บาลีวันละคำ

เทพี (บาลีวันละคำ 1,799)

เทพี

ไม่มี “นาง” ?

อ่านตรงตัวว่า เท-พี

เทพี” บาลีเป็น “เทวี” (เท-วี) รากศัพท์มาจาก เทว + อี ปัจจัย

(๑) “เทว” (เท-วะ) รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว)

: ทิวฺ + = ทิว > เทว แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ

ความหมายของ “เทว” ที่มักเข้าใจกัน คือหมายถึง เทพเจ้า, เทวดา

แต่ความจริง “เทว” ในบาลียังหมายถึงอีกหลายอย่าง คือ พระยม, ความตาย, สมมติเทพ, พระราชา, ท้องฟ้า, ฝน, เมฆฝน, วรุณเทพ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เทว” ไว้ดังนี้ –

(1) good etc. (สิ่งที่ดี และอื่นๆ)

(2) a god, a deity, a divine being (เทวดา, เทพเจ้า, เทพ)

(3) the sky, rain-cloud, rainy sky, rain-god (ท้องฟ้า, เมฆฝน, ท้องฟ้ามีฝน, เทพแห่งฝน)

ในภาษาบาลีนิยมใช้คำว่า “เทว” เป็นคำอาลปนะ (addressing = คำทัก, คำร้องเรียก) เมื่อพูดกับพระราชา ในภาษาไทยนักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “ข้าแต่สมมุติเทพ

(๒) เทว + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: เทว + อี = เทวี

เทวี” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เทพธิดา (goddess)

(2) พระราชินี (queen)

เทวี” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทวี : (คำนาม) เทวดาผู้หญิง, นางพญา, นางกษัตริย์. (ป.).”

เทวี” แผลง เป็น ตามหลักนิยมในภาษาไทย จึงเป็น “เทพี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทพี ๑ : (คำนาม) เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนาว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.”

โปรดสังเกตว่า “หญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา” นั้น พจนานุกรมฯ บอกว่าเรียก “นางเทพี” มีคำว่า “นาง” นำหน้าด้วย ไม่ใช่ “เทพี” เฉยๆ

หนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เรียก “นางเทพี” (เห็นได้ว่าพจนานุกรมฯ ก็ใช้คำนิยามตามพระราชนิพนธ์นั่นเอง)

ในการพูดหรือเขียนถึง “หญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา” เดี๋ยวนี้ ผู้บรรยายหรือผู้เขียนมักเรียกว่า “เทพีคู่หาบเงิน” “เทพีคู่หาบทอง” ไม่ได้เรียกว่า “นางเทพี

…………..

ดูก่อนภราดา!

อันธรรมดาว่าเป็นสตรี –

: มีความสวย ก็ช่วยให้เป็นเทพีได้ แต่ไม่ยืนนาน

: มีภาวนาศีลทาน เป็นเทพีอมตะนิรันดร

12-5-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย