บาลีวันละคำ

บุตรธิดา (บาลีวันละคำ 1,762)

บุตรธิดา

คำสามัญประจำบ้าน

ภาษาไทยอ่านว่า บุด-ทิ-ดา

แยกศัพท์เป็น บุตร + ธิดา

(๑) “บุตร

บาลีเป็น “ปุตฺต” (ปุด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปู (ธาตุ = สะอาด, ชำระ) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ, รัสสะ อู ที่ ปู เป็น อุ (ปู > ปุ)

: ปู + ตฺ + = ปูตฺต > ปุตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้เป็นเหตุให้บิดามารดาสะอาด” (คือไม่ถูกตำหนิว่าไม่มีผู้สืบสกุล) (2) “ผู้ชำระตระกูลของตนให้สะอาด” (คือทำให้ตระกูลมีผู้สืบต่อ)

(2) ปูรฺ (ธาตุ = เต็ม) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ,(ปูรฺ > ปูตฺ), รัสสะ อู ที่ ปู-(รฺ) เป็น อุ (ปูร > ปุร)

: ปูรฺ + ตฺ = ปูรต > ปูตฺต > ปุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม

(3) ปุสฺ (ธาตุ = เลี้ยง) + ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (ปุสฺ > ปุ), ซ้อน ตฺ

: ปุสฺ > ปุ + ตฺ + = ปุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันมารดาบิดาเลี้ยงดู

ปุตฺต” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ลูกชาย (a son)

(2) เด็ก, ผู้สืบสกุล (child, descendant)

(๒) “ธิดา

บาลีเป็น “ธีตา” ศัพท์เดิมเป็น “ธีตุ” รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ริตุ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ที่ ริตุ ปัจจัย (ริตุ > อิตุ), ทีฆะ อิ ที่ ( + อิ =) ธิ เป็น อี (ธิ > ธี)

: ธรฺ + ริตุ = ธรริตุ > ธริตุ > ธิตุ > ธีตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันมารดาบิดาคอยทรงไว้” (คือดูแลรักษาไว้)

ธีตุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) แปลง อุ ที่ (ธี)-ตุ เป็น อา = ธีตา ใช้ในภาษาไทยเป็น “ธิดา” คือ ลูกสาว (a daughter)

ปุตฺต + ธีตุ = ปุตฺตธีตุ (ปุด-ตะ-ที-ตุ) แปลว่า “บุตรและธิดา

ปุตฺตธีตุ” ในภาษาไทยใช้เป็น “บุตรธิดา” (คือ บุตร + ธิดา)

ในภาษาบาลี ถ้ากล่าวถึง “ปุตฺต” หรือ “บุตร” โดยทั่วไป ย่อมรวม “ธิดา” ไว้ด้วยโดยปริยาย เหมือนคำไทยว่า “ลูก” คำเดียวย่อมหมายถึงทั้งลูกชายและลูกสาว

…………..

ในคัมภีร์ท่านแบ่ง “บุตร” ตามคุณภาพไว้ 3 ประเภท

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [90] แสดงบุตรทั้ง 3 ประเภทไว้ดังนี้ –

บุตร 3 : (Putta: son; child; descendant)

1. อติชาตบุตร (บุตรที่ยิ่งกว่าบิดามารดา, ลูกที่ดีกว่าเลิศกว่าพ่อแม่ — Atijāta-putta: superior-born son)

2. อนุชาตบุตร (บุตรที่ตามเยี่ยงบิดามารดา, ลูกที่เสมอด้วยพ่อแม่ — Anujāta-putta: likeborn son)

3. อวชาตบุตร (บุตรที่ต่ำลงกว่าบิดามารดา, ลูกที่ทราม — Avajāta-putta: inferior-born son)

บุตรประเภทที่ 1 นั้น เรียกอีกอย่างว่า อภิชาตบุต

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน?

๏ สองชีพเลี้ยงสิบปล้ำ…..เป็นตน

สิบชีพเลี้ยงสองชนม์……..ไป่ได้

เป็นสัจอัศจรรย์จน………..โลกล่ม ลงฤๅ

ใครขบปริศนาให้………….แหลกแล้วลอยสวรรค์๚ะ๛

3-4-60