บาลีวันละคำ

อริยวงศาคตญาณ (บาลีวันละคำ 1,714)

อริยวงศาคตญาณ

อ่านว่า อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน

ประกอบด้วย อริย + วงศ + อาคต + ญาณ

(๑) “อริย

บาลีอ่านว่า อะ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

1) อรห = “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส”, แปลง ที่ และ เป็น อิย

: (อร + อห = ) อรห : อห > อิย : อร + อิย = อริย แปลเท่ากับคำว่า “อรห” คือ “ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

2) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม

: อรฺ + อิ = อริ + ณฺย > = อริย แปลว่า “ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

3) อารก = “ผู้ไกลจากกิเลส”, แปลง อารก เป็น อริย แปลเท่ากับคำว่า “อารก” คือ “ผู้ไกลจากกิเลส

4) อรฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ลง อิ อาคม [เหมือน (2)] แปลว่า “ผู้อันชาวโลกพึงเข้าถึง

5) อริย = “ผลอันประเสริฐ” + ปัจจัย, ลบ

: อริย + = อริยณ > อริย แปลว่า “ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

สรุปว่า “อริย” แปลว่า –

(1) ผู้ฆ่าข้าศึกคือกิเลส

(2) ผู้บรรลุธรรมคือมรรคและผล

(3) ผู้ไกลจากกิเลส

(4) ผู้อันชาวโลกพึงเข้าไปใกล้

(5) ผู้ยังชาวโลกให้ได้รับผลอันประเสริฐ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ประมวลความหมายของ “อริย” ไว้ดังนี้ –

๑ ทางเชื้อชาติ: หมายถึง ชาติอารยัน (racial: Aryan)

๒ ทางสังคม: หมายถึง ผู้ดี, เด่น, อริยชาติ, สกุลสูง (social: noble, distinguished, of high birth)

๓ ทางจริยศาสตร์: หมายถึง ถูกต้อง, ดี, ดีเลิศ (ethical: right, good, ideal)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อริย-, อริยะ : (คำนาม) ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. (คำวิเศษณ์) เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.”

(๒) “วงศ

บาลีเป็น “วํส” (วัง-สะ) รากศัพท์มาจาก –

1) วนฺ (ธาตุ = คบหา) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็นนิคหิต (วนฺ > วํ)

: วนฺ > วํ + = วํส แปลตามศัพท์ว่า (1) “เชื้อสายที่แผ่ออกไป” (2) “-ที่คบหากัน

2) วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ (วสฺ > วํสฺ)

: วสฺ + = วส > วํส แปลตามศัพท์ว่า “-ที่อยู่รวมกัน

วํส” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ไม้ไผ่ (a bamboo)

(2) เชื้อชาติ, เชื้อสาย, วงศ์ตระกูล (race, lineage, family)

(3) ประเพณี, ขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา, ทางปฏิบัติที่เป็นมา, ชื่อเสียง (tradition, hereditary custom, usage, reputation)

(4) ราชวงศ์ (dynasty)

(5) ขลุ่ยไม้ไผ่, ขลุ่ยผิว (a bamboo flute, fife)

(6) กีฬาชนิดหนึ่ง (a certain game)

ในที่นี้ “วํส” มีความหมายตามข้อ (2) และ (3)

บาลี “วํส” สันสกฤตเป็น “วํศ” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “วงศ” เขียนเป็น “วงศ์” และแผลงเป็น “พงศ์” ด้วย

(๓) “อาคต

บาลีอ่านว่า อา-คะ-ตะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ. ในที่นี้ใช้ในความหมาย “กลับความ”) + คมฺ (ธาตุ = ไป. กลับความ = มา) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: อา + คมฺ + = อาคมต > อาคต แปลตามศัพท์ว่า “มาแล้ว

อาคต” หมายถึง –

(1) มา, มาถึง (come, arrived)

(2) ถ่ายทอดกันลงมา, สืบต่อกันลงมา [โดยความทรงจำ] (come down, handed down [by memory])

(๔) “ญาณ

บาลีอ่านว่า ยา-นะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: ญา + ยุ > อน = ญาน > ญาณ แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องช่วยรู้” “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้” “รู้สิ่งที่พึงรู้

ญาณ” หมายถึง ความรู้, ปัญญา, การหยั่งเห็น, ความเข้าใจ, การหยั่งรู้, การรับรู้, ความคงแก่เรียน, ทักษะ, ความฉลาด (knowledge, intelligence, insight, conviction, recognition, learning, skill)

ญาณ” ในความหมายพิเศษ หมายถึงปัญญาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างแจ่มชัดจนเกิดความสว่างไสวในดวงจิต หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

การอ่านคำว่า “ญาณ” ในภาษาไทย :

– ถ้ามีคำอื่นมาสมาสท้าย อ่านว่า ยา-นะ- หรือ ยาน-นะ- เช่น ญาณสังวร (ยา-นะ-สัง-วอน, ยาน-นะ-สัง-วอน)

– ถ้าอยู่เดี่ยวหรือเป็นส่วนท้ายของสมาส อ่านว่า ยาน เช่น วชิรญาณ (วะ-ชิ-ระ-ยาน)

การประสมคำ :

(1) อริย + วํส = อริยวํส แปลว่า วงศ์แห่งอริยะ, สายของอริยบุคคล หรือ “อริยวงศ์” (of noble family)

อีกนัยหนึ่ง วํส + อาคต ก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ –

วํส + อาคต = วํสาคต (วัง-สา-คะ-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “มาแล้วตามวงศ์” หมายถึง มาจากพ่อถึงลูก, สืบเชื้อสายกันมา, เป็นมรดกตกทอด (come down from father to son, hereditary)

(2) อริยวํส + อาคต = อริยวํสาคต (อะ-ริ-ยะ-วัง-สา-คะ-ตะ) แปลว่า “-มาแล้วตามวงศ์แห่งอริยะ

(3) อริยวํสาคต + ญาณ = อริยวํสาคตญาณ บาลีอ่านว่า อะ-ริ-ยะ-วัง-สา-คะ-ตะ-ยา-นะ แปลว่า “ญาณอันมาแล้วตามวงศ์แห่งอริยะ

อริยวํสาคตญาณ” เขียนในภาษาไทยเป็น “อริยวงศาคตญาณ

อริยวงศาคตญาณ” เป็นวรรคแรกของพระนามสมเด็จพระสังฆราชหลายพระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 ซึ่งมีพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560

คำว่า “อริยวงศาคตญาณ” มีคำแปลว่า “พระผู้มีญาณสืบมาแต่วงศ์พระอริยเจ้า

…………..

ขอเป็นกำลังใจ :

อริยวงศาคตญาณ” ภาษาไทยอ่านว่า อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน

ผู้ประกาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์บางแห่งอ่านว่า อะ-ริ-ยะ-วง-สา–คด–ยาน

เป็นการอ่านแบบไม่รู้หลักการอ่านคำสมาสสนธิ

เหมือนคำว่า “โอวาทปาติโมกข์” เมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมา (11 กุมภาพันธ์ 2560) ก็มีผู้ประกาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์บางแห่งอ่านว่า โอ-วาด-ปา-ติ-โมก

เป็นการอ่านแบบไม่รู้-หรือไม่รับรู้-หลักการอ่านคำสมาสสนธิเช่นกัน

โอวาทปาติโมกข์” อ่านตามหลักการอ่านคำสมาสสนธิว่า โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก

ไม่ใช่ โอ-วาด-ปา-ติ-โมก

อริยวงศาคตญาณ” อ่านตามหลักการอ่านคำสมาสสนธิว่า อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน

ไม่ใช่ อะ-ริ-ยะ-วง-สา–คด–ยาน

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกแห่งทุกคนมีอุตสาหะพัฒนาความรู้ภาษาไทยของตนให้ขึ้นถึงมาตรฐานโดยทั่วกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าเอาแต่บอกแล้วก็เชื่อกันว่าท่านผู้นั้นผู้โน้นเป็นอริยสงฆ์

: แต่จงศึกษาและปฏิบัติตามอริยวงศ์ ก็จะรู้ได้เอง

12-2-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย