บาลีวันละคำ

วัตถุอนามาส (บาลีวันละคำ 1,847)

วัตถุอนามาส

ควรรู้ แต่ไม่ควรลอง

อ่านว่า วัด-ถุ-อะ-นา-มาด

แยกศัพท์เป็น วัตถุ + อนามาส

(๑) “วัตถุ

บาลีเขียน “วตฺถุ” อ่านว่า วัด-ถุ รากศัพท์มาจาก วสฺ (ธาตุ = อยู่) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (วสฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รตฺถุ > ตฺถุ)

: วสฺ > + รตฺถุ > ตฺถุ : + ตฺถุ = วตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งอยู่” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) วัตถุ, ของจริง, ทรัพย์, สิ่งของ, ของที่เป็นสาระ (object, real thing, property, thing, substance)

(2) แหล่ง, ที่ตั้ง, สนาม, พื้นที่, ที่ดิน (site, ground, field, plot)

(3) มูลฐาน, รากฐาน, ฐานรองรับ, แก่นสาร, ธาตุ (basis, foundation, seat, (objective) substratum, substance, element)

(4) โอกาส, เหตุผล, พื้นฐาน (occasion for, reason, ground)

(5) เนื้อหา, รูปเรื่อง, เรื่องราว, รายงาน (subject matter, subject, story, account)

(6) ข้อ หรือกระทง (ในข้อความ) (object, item)

ในที่นี้ “วตฺถุ” ใช้ตามความหมายในข้อ (1)

(๒) “อนามาส

บาลีอ่านว่า อะ-นา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก + อามาส

(1) “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(2) “อามาส” (อา-มา-สะ) รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(สฺ) เป็น อา (มสฺ > มาส)

: อา + มสฺ = อามสฺ + = อามสณ > อามส > อามาส แปลตามศัพท์ว่า “การจับต้อง” หมายถึง การแตะต้อง, การดำเนินการ, การถือเอา; การสัมผัส, การถูกต้อง (touching, handling; touch)

+ อามาส แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อามาส” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อา– จึงต้องแปลง เป็น อน

+ อามาส = อนามาส หมายถึง ไม่ควรแตะต้อง (not to be touched)

วัตถุ + อนามาส = วัตถุอนามาส เป็นคำประสมแบบไทย แปลจากหน้าไปหลัง แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันไม่ควรแตะต้อง

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความว่า –

อนามาส :วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น.”

คำว่า “อนามาส” และ “วัตถุอนามาส” ไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

อภิปราย :

คำว่า “ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น” แสดงว่า “วัตถุอนามาส” ยังมีอีกมาก ซึ่งอาจจะชวนให้สงสัยว่า-ถ้าไม่แจงเป็นรายการไว้ จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรบ้างเป็นวัตถุอนามาส อะไรไม่เป็น

หลักปฏิบัติก็คือ อะไรก็ตามที่ชีวิตประจำวันของภิกษุไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ก็อย่าไปจับต้องเข้าโดยไม่จำเป็น-เท่านี้ก็ปลอดภัย

มีผู้แสดงความเห็นไว้ว่า สิกขาบทข้อที่ว่า “ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส” นั้น เงื่อนไขอยู่ที่ “มีความกำหนัด” เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความกำหนัด ภิกษุสามารถจับต้องกายหญิงได้ ไม่เป็นไร

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นการแสดงความเห็นที่ไม่รอบคอบ ทั้งนี้เพราะ-จะมีความกำหนัดหรือไม่มีความกำหนัด ร่างกายสตรีก็เป็น “วัตถุอนามาส” สำหรับภิกษุอยู่นั่นเอง

ทำไมร่างกายสตรีท่านจึงจัดเป็นวัตถุอนามาส ?

ก็เพราะการสัมผัสตัวเพศตรงข้ามถือว่าเป็น “บุรพภาค” แห่งการมีสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่ง-อย่าว่าแต่นักบวชเท่านั้นที่จะต้องสำรวมระวัง-แม้สุภาพชนทั่วไปเขาก็ยังถือเป็นมารยาทที่จะไม่ทำโดยไม่จำเป็น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อุจจาระแม้เท่าปลายผม

ต้องจับขึ้นมาดมก่อนหรือจึงจะรู้ว่าเหม็น?

: ความชั่วเท่าตัวเล็น

ต้องลองทำก่อนหรือจึงจะรู้ว่าเลว?

30-6-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย