บาลีวันละคำ

ความหิว (บาลีวันละคำ 1,792)

ความหิว

เป็นบรมโรค

บาลีว่าอย่างไร

คำว่า “ความหิว” คำบาลีที่นักเรียนบาลีคุ้นกันดีคือ “ชิคจฺฉา” อ่านว่า ชิ-คัด-ฉา รากศัพท์มาจาก ฆสฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง ที่ -(สฺ) เป็น ชิ (ฆสฺ > ชิสฺ), แปลง สฺ ที่สุดธาต เป็น (ฆส > ชิสฺ > ชิจ),ซ้อน , + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ฆส > ชิสฺ > ชิ + + = ชิฆจฺ + = ชิฆจฺฉ + อา = ชิฆจฺฉา แปลตามศัพท์ว่า “ความต้องการจะกิน

อีกศัพท์หนึ่งที่หมายถึง “ความหิว” เช่นกัน แต่เราไม่ค่อยคุ้นหู คือคำว่า “ขุทฺทา” (ขุด-ทา) รากศัพท์มาจาก ขุทฺ (ธาตุ = หิว) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ขุทฺ + = ขุทฺท + อา = ขุทฺทา แปลตามศัพท์ว่า “ความหิว

ชิฆจฺฉา” และ “ขุทฺทา” หมายถึง ความอยาก, ความหิว (appetite, hunger)

ในสำนวนบาลี คำที่นิยมพูดควบกันกับ “ชิฆจฺฉา” คือ “ปิปาสา” = ความกระหาย

ปิปาสา” (ปิ-ปา-สา) รากศัพท์มาจาก ปา (ธาตุ = ดื่ม) + ปัจจัย, แปลง อา ที่ ปา เป็น อิ (ปา > ปิ), ซ้อน ปา + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปา > ปิ + ปา = ปิปา + = ปิปาส + อา = ปิปาสา แปลตามศัพท์ว่า “ความอยากจะดื่ม” หมายถึง ความอยากดื่ม, ความกระหาย (desire to drink, thirst)

…………..

พุทธภาษิตเกี่ยวกับความหิวอันเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ “ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา” แปลว่า “ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง

พุทธภาษิตเต็มๆ มีดังนี้ –

ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา

สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา

เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง

สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

บัณฑิตทราบความเป็นจริงนี้แล้ว (ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน)

เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

ที่มา : สุขวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 25

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การทำความดี อาจจะไม่ทำให้หายหิวได้เสมอไป

: แต่ทำให้อิ่มได้ตลอดเวลา

5-5-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย