บาลีวันละคำ

สุราเมรยมัชชะ (บาลีวันละคำ 970)

สุราเมรยมัชชะ

คำในศีลข้อ 5

อ่านว่า สุ-รา-เม-ระ-ยะ-มัด-ชะ

ประกอบด้วยคำว่า สุรา + เมรย + มัชชะ

(๑) “สุรา” แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “เครื่องดื่มอันพรานป่าชื่อสุระปรุงขึ้นครั้งแรก” (สุร + + อา)

(2) “เครื่องดื่มที่ไหลไป” (คือไหลเข้าลำคอ) (สุ ธาตุ = ไหลไป + ปัจจัย + อา อิตถีลิงค์)

(3) “เครื่องดื่มที่ยังผู้คนให้ดื่ม” (คือทำให้ติดแล้วต้องดื่มเรื่อยไป) (สุ ธาตุ = ดื่ม + ปัจจัย + อา อิตถีลิงค์)

(4) “เครื่องดื่มที่ทำผู้ดื่มให้เป็นคนกล้า” (สุร + + อา)

(๒) “เมรย” (เม-ระ-ยะ) คือที่เรียกในภาษาไทยว่า “เมรัย” แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ของเป็นเหตุให้มึนเมา” (มทฺ ธาตุ = มึนเมา + เณยฺย ปัจจัย, แปลง เป็น เอ, เป็น , ลบ เณยฺ : มทฺ > เมท > เมร + เณยฺย > = เมรย)

(2) “ของที่ยังความมึนเมาให้เกิด” (มทฺ + ณฺย ปัจจัย, แปลง เป็น เอ, เป็น , ลบ : มท > เมท > เมร + ณฺย > = เมรย)

(๓) “มัชชะ” บาลีเขียน “มชฺช” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุบ้าคลั่งแห่งผู้คน” (มทฺ ธาตุ = บ้าคลั่ง + ปัจจัย, แปลง ทย เป็น , ซ้อน ชฺ : มท + = มทย > มช + ชฺ = มชฺช)

สุรา เมรัย มัชชะ คำไหนหมายถึงอะไร ลองศึกษาจากคำแปลของพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ดังนี้ –

(1) สุรา : “drink”, spirituous intoxicating liquor (“เครื่องดื่ม”, สุรา)

(2) เมรย : a sort of intoxicating liquor, spirits, rum (น้ำเมา, เหล้า, เมรัย)

(3) มชฺช : intoxicant, intoxicating drink, wine, spirits (น้ำเมา, เครื่องดองของเมา, เหล้า, สุรา)

คำว่า “สุราเมรย” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลว่า rum & spirits

จะเห็นได้ว่า อะไรคืออะไร คำแปลก็ยังปนๆ กันอยู่นั่นเอง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สุรา : เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น, (มักใช้เป็นทางการ), เช่น ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ. (ป., ส.).

(2) เมรย-, เมรัย : นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, นํ้าเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.).

(3) มัช-, มัชชะ : นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).

ความหมายตามที่เข้าใจกันในหมู่ผู้ศึกษาธรรม :

(๑) สุรา คือน้ำเมาที่ได้จากการต้มกลั่น

(๒) เมรยะ หรือเมรัย คือน้ำเมาที่เกิดจากการหมักดอง ไม่ได้ต้มกลั่น

(๓) มัชชะ คือคำเรียกรวมหมายถึงทั้งสุราและเมรัย (บางท่านพยายามแยกออกไปว่า “มัชชะ” คือของเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นๆ นอกจากสุราและเมรัย)

การเสพสุราเมรัยที่ถึงขั้นทำให้ศีลขาด ต้องครบองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ :

(1) สิ่งที่ดื่มนั้นเป็นของเมา มีสุราเมรัยเป็นต้น

(2) รู้ว่าเป็นของเมาและตั้งใจจะดื่ม

(3) การดื่มเกิดขึ้นโดยการกระทำของตน

(4) น้ำเมาล่วงลำคอเข้าไป

ลองภูมิ :

ดื่มสุราแต่ไม่เมา ศีลขาดหรือไม่ ?

————–

(ตามความสงสัยของ สิริมงคล บัญญัติ แสวงดี)

#บาลีวันละคำ (970) 13-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *