บาลีวันละคำ

กุลูปกะ (บาลีวันละคำ 1,715)

กุลูปกะ

คือพระชนิดไร

อ่านว่า กุ-ลู-ปะ-กะ

แยกศัพท์เป็น กุล + อุปก

(๑) “กุล

รากศัพท์มาจาก กุลฺ (ธาตุ = ผูก, พัน, นับ) + ปัจจัย, ลบ

: กุลฺ + = กุล แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่เป็นเครื่องผูกพัน” “เชื้อสายที่ผูกพันกัน” “เชื้อสายอันเขานับรวมไว้

กุล” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง –

(1) ตระกูล, วงศ์, สกุลผู้ดี (clan, a high social grade, good family)

(2) ครอบครัว, บ้าน, ประชาชน (household, house, people)

(๒) “อุปก

บาลีอ่านว่า อุ-ปะ-กะ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ), แปลง เป็น

: อุป + คมฺ = อุปคมฺ + = อุปคม > อุปค > อุปก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เข้าไปใกล้” “ผู้เข้าไปหา” “ผู้เข้าถึง

กุล + อุปก ทีฆะ อุ ที่ อุ-(ปก) เป็น อู = กุลูปก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เข้าถึงตระกูล

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กุลูปก” ว่า –

frequenting a family, dependent on a [or one & the same] family [for alms, etc.]; a friend, an associate.

(ไปหาครอบครัวหนึ่งบ่อย ๆ, ต้องพึ่งครอบครัวหนึ่ง [หรือครอบครัวเดียวกัน] [สำหรับบิณฑบาต, ฯลฯ]; สหาย, ผู้มีความสัมพันธ์กัน)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “กุลูปกะ” ไว้ดังนี้ –

กุลูปกะ : ‘ผู้เข้าถึงสกุล’, พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว.”

…………..

อภิปราย :

กุลูปกะ” อาจเรียกเป็นคำไทยได้ว่า “พระประจำตระกูล” หรือ “พระประจำครอบครัว” คือภิกษุที่มีคุณสมบัติบางอย่างเป็นที่ต้องอัธยาศัยของคนในตระกูลนั้นๆ จึงอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัยต่างๆ พระเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ส่วนมากเอื้อประโยชน์ทางธรรมให้แก่คนในตระกูล คือแนะนำให้เขาดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ รักษาศีล บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุต่างๆ แต่ที่มีปัญหากับคนในตระกูลก็มีปรากฏอยู่บ้าง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ยังไม่ได้เก็บคำว่า “กุลูปกะ” ไว้

แต่น่าสังเกตว่า พจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “กุลทูสก” (กุ-ละ-ทู-สก) ไว้

กุลูปกะ” กับ “กุลทูสก” มีสถานะเป็นภาษาวัดทัดเทียมกัน ถ้ารู้จัก “กุลทูสก” ก็น่าจะต้องรู้จัก “กุลูปกะ” ด้วย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “กุลทูสก” ไว้ว่า –

กุลทูสก : (คำนาม) ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุที่ประจบตระกูลต่าง ๆ ด้วยอาการที่ผิดวินัย. (ป.).”

…………..

: พระที่ทำให้คนเลื่อมใส หาไม่ยากเกินการ

: แต่พระที่พาคนไปสวรรค์นิพพาน หายากที่สุด

13-2-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย