บาลีวันละคำ

นรกานต์ (บาลีวันละคำ 1,825)

นรกานต์

แยกศัพท์ต่าง ความหมายต่าง

คำว่า “นรกานต์” รูปบาลีเป็น “นรกนฺต” แยกศัพท์ได้ 2 นัย คือ –

(1) นรก + อนฺต

(2) นร + กนฺต

นัยที่ 1 นรก + อนฺต

(๑) นรก (นะ-ระ-กะ) รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง อี (ที่ นี) เป็น (นี > ), แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), ลง อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย

: นี > + = นร + ณฺวุ > อก = นรก

2 นร (ธาตุ = นำไป) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: นร + ณฺวุ > อก = นรก

นรก” แปลตามศัพท์ว่า “ภูมิที่นำคนบาปไป

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นรก” ว่า a pit และไขความอีกนัยหนึ่งว่า a name for Niraya, purgatory; a place of torment for the deceased (ชื่อสำหรับเรียกแดนนิรยะ คือนรก; สถานที่ทรมานผู้ที่ตายไปแล้ว)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นรก : แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทําบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. (ป., ส. นรก ว่า เหว).”

(๒) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

: นรก + อนฺต = นรกนฺต > นรกานต์ แปลตามศัพท์ว่า “ที่สุดแห่งนรก” “มีนรกเป็นที่สุด” (มีสิ่งนั้นสิ่งนี้มาเป็นลำดับ แล้วมีนรกเป็นลำดับสุดท้าย)

อีกนัยหนึ่ง “อนฺต” เป็นเพียงศัพท์สกรรถ คือนำมาต่อท้าย แต่ความหมายเท่าเดิม นั่นคือ นรกนฺต > นรกานต์ คงแปลว่า “นรก” คำเดียว

นัยที่ 2 นร + กนฺต

(๑) “นร” (นะ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(1) นี (ธาตุ = นำไป) + อร ปัจจัย, ลบ อี ที่ นี (นี > ) (ภาษาไวยากรณ์พูดว่า “ลบสระหน้า)

: นี > + อร = นร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้นำไปสู่ความเป็นใหญ่

(2) นรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป; นำไป) + ปัจจัย

: นรฺ + = นร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ดำเนินไปสู่ภพน้อยภพใหญ่” (2) “ผู้อันกรรมของตนนำไป” (3) “ผู้ถูกนำไปตามกรรมของตน

นร” หมายถึง คน ในบางบริบทหมายถึง “ผู้ชาย” โดยเฉพาะ (man, in poetry esp. a brave, strong, heroic man)

(๒) “กนฺต” (กัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กมฺ (ธาตุ = ปรารถนา, รัก, ติดใจ) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ

(2) กมฺ (ธาตุ = ปรารถนา, รัก, ติดใจ) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺต

: กมฺ + = กม > กนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ที่ภรรยาปรารถนา

: กมฺ + = กมต > กนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีกิริยาน่ารัก

กนฺต” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) พึงใจ, น่ารัก, น่าเพลิดเพลิน (pleasant, lovely, enjoyable)

(2) เป็นที่รัก, เป็นคนโปรด, น่ารักหรือมีเสน่ห์ (beloved by, favourite of, charming)

(3) คนที่เป็นที่รัก, สามี (the beloved one, the husband)

บาลี “กนฺต” สันสกฤตเป็น “กานฺต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

กานฺต : (คำคุณศัพท์) อันเปนที่พอใจ, อันต้องอารมณ์, น่ารัก, งาม; อันเปนที่รัก; pleasing, agreeable; lovely, beautiful; dear, beloved; – (คำนาม) นามของพระกฤษณะ; จันทร์; สามี; ฤดูวสันต์; พลอยอันมีค่า; กานดา หรือ ชายา, สตรีอันเปนที่รักหรือน่ารัก; เหล็ก; หญ้าฝรั่น; name of Krishṇa; the moon; a husband; spring; a precious stone; a wife, any belovedor lovely woman; iron; saffron.”

: นร + กนฺต = นรกนฺต > นรกานต์ แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่รักของคน” (จากหลังมาหน้า) “คนอันเป็นที่รัก” (จากหน้าไปหลัง)

คำว่า “นรกานต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) นรกานต์ ๑ [นอระ-] : (คำนาม) คนผู้เป็นที่รัก. (ป., ส. นร + กานฺต).

(2) นรกานต์ ๒ [นะระ-, นอระ-] : (คำนาม) นรก เช่น ตายก็ดีได้เข้า ข่องน้ำนรกานต์. (ยวนพ่าย). (ป., ส. นรก + อนฺต).

ข้อสังเกตการอ่านคำว่า “นรกานต์” ตามพจนานุกรมฯ :

๑ ถ้าหมายถึง “คนผู้เป็นที่รัก” ต้องอ่านว่า นอ-ระ-กาน

๒ ถ้าหมายถึง “นรก” อ่านว่า นะ-ระ-กาน ก็ได้ อ่านว่า นอ-ระ-กาน ก็ได้

พูดอีกอย่างหนึ่ง คำว่า “นรกานต์” –

๑ ถ้าอ่านว่า นะ-ระ-กาน ต้องหมายถึง “นรก” ไม่ใช่ “คนผู้เป็นที่รัก

๒ ถ้าอ่านว่า นอ-ระ-กาน หมายถึง “คนผู้เป็นที่รัก” ก็ได้ หมายถึง “นรก” ก็ได้

…………..

ความเห็นของผู้เขียนบาลีวันละคำ :

คำว่า “นรกานต์” ความหมายเดิมในภาษาไทยหมายถึง นรก อย่างเดียว พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ก็เก็บไว้เฉพาะความหมายเดียว

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เพิ่มความหมายขึ้นมาใหม่ว่า “คนผู้เป็นที่รัก” น่าจะเกิดจากมีผู้คิดแยกศัพท์เป็น นร + กนฺต = นรกนฺต > นรกานต์ ซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีใครคิดแยกศัพท์แบบนี้ จึงน่าจะต้องถามเหตุผลว่าทำไมจึงแยกแบบนี้ ไปได้หลักมาจากไหน หรือเพียงแต่เห็นว่ารูปศัพท์สามารถแยกเช่นนี้ได้ก็เลยแยกไปตามจินตนาการ

นรกานต์” ถ้าแยกเป็น นร + กนฺต น่าจะแปลว่า “อันเป็นที่รักของคน” ตามหลักนิยมการแปลส่วนมากของบาลีสันสกฤตที่แปลจากหลังมาหน้า (แต่หลักนี้ก็มีข้อยกเว้น)

อย่างไรก็ตาม แม้จะแยกศัพท์ได้เช่นนั้น แต่ก็ยังต้องตัดสินกันด้วยตัวอย่างคำและความหมายที่เคยมีใช้มาก่อน “นรกานต์” ที่แปลว่า “นรก” นั้นมีใช้มาแต่เดิม เช่นในโคลงโลกนิติเป็นต้น –

๏ ภูเขาอเนกล้ำ……มากมี

บมิหนักแผ่นธรณี….หน่อยไซร้

หนักนักแต่กระลี…..ลวงโลก

อันจักทรงทานได้….แต่พื้นนรกานต์๚ะ๛

ที่มา :

ประชุมโคลงโลกนิติฉบับหอสมุดแห่งชาติ บทที่ 37

(ฉบับประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ บทที่ 38)

นรกานต์” ที่แปลว่า “คนผู้เป็นที่รัก” ถ้ามีคำเก่าที่เคยใช้มาแล้วก็เป็นอันยอมรับได้ ผู้แยกเช่นนี้น่าจะต้องหาตัวอย่างมาให้ดูกันต่อไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อใด สังคมมีแต่คนสกปรก

: เมื่อนั้น แสดงว่านรกเป็นที่รักของคน

7-6-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย