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่นว่า คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น (Sammati-sacca: conventional truth)

2. ปรมัตถสัจจะ : ความจริงโดยปรมัตถ์, ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน, ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น (Paramattha-sacca: ultimate truth, absolute truth)

…………..

ดูก่อนภราดา!

บางเรื่อง เขาเชื่อคำพูด

บางเรื่อง เขาเชื่อคนพูด

: ปรมัตถสัจจะ-ไม่ง้อให้เชื่อคำพูด

: แต่ท้าให้พิสูจน์ด้วยของจริง

4-2-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย