บาลีวันละคำ

พุทธบริษัท [2] (บาลีวันละคำ 1,751)

พุทธบริษัท [2]

ถ้าไม่ยึดพระธรรมวินัยไว้ให้ถนัด

สักวันจะกลายเป็นพุทธพาณิช !!

อ่านว่า พุด-ทะ-บอ-ริ-สัด

แยกศัพท์เป็น พุทธ + บริษัท

(๑) “พุทธ

บาลีเขียน “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้

พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้เกือบ 20 ความหมาย แต่ที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ หมายถึง “พระพุทธเจ้า”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พุทฺธ” ว่า –

one who has attained enlightenment; a man superior to all other beings, human & divine, by his knowledge of the truth, a Buddha (ผู้ตรัสรู้, ผู้ดีกว่าหรือเหนือกว่าคนอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์และเทพยดาด้วยความรู้ในสัจธรรมของพระองค์, พระพุทธเจ้า)

พุทฺธ” เขียนแบบไทยเป็น “พุทธ” (ไม่มีจุดใต้ ท)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พุทธ, พุทธ-, พุทธะ : (คำนาม) ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).”

…………..

สังเกตวิธีสะกดของพจนานุกรมฯ :

“พุทธ” คำเดียว แต่พจนานุกรมฯ ตั้งคำสะกดไว้ 3 แบบ หมายความว่าอย่างไร?

1- “พุทธ” สะกดแบบนี้ในกรณีที่ใช้คำเดียว หรืออยู่ท้ายคำ อ่านว่า พุด เช่น “คำว่าพุทธ” “ชาวพุทธ

2- “พุทธ-” (มีขีดหลัง -) สะกดแบบนี้หมายถึงกรณีมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า พุด-ทะ- ต่อด้วยคำที่มาสมาส เช่น “พุทธศาสนา” อ่านว่า พุด-ทะ-สาด-สะ-หฺนา (ไม่ใช่ พุด-สาด-สะ-หฺนา)

3-“พุทธะ” (มีสระ อะ หลัง ) สะกดแบบนี้ในกรณีที่ต้องการให้อ่านว่า พุด-ทะ และไม่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย (ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายก็เป็นไปตามข้อ 2- คือต้องไม่มีสระ อะ เช่น “พุทธศาสนา” จะเขียนเป็น เช่น “พุทธะศาสนา” ไม่ได้)

…………..

(๒) “บริษัท

บาลีเป็น “ปริสา” (ปะ-ริ-สา) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปริ (คำอุปสรรค = รอบ) + สิทฺ (ธาตุ = ปล่อย) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, ลบ อิ และ ที่ สิทฺ (สิทฺ > )

: ปริ + สิทฺ = ปริสิทฺ + = ปริสิท > ปริส + อา = ปริสา แปลตามศัพท์ว่า “หมู่ที่มาโดยรอบ”

(2) ปริ (คำอุปสรรค = รอบ) + สิ (ธาตุ = คบหา) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, ลบ อิ ที่ สิ (สิ > )

: ปริ + สิ = ปริสิ > ปริส + = ปริส + อา = ปริสา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่พบปะกันโดยรอบ

ปริสา” ในบาลีใช้ในความหมายว่า คนที่แวดล้อมอยู่, กลุ่มหรือหมู่ชน, ประชาชน, ชุมนุม, กลุ่มชน, พวกพ้อง, คณะหรือหมู่เหล่า, สมัชชา, สมาคม, ฝูงชน (surrounding people, group, collection, company, assembly, association, multitude)

บาลี “ปริสา” สันสกฤตเป็น “ปริษทฺ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปริษทฺ : (คำนาม) ‘บริษัท,’ สภา, ที่ประชุม (= บันดาผู้ที่มาประชุม); an assembly, an audience or congregation, meeting.”

ปริสา > ปริษทฺ ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “บริษัท” (บอ-ริ-สัด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บริษัท : (คำนาม) หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไรต้องดูบริษัทเสียก่อน; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) รูปแบบการดำเนินกิจการธุรกิจเพื่อหากำไร ที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล โดยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน มีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ บริษัทมี ๒ ประเภท คือ บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).”

พุทฺธ + ปริสา = พุทฺธปริสา > พุทธบริษัท

พุทธบริษัท” ตามศัพท์น่าจะแปลว่า กลุ่มแห่งพระพุทธเจ้า, ชุมนุมแห่งพระพุทธเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้าหลายพระองค์มารวมกัน

แต่คำว่า “พุทธ-” ในคำนี้ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า (the Buddha; Lord Buddha) หากแต่หมายถึงชาวพุทธหรือผู้นับถือพระพุทธศาสนา (a Buddhist; adherent of Buddhism)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

พุทธบริษัท (Buddhaparisā) : the Buddhist assembly;

the four assemblies of Buddhists; Buddhists (collectively).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

พุทธบริษัท : หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี 4 จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา.”

ในคำนิยามคำว่า “บริษัท” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า “บริษัท : (คำนาม) หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ……..”

แต่คำว่า “พุทธบริษัท” ไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฯ!

…………..

คนไทยสมัยใหม่คุ้นกับคำว่า “บริษัท” ในความหมายที่ว่า “รูปแบบการดำเนินกิจการธุรกิจเพื่อหากำไร ที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคล” หรือเรียกเข้าใจง่ายๆ ว่าบริษัทธุรกิจการค้า

เมื่อมาเห็นคำว่า “พุทธบริษัท” อาจเข้าใจไปว่าเป็นบริษัทการค้าของชาวพุทธ หรือเป็นกิจการที่เรียกกันว่า “พุทธพาณิชย์

ความหมายของคำว่า “พุทธบริษัท” อาจเพี้ยนไปได้ถ้าไม่ช่วยกันทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านรู้ฤๅหาไม่ว่า พุทธบริษัทจะได้กำไรหรือขาดทุน

ขึ้นอยู่กับการกระทำของท่านเอง

: ทำบาปก็ขาดทุน

: ทำบุญก็ได้กำไร

21-3-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย