บาลีวันละคำ

บรมราชกุมารี (บาลีวันละคำ 1,761)

บรมราชกุมารี

อ่านว่า บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี

แยกศัพท์เป็น บรม + ราช + กุมารี

(๑) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ = ปรมร + กฺวิ = ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยังข้าศึกให้ตาย

(2) (ยิ่ง, สุงสุด) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย

: + รมฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

ปรม” (ปะ-ระ-มะ) เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด

ปรม” ภาษาไทยใช้ว่า “บรม” (บอ-รม)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม).”

(๒) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ญฺ, ยืดเสียง อะ ที่ – เป็น อา

: รญฺชฺ > รช + = รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า ผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

(๓) “กุมารี

รากศัพท์มาจาก กุมาร + อี ปัจจัย

(ก) “กุมารฺ” บาลีอ่านว่า กุ-มา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุมารฺ (ธาตุ = เล่น) + ปัจจัย

: กุมารฺ + = กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เล่นสนุก

(2) กมุ (ธาตุ = ปรารถนา) + อาร ปัจจัย, แปลง ที่ -(มุ) เป็น อุ, ลบสระท้ายธาตุ

: กมุ > กุมุ > กุม + อาร = กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันบิดามารดาปรารถนา

(3) กุ (แผ่นดิน) + ขรฺ (ธาตุ = ขีด, เขียน) + ปัจจัย, ยืดเสียง อะ ที่ เป็น อา, แปลง เป็น

: กุ + ขรฺ + = กุขร > กุมร > กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ขีดดินเล่น

(4) กุ (แผ่นดิน) + รมฺ (ธาตุ = สนุก, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ผัน รมฺ เป็น มรฺ, ยืดเสียง อะ ที่ เป็น อา

: กุ + รมฺ > มร + = กุมรณ > กุมร >  กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สนุกอยู่บนดิน

กุมาร” (ปุงลิงค์) ในบาลีหมายถึง เด็กชาย, บุตร (a young boy, son)

(ข) กุมาร + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กุมาร + อี = กุมารี หมายถึง เด็กหญิง (สาวรุ่น) (a young girl)

…………..

ประสมคำ ประสานความ :

ในคำว่า “บรมราชกุมารี” นี้ –

ราช + กุมารี = ราชกุมารี หมายถึง กุมารีของพระราชา, เจ้าหญิง (a royal princess) เป็นการประสมคำที่ชอบด้วยเหตุผล เพราะในที่นี้เล็งถึง “กุมารีของพระราชา” = ราชกุมารี

แต่คำที่ชวนคิดคือ “บรม” ขยายคำไหน เพราะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถขยายได้ทั้งสองคำ คือทั้ง “ราช” และ “กุมารี

แบบที่หนึ่ง:

ตอนที่ 1: บรม + ราช = บรมราช แปลว่า “พระราชาผู้ยอดเยี่ยม

ตอนที่ 2: บรมราช + กุมารี = บรมราชกุมารี แปลว่า “กุมารีของพระราชาผู้ยอดเยี่ยม

แบบนี้ “ผู้ยอดเยี่ยม” คือพระราชา ไม่ใช่กุมารี

แบบที่สอง:

ตอนที่ 1: ราช + กุมารี = ราชกุมารี แปลว่า “กุมารีของพระราชา

ตอนที่ 2: บรม + ราชกุมารี = บรมราชกุมารี แปลว่า “กุมารีของพระราชาผู้ยอดเยี่ยม

แบบนี้ “ผู้ยอดเยี่ยม” คือกุมารี ไม่ใช่พระราชา

จริงอยู่ แม้คำแปลในตอนที่ 2 ทั้งแบบที่หนึ่งและแบบที่สองจะแปลตรงกันทุกคำ (“กุมารีของพระราชาผู้ยอดเยี่ยม”) แต่ขั้นตอนการประกอบคำบาลีไม่เหมือนกัน

แบบที่หนึ่ง “บรม” ขยาย “ราช” เป็นการชี้ชัดว่า ผู้ยอดเยี่ยมคือพระราชา

แต่แบบที่สอง “บรม” ขยาย “(ราช) กุมารี” เป็นการชี้ชัดว่า ผู้ยอดเยี่ยมคือกุมารี

เพียงแต่ว่า “กุมารี” นั้นมีคำขยายของตัวเองอยู่ก่อนแล้วชั้นหนึ่งคือ “ราช” บอกให้รู้ว่ากุมารีผู้นี้เป็น “กุมารีของพระราชา” แต่ “ราช” ไม่มีคำขยาย เพราะเอา “บรม” ไปขยาย “กุมารี” ก่อนแล้ว

ถามว่า เพื่อให้ชัดเจนหมดปัญหา ประสมคำเป็น –

(1) บรม + กุมารี = บรมกุมารี แปลว่า “กุมารีผู้ยอดเยี่ยม

(2) ราช + บรมกุมารี = ราชบรมกุมารี แปลว่า “กุมารีผู้ยอดเยี่ยมของพระราชา

แบบนี้จะใช้ได้หรือไม่?

ตอบว่า ใช้ไม่ได้ เพราะศัพท์เดิมของท่านคือ “บรมราชกุมารี” ไม่ใช่ “ราชบรมกุมารี

อีกประการหนึ่ง “ราชกุมารี” เป็นคำแสดงสถานะอันเป็นข้อเท็จจริง คือ กุมารีพระองค์นี้เป็น “กุมารีของพระราชา” หรือ “เจ้าหญิง” ดังนั้น “ราชกุมารี” จึงเป็นศัพท์ที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่สุดแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนรูปเป็นอย่างอื่น (เช่น “บรมกุมารี”) ได้

ปัญหาจึงคงมีแต่เพียงว่า จะแปลให้ “บรม” ขยายคำไหน ขยาย “ราช” หรือขยาย “กุมารี” ซึ่งก็สามารถทำได้ทั้งสองแบบ

นี้นับว่าเป็นแยบยลอย่างหนึ่งของผู้คิดศัพท์นี้ขึ้นมา

หลักนี้ ไวยากรณ์บาลีจัดเป็นวิชาสำคัญอีกวิชาหนึ่ง เรียกว่า “วากยสัมพันธ์” คือวิชาว่าด้วยการเกี่ยวข้องของถ้อยคำ เรียนหลักการวินิจฉัยว่าคำไหนทำหน้าที่อะไรในประโยค คำไหนควรเกี่ยวข้องกับคำไหนด้วยเหตุผลอะไร เป็นวิชาที่สอนวิธีใช้ถ้อยคำภาษาอย่างมีระเบียบและมีหลักมีเกณฑ์

วากยสัมพันธ์” นี้แลเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้ภาษาบาลีมีระเบียบสามารถรักษาพระพุทธพจน์ไว้ได้

ภาษาไทยก็เคยมีวิชา “วากยสัมพันธ์” แต่น่าเสียดายที่เด็กไทยรุ่นใหม่ไม่รู้จักวิชานี้เสียแล้ว ภาษาไทยทุกวันนี้จึงหกคะเมนตีลังกาอย่างสนุกสนาน แต่หาระเบียบวินัยมิได้

…………..

ชีวิตที่ยอดเยี่ยมมิได้มีมาตั้งแต่เกิด

ทั้งมิใช่มีได้เพราะอาศัยชาติกำเนิด

หากแต่ทุกคนสามารถทำเอาเองได้ด้วยหัวใจที่เด็ดเดี่ยว

ดูก่อนภราดา!

พระบรมราชกุมารีพระองค์นั้นทรงพระดำเนินนำไปลิบๆ โน่นแล้ว

ท่านมัวทำอะไรกันอยู่?

————–

(ภาพประกอบจากโพสต์ของ Pornkawin Sangsinchai)

2-4-60