บาลีวันละคำ

วิกฤตการณ์ (บาลีวันละคำ 1,728)

วิกฤตการณ์

อ่านว่า วิ-กฺริด-ตะ-กาน

แยกศัพท์เป็น วิกฤต + การณ์

(๑) “วิกฤต

บาลีเป็น “วิกต” รากศัพท์มาจาก วิ (= พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (กรฺ > )

: วิ + กรฺ = วิกร > วิก + = วิกต แปลตามศัพท์ว่า “ทำให้แปลกไปเป็นอย่างอื่น” หมายถึง เปลี่ยนแปลง, แปรไป, ผันแปรไปจากปกติ

วิกต” (วิ-กะ-ตะ) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า -ที่เปลี่ยนแปลง, -ที่ผันแปร (changed, altered)

วิกต” ในบาลี ถ้าเป็นคำนาม ลง ติ ปัจจัย เปลี่ยนรูปเป็น “วิกติ” (วิ-กะ-ติ) ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ประเภท, ชนิด (sort, kind)

(2) ผลิตผล, การกระทำ, ภาชนะ (product, make; vessel)

(3) การจัดแจง, การจัดเป็นพวกๆ, การจัดเป็นชนิดๆ; รูปร่าง, ทรวดทรง (arrangement, get up, assortment; form, shape)

วิกติ” สันสกฤตเป็น “วิกฤติ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วิกฤติ : (คำนาม) การเปลี่ยนอย่างใดอย่างหนึ่ง, ดุจเปลี่ยนเหตุ –การย์ –ความมุ่งหมาย, เปลี่ยนมนัส, เปลี่ยนรูป ฯลฯ; พยาธิ, โรค; ความกลัว; change of any kind, as a purpose, mind, form &c; sickness, disease; fear or apprehension.”

ในภาษาไทยใช้ทั้ง “วิกฤต” ( ไม่มีสระ อิ) และ “วิกฤติ” ( มีสระ อิ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิกฤต, วิกฤติ : (คำวิเศษณ์) อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).”

(๒) “การณ์

บาลีเป็น “การณ” (กา-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)

: กรฺ + ยุ > อน = กรน > กรณ > การณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำผล

การณ” ในบาลีใช้ในความหมายหลายอย่าง คือหมายถึง การกระทำ, วิธีทำ, การปฏิบัติ, การลงโทษ, การฆ่า, การงาน, หน้าที่, เหตุผล, เหตุ, ความจำเป็น (a deed, action, performance, an act imposed or inflicted upon somebody by a higher authority; punishment, killing, task, duty obligation, acting, action as material cause, intellectual cause, reason, necessity, needs)

การณ” ในภาษาไทยใช้ว่า “การณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

การณ์ : (คำนาม) เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์. (ป., ส.).”

วิกฤต + การณ์ = วิกฤตการณ์ แปลตามตัวว่า “เหตุการณ์ที่ผันแปร” “เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิกฤตการณ์ : (คำนาม) เหตุการณ์อันวิกฤติ เช่น เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง.”

ควรทราบว่า “วิกฤตการณ์” เขียนเป็น “วิกฤติการณ์” ( มีสระ อิ) ก็ได้

และคำที่ออกเสียงอย่างนี้ เขียนเป็น “วิกฤตกาล” และ “วิกฤติกาล” ( –กาล = เวลา) ก็มี

วิกฤตการณ์, วิกฤติการณ์” หมายถึง “เหตุการณ์อันวิกฤติ

วิกฤตกาล, วิกฤติกาล” หมายถึง “เวลาอันวิกฤติ

…………..

ดูก่อนภราดา!

เมื่อมีเหตุสำคัญพิเศษ ใครคือคนที่ควรถูกเรียก?

: อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ

ยามคับขัน เรียกใช้คนกล้า

: มนฺตีสุ อกุตูหลํ

ยามต้องการปรึกษา เรียกพบคนที่ไม่ฟุ้งซ่าน

: ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ

ยามกินข้าวปลาอาหาร เรียกหาคนที่รัก

: อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ.

ยามมีเรื่องต้องคิดหนัก เรียกตัวคนมีสติปัญญา

(ที่มาบาลี :มหาสารชาดก เอกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 27 ข้อ 92)

26-2-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *