บาลีวันละคำ

อัฐมรามาธิบดินทร (บาลีวันละคำ 1,827)

อัฐมรามาธิบดินทร

อ่านว่า อัด-ถะ-มะ-รา-มา-ทิ-บอ-ดิน

แยกศัพท์เป็น อัฐม + ราม + อธิบดี + อินทร

(๑) “อัฐม

บาลีเป็น “อฏฺฐม” (อัด-ถะ-มะ) รากศัพท์มาจาก อฏฺฐ (แปด, จำนวน 8) + (ปัจจัย = ลำดับที่)

ความรู้ทางไวยากรณ์:

ปัจจัย (อ่านว่า มะ-ปัจจัย) เป็นปัจจัยใน “ตัทธิต” (ตัด-ทิด)

ตัทธิต คือศัพท์จำพวกหนึ่ง มีปัจจัยกำกับอยู่ท้ายศัพท์แทนความหมายต่างๆ ตามที่กำหนด เช่น –

นาวา + อิก (อิ-กะ ปัจจัย) = นาวิก

อิก” ปัจจัยแทนความหมายว่า “ผู้อยู่, อยู่ทำหน้าที่

นาวา” เป็นศัพท์ธรรมดา แปลว่า เรือ

นาวิก” เป็นศัพท์ตัทธิต จะแปลว่า “เรือ” เฉยๆ ไม่ได้เพราะมีปัจจัยประกอบท้ายศัพท์ ต้องแปลว่า “ผู้อยู่ในเรือ” หรือ “ผู้ทำหน้าที่ในเรือ” = ชาวเรือ

อิก” ที่อยู่ท้ายศัพท์ว่า “นาวา” นี่แหละคือ “ปัจจัยในตัทธิต

ปัจจัยในตัทธิต (เรียกชื่อตามไวยากรณ์ว่า “ปูรณตัทธิต” ตัทธิตนี้มีปัจจัย 5 ตัว คือ ติย, , , , อี) ใช้ลงท้ายศัพท์สังขยา (สังขยา = คำบอกจำนวน) แทนความหมายว่า “ลำดับที่

: อฏฺฐ + = อฏฺฐม (อัด-ถะ-มะ)

อฏฺฐ” เป็นศัพท์สังขยา แปลว่า แปด (จำนวน 8)

อฏฺฐม” เป็นศัพท์ตัทธิต จะแปลว่า “แปด” เฉยๆ ไม่ได้ เพราะมีปัจจัยประกอบท้ายศัพท์ ต้องแปลว่า “ลำดับที่แปด

อฏฺฐม” ในภาษาไทยตัด ปฏัก ออกเป็น “อัฐม” (อัด-ถะ-มะ-) มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัฐม-, อัฐมะ : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ที่ ๘ เช่น อัฐมภาค อัฐมราชา. (ป. อฏฺฐม).”

(๒) “ราม

บาลีอ่านว่า รา-มะ รากศัพท์มาจาก รา (แทนศัพท์ “สุวณฺณ” = ทอง) + มานฺ (ธาตุ = นับถือ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ อาน ที่สุดธาตุ (มานฺ > ) และลบ กฺวิ

: รา + มานฺ = รามานฺ + กฺวิ = รามานกฺวิ > รามาน > ราม แปลตามศัพท์ว่า “อันเหล่าชนนิยมนับถือประดุจทองคำ” หมายถึง ความยินดี, ความสนุกสนาน, ความเพลิดเพลิน, สุขารมณ์ (ฝรั่งแปลว่า pleasure, sport, amusement)

ในคัมภีร์พบว่า นิยมนำคำว่า “ราม” ไปตั้งเป็นชื่อคน โดยเฉพาะพราหมณ์ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ราม” ไว้ดังนี้ –

(1) ราม ๑ : (คำวิเศษณ์)  งาม เช่น นงราม; ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันราม มีพระพุทธรูปอันราม. (จารึกสยาม).

(2) ราม ๒ : (คำนาม) ชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์.

ราม” ที่เป็นชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์นั้น คติพราหมณ์ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร

คติไทยถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพระรามคือพระนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็ญในโลก จึงมีคำว่า “ราม” หรือ “รามาธิบดี” ปรากฏในพระปรมาภิไธยเสมอ

(๓) “อธิบดี

บาลีเป็น “อธิปติ” (อะ-ทิ-ปะ-ติ) ประกอบด้วย อธิ + ปติ

(1) “อธิ” (อะ-ทิ) เป็นคำอุปสรรค (คำที่ใช้ประกอบข้างหน้าคำนามหรือกริยาให้มีความหมายยักเยื้องออกไป) นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายไว้ว่า –

1) บอกทิศทาง, จุดหมาย = จนถึง, เหนือ, ไปยัง, บน (up to, over, toward, to, on)

2) บอกสถานที่ = บนยอด, ข้างบน, เหนือ, บน (on top of, above, over)

(2) “ปติ” (ปะ-ติ) รากศัพท์มาจาก –

(ก) ปา (ธาตุ = รักษา, ดูแล) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > )

: ปา + ติ = ปาติ > ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษา

(ข) ปตฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อิ ปัจจัย

: ปตฺ + อิ = ปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปข้างหน้า

ปติ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ (lord, master, owner, leader)

(2) สามี (husband)

อธิ + ปติ = อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “เจ้านายผู้เป็นใหญ่

อีกนัยหนึ่ง “อธิปติ” รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + ปา (ธาตุ = รักษา, ปกครอง) + ติ ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ปา เป็น อะ (ปา > )

: อธิ + ปา = อธิปา + ติ = อธิปาติ > อธิปติ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปกครองใหญ่

อธิปติ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผู้ปกครอง, เจ้าใหญ่ (ruler, master)

(2) ครอบครอง, ปกครอง, มีอำนาจเหนือ; อยู่ใต้อำนาจ หรือปกครองโดย- (ruling over, governing, predominant; ruled or governed by)

(๔) “อินทร

บาลีเป็น “อินฺท” (อิน-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อิทิ (ธาตุ = เป็นใหญ่ยิ่ง) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ แล้วแปลงเป็น นฺ (อิทิ > อึทิ > อินฺทิ), “ลบสระหน้า” คือ (อิทิ + ปัจจัย : อิทิ อยู่หน้า อยู่หลัง) ลบสระ อิ ที่ (อิ)-ทิ (อิทิ > อิท)

: อิทิ > อึทิ > อินฺทิ > อินฺท + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง

(2) อินฺทฺ (ธาตุ = ประกอบ) + ปัจจัย

: อินฺทฺ + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกอบด้วยความยิ่งใหญ่

อินฺท” (ปุงลิงค์) หมายถึง จอม, เจ้า, ผู้ยิ่งใหญ่, ผู้เป็นใหญ่, พระอินทร์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อินฺท” ว่า –

(1) lord, chief, king (ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นหัวหน้า, พระราชา)

(2) The Vedic god Indra (พระอินทร์ตามคัมภีร์พระเวท)

อินฺท” ในบาลีเป็น “อินฺทฺร” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อินฺทฺร : (คำนาม) พระอินทร์, เจ้าสวรรค์, เทพดาประจำทิศตะวันออก; Indra, the supreme deity presiding over Svarga, the regent of the east quarter.”

อินฺท” ในภาษาไทยนิยมใช้อิงสันสกฤตเป็น “อินทร์” แต่ที่คงเป็น “อินท์” ก็มี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อินท์ : (คำนาม) ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์; ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

อินทร์ : ผู้เป็นใหญ่, จอมเทพ, ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือเทพชั้นจาตุมหาราชิกา; เรียกตามนิยมในบาลีว่า ท้าวสักกะ.

การประสมคำ :

๑ : ราม + อธิบดี = รามาธิบดี แปลว่า “พระรามผู้เป็นใหญ่” ถ้าแปลจากหลังมาหน้าก็ต้องแปลว่า “ผู้เป็นใหญ่ดุจดังพระราม

๒ : รามาธิบดี + อินทร = รามาธิบดินทร แปลว่า “จอมแห่งพระรามผู้เป็นใหญ่” หรือ “จอมแห่งผู้เป็นใหญ่ดุจดังพระราม

๓ : อัฐม + รามาธิบดินทร = อัฐมรามาธิบดินทร แปลว่า “จอมแห่งพระรามผู้เป็นใหญ่พระองค์ที่แปด” หรือ “จอมแห่งผู้เป็นใหญ่ดุจดังพระรามพระองค์ที่แปด

อัฐมรามาธิบดินทร” เป็นพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณี (พระปรมาภิไธยเต็มสมบูรณ์) มีดังนี้ –

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

…………..

เขียนแบ่งบรรทัดเพื่อสะดวกแก่การกำหนดคำสัมผัสดังนี้ –

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี

จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา

มหิตลานเรศวรางกูร

ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์

วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม

จักรีบรมราชวงศนิวิฐ

ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ

อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์

สุสาธิตบูรพาธิการ

ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ

สรรพเทเวศรานุรักษ์

ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์

มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล

อเนกนิกรชนสโมสรสมมต

ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ

นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร

สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย

สกลมไหศวริยมหาสวามินทร

มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม

บรมนาถชาติอาชาวไศรย

พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์

วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี

เมตตากรุณาสีตลหฤทัย

อโนปมัยบุญการ

สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี

พระอัฐมรามาธิบดินทร

สยามินทราธิราช

บรมนาถบพิตร

…………..

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า –

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

และให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า –

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

…………..

โปรดสังเกต :

คำว่า “…บดินทร” ในพระปรมาภิไธยนี้ไม่มีเครื่องหมายการันต์ที่ —ทร แต่ต้องอ่านว่า –บอ-ดิน ไม่ใช่ –บอ-ดิน-ทะ-ระ หรือ –บอ-ดิน-ทอน เพราะในพระปรมาภิไธยเต็มสมบูรณ์วรรคต่อมาเป็นคำว่า “สยามินทราธิราช” เมื่ออ่านติดต่อกันเป็น –

พระอัฐมรามาธิบดินทร

สยามินทราธิราช

คำว่า “สยามิน-” รับสัมผัสกับคำว่า “-บดิน-”

…………..

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนเขลา ทำวันสำคัญให้ผ่านไปอย่างไรค่า

: คนมีปัญญา ทำวันธรรมดาให้มีค่าเป็นวันสำคัญ

9-6-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย