บาลีวันละคำ

กาสาวพัสตร์ (บาลีวันละคำ 996)

กาสาวพัสตร์

อ่านว่า กา-สา-วะ-พัด

ประกอบด้วย กาสาว + พัสตร์

(๑) “กาสาว” (กา-สา-วะ)

รูปศัพท์เดิมมาจาก กสาว + ปัจจัย

กสาว” (กะ-สา-วะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (น้ำ) + สิ (ธาตุ = เสพ, กิน) + อว ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ สิ) เป็น อา

: + สิ = กสิ > กสา + อว = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสเป็นเหตุให้ดื่มน้ำ” (เมื่อรสชนิดนี้ไปกลั้วที่คอ ก็จะเกิดอาการอยากดื่มน้ำ)

(2) (น้ำ) + สุ (ธาตุ = ฟัง) + ปัจจัย, แปลง อุ (ที่ สุ) เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: + สุ = กสุ > กโส > กสาว + = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสที่ยังน้ำให้ได้ยิน” (คือทำให้เรียกหาน้ำ)

กสาว” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) ดินเปียก หรือยางชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นสีทาฝาผนัง (a kind of paste or gum used in colouring walls)

(2) น้ำยาห้ามเลือดที่ต้มกลั่นจากพันธุ์ไม้ (an astringent decoction extracted from plants)

(3) (น้ำ) มีรสฝาด (astringent)

(4) (ผ้า) มีสีเหลืองปนแดง, มีสีส้ม (reddish-yellow, orange coloured)

(5) (ความหมายทางธรรม) อกุศลมูล, กิเลสที่ย้อมดุจน้ำฝาด (the fundamental faults)

กสาว + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ (ที่ -) เป็น อา (ตามสูตรบาลีไวยากรณ์ว่า “ด้วยอำนาจปัจจัยที่เนื่องด้วย ”)

: กสาว + = กสาว > กาสาว แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ย้อมด้วยนำฝาด

โปรดสังเกตว่า คำเดิมคือ “กสาว” (กะ–) = น้ำฝาด

เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์ จึงเป็น “กาสาว” (กา–) = “-ที่ย้อมด้วยนำฝาด

อนึ่ง “กสาว” ใช้เป็น “กสาย” (กะ-สา-ยะ) ก็มี

และ “กาสาว” ใช้เป็น “กาสาย” (กา-สา-ยะ) ก็มี

(๒) “พัสตร์

เขียนอิงรูปคำสันสกฤต “วสฺตฺร” แปลง เป็น : วสฺ– > พสฺ– = พัสตร > พัสตร์

พัสตร์ < วสฺตฺร < บาลีเป็น “วตฺถ” (วัด-ถะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาปกปิดร่างกาย” “สิ่งเป็นเครื่องป้องกันร่างกาย” หมายถึง ผ้า; เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องแต่งตัว (cloth; clothing, garment, raiment)

กาสาว + วตฺถ = กาสาววตฺถ > กาสาววสฺตฺร > กาสาวพัสตร์ แปลตามศัพท์ “ผ้าที่ย้อมด้วยนำฝาด” หมายถึง เครื่องนุ่งห่มของบรรพชิต โดยเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา (cloth dyed with astringent decoction; the yellow robe;

ochre robes)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) กาสาว-, กาสาวะ : ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).

(2) พัสตร์ : ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).

(3) กาสาวพัสตร์ : ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. (ป. กาสาว + ส. วสฺตร = ผ้า).

ข้อควรระวัง :

(๑) คำว่า “กาสาวพัสตร์” –พัตร์ ส เสือ สะกด แล้วจึงตามด้วย –ตร์ ไม่ใช่ “กาสาวพัตร์” หรือ “กาสาวพัตร

(๒) คำว่า “พัสตร์” แม้ พจน.54 จะบอกว่า “เขียนเป็น พัตร ก็มี” (คือ พัต- ต สะกด ไม่มี ส, และ ตร ไม่มีการันต์) แต่ คำว่า “กาสาวพัสตร์” พจน.54 ไม่ได้บอกว่า “เขียนเป็น กาสาวพัตร ก็มี”

ผ้ากาสาวะ หรือ “กาสาวพัสตร์” ในพระไตรปิฎกท่านเรียกว่า “อรหทฺธช” แปลกันว่า “ธงชัยของพระอรหันต์” (the flag or banner of an Arahant) มีนัยว่า ผู้ครองผ้ากาวะ หรือ “แต่งเครื่องแบบชนิดนี้” ก็คือผู้ประกาศตน หรือ “ชูธง” ที่จะมุ่งดำเนินไปสู่ความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง

มีวินัย : เครื่องแบบของทหารก็ไม่เศร้า

มีศีล : เครื่องแบบของพระพุทธเจ้าก็ไม่ทราม

#บาลีวันละคำ (996)

8-2-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *