บาลีวันละคำ

กบิลพัสดุ์ (บาลีวันละคำ 1,779)

กบิลพัสดุ์

อ่านว่า กะ-บิน-ละ-พัด

บาลีเป็น “กปิลวตฺถุ” หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แสดงรากศัพท์ไว้ว่า กปิล (ฤๅษีชื่อกบิล) + วสฺ (ธาตุ = อยู่อาศัย) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (วสฺ > ) และลบ ที่ ตฺถุ (รตฺถุ > ตฺถุ)

: กปิล + วส = กปิลวสฺ + รตฺถุ = กปิลวสฺรตฺถุ > กปิลวรตฺถุ > กปิลวตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “เมืองที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของฤๅษีชื่อกบิลมาก่อน

กปิลวตฺถุ” ถ้าแยกศัพท์เท่าที่ตาเห็นก็เป็น กปิล + วตฺถุ

(๑) “กปิล

อ่านว่า กะ-ปิ-ละ รากศัพท์มาจาก กพฺ (ธาตุ = สี, ผิวพรรณ) + อิล ปัจจัย, แปลง พฺ ที่ (ก)-พฺ เป็น (กพฺ > กป)

: กพฺ + อิล = กพิล > กปิล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีสีคือถึงความเป็นสีเช่นสีเขียว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กปิล” ว่า brown, tawny, reddish, of hair & beard (มีสีน้ำตาล, มีสีน้ำตาลปนเหลือง, มีสีแดงเรื่อ, พูดถึงผมและหนวด)

ถ้า “กปิล” เป็นชื่อฤๅษี ก็คงจะมีความหมายว่า ฤๅษีตนนี้มีหนวดหรือผมสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลือง-อะไรสักอย่างหนึ่ง

(๒) “วตฺถุ

รากศัพท์มาจาก วสฺ (ธาตุ = อยู่) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (วสฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รตฺถุ > ตฺถุ)

: วสฺ + รตฺถุ = วสฺรตฺถุ > วรตฺถุ > วตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งอยู่” มีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) วัตถุ, ของจริง, ทรัพย์, สิ่งของ, ของที่เป็นสาระ (object, real thing, property, thing, substance)

(2) แหล่ง, ที่ตั้ง, สนาม, พื้นที่, ที่ดิน (site, ground, field, plot)

(3) มูลฐาน, รากฐาน, ฐานรองรับ, แก่นสาร, ธาตุ (basis, foundation, seat, (objective) substratum, substance, element)

(4) โอกาส, เหตุผล, พื้นฐาน (occasion for, reason, ground)

(5) เนื้อหา, รูปเรื่อง, เรื่องราว, รายงาน (subject matter, subject, story, account)

(6) ข้อ หรือกระทง (ในข้อความ) (object, item)

บาลี “วตฺถุ” สันสกฤตเป็น “วสฺตุ” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วสฺตุ : (คำนาม) พัสดุ, วัตถุ, สิ่ง; ภาวะหรือประกฤต, สาระหรือมูลพัสดุ, มูล; มุขยบทแห่งกาพย์หรือนาฏก; matter, substance, thing; nature or essential property, essence or pith; the main subject of a poem or play.”

ในภาษาไทย เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “พัสดุ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พัสดุ : (คำนาม) สิ่งของต่าง ๆ, เครื่องใช้ไม้สอย, ที่ดิน, บ้านเรือน. (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).”

กปิล + วตฺถุ = กปิลวตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่อันเป็นที่อยู่ของฤๅษีชื่อกบิล” หมายความว่า เมืองที่สร้างขึ้น ณ สถานที่อันเป็นที่อยู่ของฤๅษีชื่อกบิล

กปิลวตฺถุ” เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “กบิลพัสดุ์” (ต้องการให้อ่านว่า -พัด จึงใส่เครื่องหมายการันต์ที่ –ดุ เป็น –พัสดุ์)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มีคำว่า “กบิลดาบส” และ “กบิลพัสดุ์” บอกไว้ดังนี้ –

(1) กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกกากราช พากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า “ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส”

(2) กบิลพัสดุ์ : เมืองหลวงของแคว้นสักกะ หรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

…………..

พูดตามภาษานิยม “กบิลพัสดุ์” คือมาตุภูมิหรือชาติภูมิของพระศรีศากยมุนีโคดมพระพุทธเจ้าของเรา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใครว่าเลือกที่เกิดไม่ได้?

: ชาติหน้าอยากเกิดที่ไหน-เลือกได้ตั้งแต่ชาตินี้

21-4-60