บาลีวันละคำ

กุลปสาทกะ (บาลีวันละคำ 1,717)

กุลปสาทกะ

พระที่น่าหา

อ่านว่า กุ-ละ-ปะ-สา-ทะ-กะ

แยกศัพท์เป็น กุล + ปสาทก

(๑) “กุล

บาลีอ่านว่า กุ-ละ รากศัพท์มาจาก กุลฺ (ธาตุ = ผูก, พัน, นับ) + ปัจจัย, ลบ

: กุลฺ + = กุล แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่เป็นเครื่องผูกพัน” “เชื้อสายที่ผูกพันกัน” “เชื้อสายอันเขานับรวมไว้

กุล” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง –

(1) ตระกูล, วงศ์, สกุลผู้ดี (clan, a high social grade, good family)

(2) ครอบครัว, บ้าน, ประชาชน (household, house, people)

(๒) “ปสาทก

บาลีอ่านว่า ปะ-สา-ทะ-กะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สทฺ (ธาตุ = ยินดี, ชื่นชม; เลื่อมใส, ผ่องใส) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), ทีฆะ อะ ต้นธาตเป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (สทฺ > สาท)

: + สทฺ = ปสทฺ + ณฺวุ > อก = ปสทก > ปสาทก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้มีภาวะที่ทำให้ยินดีโดยพิเศษ” (2) “ผู้มีภาวะเป็นเครื่องผ่องใสแห่งนัยน์ตา” (คือเมื่อเห็นหรือได้สัมผัสรับรู้ถึงบุคคลเช่นนั้นแล้วดวงตาก็สดใสเป็นประกายด้วยความยินดี)

ปสาทก” คำนี้ ถ้าเป็นภาวนาม (คำนามที่หมายถึงภาวะหรือกิริยาอาการทั่วไป ไม่ใช่บุคคล) รูปศัพท์จะเป็น “ปสาท” (ปะ-สา-ทะ)

: + สทฺ = ปสทฺ + = ปสทณ > ปสท > ปสาท แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่ทำให้ยินดีโดยพิเศษ” (2) “ภาวะเป็นเครื่องผ่องใสแห่งนัยน์ตา

ปสาท” (ปุงลิงค์) หมายถึง –

(1) ความชัด, ความแจ่มใส, ความบริสุทธิ์ (clearness, brightness, purity)

(2) ความดีใจ, ความพอใจ, ความสุขหรือความครึ้มใจ, ความดี, ศรัทธา (joy, satisfaction, happy or good mind, virtue, faith)

ความหมายสั้นๆ ของ “ปสาท” ที่เราคุ้นกันก็คือ “ความเลื่อมใส” ที่นิยมพูดควบกับ “ศรัทธา” เป็น “ศรัทธาปสาทะ” = ความเชื่อความเลื่อมใส

การประสมคำ :

แบบที่ 1 : กุล + ปฺ (ซ้อน ปฺ) + ปสาทก = กุลปฺปสาทก แปลว่า ผู้มีภาวะที่ทำให้ตระกูลยินดีโดยพิเศษ, ผู้มีภาวะเป็นเครื่องผ่องใสแห่งนัยน์ตาของตระกูล

แบบที่ 2 :

ก. กุล + ปฺ + ปสาท = กุลปฺปสาท แปลว่า ความเลื่อมใสของตระกูล, ความเลื่อมใสที่ได้รับจากตระกูล (the favour received by a family)

ข. กุลปฺปสาท + ปัจจัย = กุลปฺปสาทก แปลว่า ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของตระกูล (one who enjoys this favour)

กุลปฺปสาทก” ในภาษาไทยตัดตัวซ้อนออก เขียนเป็น “กุลปสาทกะ

กุลปสาทกะ” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “กุลปสาทกะ” ไว้สั้นๆ ว่า –

กุลปสาทกะ : ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส.”

…………..

อภิปราย :

กุลปสาทกะ” ควรเป็นคำที่อยู่ในชุดเดียวกับ “กุลูปกะ” และ “กุลทูสกะ” ที่เขียนมาแล้ว (#บาลีวันละคำ (1,715) 13-2-60 และ #บาลีวันละคำ (1,716) 14-2-60) กล่าวคือ –

๑ ภิกษุที่สนิทชิดชอบกับตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เป็นพระที่ตระกูลนั้นอุปถัมภ์บำรุงอยู่มิได้ขาด เรียกว่า “กุลูปกะ” = พระประจำตระกูล

๒ พระประจำตระกูล ถ้าเอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการอันผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น ซึ่งท่านเรียกว่า “ประจบคฤหัสถ์” ก็เข้าข่ายเป็น “กุลทูสกะ” = พระประทุษร้ายตระกูล

๓ พระประจำตระกูล ถ้าแนะนำสั่งสอนเขาโดยธรรมโดยวินัย ชักนำเขาให้รู้ถูกปฏิบัติชอบ ไม่ทำให้เขาลำบากในการที่จะอุปถัมภ์บำรุงตามฐานะ ให้เขามีอุตสาหะบำเพ็ญความดียิ่งๆ ขึ้นจนได้บรรลุมรรคผลเป็นที่สุด ก็เข้าข่ายเป็น “กุลปสาทกะ” = พระประพฤติธรรมวินัยเป็นที่ผ่องใสของตระกูล

กุลปสาทกะ” เป็นตำแหน่ง หรือ “เอตทัคคะ” อย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสาวกบางองค์ว่าเป็นผู้เลิศในฐานะนั้นๆ

กุลปสาทกะ” ก็คือผู้เลิศในฐานะผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใสไม่มีภิกษุรูปใดเสมอ ในสมัยพุทธกาลพระสาวกที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเลิศในฐานะ “กุลปสาทกะ” คือ พระกาฬุทายีเถระ (ผู้ประสงค์เพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ พึงศึกษาประวัติของท่านต่อไป)

……….

อนึ่ง ควรตั้งข้อสังเกตด้วยว่า คำในชุดนี้ (กุลูปกะ, กุลทูสกะ, กุลปสาทกะ) มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เพียงคำเดียว คือ “กุลทูสกะ” (เขียน “กุลทูสก” อ่าน กุ-ละ-ทู-สก)

ถ้าเก็บ “กุลทูสกะ” ได้ ทำไมจึงไม่เก็บ “กุลูปกะ” และ “กุลปสาทกะ” ไว้ด้วย

เรื่องนี้ควรนับว่าเป็นเรื่องชอบกลอย่างหนึ่ง

…………..

: มีแต่ปสาทศรัทธา

: เหมือนมีเครื่องประดับประดาชิ้นหรู

: จะว่างามก็งามอยู่ แต่ทว่ายังงามหย่อน

: ต่อเมื่อมีสติปัญญาเข้ามาเสริมซ้อน จึงจะได้ชื่อว่างามยิ่ง

15-2-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย