บาลีวันละคำ

บันลือสีหนาท (บาลีวันละคำ 1,775)

บันลือสีหนาท

อ่านว่า บัน-ลือ-สี-หะ-นาด

แยกศัพท์เป็น บันลือ + สีห + นาท

(๑) “บันลือ

เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บันลือ : (คำกริยา) เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.”

(๒) “สีห

บาลีอ่านว่า สี-หะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สีหฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย

: สีหฺ + = สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่เบียดเบียนพวกกวาง

(2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + อีหฺ (ธาตุ = พยายาม) + ปัจจัย, ลบ , ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > )

: สํ > + อีหฺ = สีหฺ + = สีหณ > สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่พยายามพร้อมที่จะฆ่าพวกกวาง

(3) สหฺ (ธาตุ = อดทน) + ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(หฺ) เป็น อี (สหฺ > สีห)

: สหฺ + = สหฺ > สีห แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่อดทน

สีห” (ปุงลิงค์) หมายถึง สิงโต, ราชสีห์ (a lion)

บาลี “สีห” สันสกฤตเป็น “สึห” (สิง-หะ)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สึห : (คำนาม) ‘สิงห์,’ เกสริน, สัตว์มีผมคอ; สิงหราศิ, ราศีสิงห์; ต้นมะเขือ; มารดาของราหุหรือราหู; พาลพฤกษ์; ต้นพฤหดีหรือตรังตังช้าง; a lion; Leo, the sign of the zodiac; the egg-plant; the mother of Rahu; a shrub; the prickly night-shade. – (คุณศัพท์) (คำใช้ในการรจนา) วิศิษฏ์; เอก; (In composition) pre-eminent; chief.”

สึห” ของสันสกฤต เราเอามาใช้ในภาษาไทยว่า “สิงห์

(๓) “นาท

บาลีอ่านว่า นา-ทะ รากศัพท์มาจาก นทฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (นทฺ > นาท)

: นทฺ + = นทณ > นท > นาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การส่งเสียง” หมายถึง เสียงดัง, เสียงร้องคำราม, คำราม (loud sound, roaring, roar)

สีห + นาท = สีหนาท แปลตามศัพท์ว่า “การส่งเสียงของราชสีห์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สีหนาท” ว่า a lion’s roar, the Buddha’s preaching, a song of ecstasy, a shout of exultation “halleluiah” (การคำรามของราชสีห์, คำสอนของพระพุทธเจ้า, เพลงแสดงความปลื้มปีติ, เสียงตะโกนด้วยความดีใจ)

บันลือ + สีหนาท = บันลือสีหนาท

…………..

วิจารณ์ :

ที่คำว่า “บันลือ” ข้างต้น พจนานุกรมฯ ยกตัวอย่างว่า “บันลือสีหนาท” แต่เมื่อไปดูที่คำว่า “สีหนาท” พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

สีหนาท : (คำนาม) สิงหนาท.”

หมายความว่า “สีหนาท” ก็คือ “สิงหนาท” ต้องตามไปดู “สิงหนาท” อีกต่อหนึ่ง ซึ่งพจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

สิงหนาท : (คำนาม) พระราชดํารัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท ก็ว่า. (ส. สึห + นาท; ป. สีห + นาท).”

คำว่า “บันลือ” พจนานุกรมฯ ยกตัวอย่างว่า “บันลือสีหนาท” แต่ที่คำว่า “สีหนาท” ไม่มีคำนิยามใดๆ คงบอกแต่เพียงว่า “สีหนาท” ก็คือ “สิงหนาท

ในเมื่อไปมีคำอธิบายไว้ที่คำว่า “สิงหนาท” พจนานุกรมฯ ก็น่าจะยกตัวอย่างว่า “บันลือสิงหนาท” เสียตรงๆ ทำไมจึงไปยกตัวอย่างว่า “บันลือสีหนาท” แต่ไปมีคำอธิบายไว้ที่ “สิงหนาท

ข้อเสนอ :

ขอเสนอให้พจนานุกรมฯ ปรับปรุงดังนี้ –

๑ ปรับปรุงคำนิยาม “สีหนาท” เป็น –

สีหนาท : (คำนาม) พระราชดํารัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สิงหนาท ก็ว่า. (ส. สึห + นาท; ป. สีห + นาท).”

๒ ถ้าคง “สีหนาท” ไว้เหมือนเดิม ก็ปรับปรุงคำนิยาม “บันลือ” เป็น –

บันลือ : (คำกริยา) เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสิงหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่ใช่ราชสีห์อย่าบันลือสีหนาท

: ไม่ใช่นักปราชญ์อย่าอวดฉลาดกลางที่ประชุม

16-4-60