บาลีวันละคำ

บุรพภาค (บาลีวันละคำ 1,848)

บุรพภาค

อ่านว่า บุ-ระ-พะ-พาก ก็ได้

อ่านว่า บุบ-พะ-พาก ก็ได้

แยกศัพท์เป็น บุรพ + ภาค

(๑) “บุรพ

บาลีเป็น “ปุพฺพ” รากศัพท์มาจาก ปุพฺพฺ (ธาตุ = เต็ม) + ปัจจัย

: ปุพฺพฺ + = ปุพฺพฺ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เต็ม” หมายถึง อดีต, แต่ก่อน, ก่อน (previous, former, before)

ปุพฺพ” สันสกฤตเป็น “ปูรฺว

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปูรฺวฺว, ปูรฺว : (คำวิเศษณ์) ประถม, แรก, ก่อน; ฝ่ายตวันออก; ทั้งสิ้น, สกล; first, former, prior, initial; eastern, entire; – (คำบุรพบท) ข้างน่า; before, in front of; – (คำนามพหูพจน์) บรรพบุรุษ; ทิศตวันออก; โบราณคดี; ancestors, fore-fathers; the east; an ancient tradition.

ในภาษาไทยใช้ตามบาลีเป็น “บุพ-” หรือ “บุพพ-” ก็มี ใช้อิงสันสกฤตเป็น “บุรพ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) เช่นในคำนี้ก็มี และแผลงเป็น “บรรพ” เขียนเป็น บรรพ์ (การันต์ที่ ) ก็มี

บุพ-” และ “บุรพ-” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) บุพ-, บุพพ– : (คำวิเศษณ์) ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).

(2) บุรพ– : (คำวิเศษณ์) บุพ. (ส. ปูรฺว; ป. ปุพฺพ).

(๒) “ภาค

บาลีอ่านว่า พา-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ภชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง; เสพ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ชฺ) เป็น อา แล้วแปลง เป็น (ภชฺ > ภาช > ภาค)

: ภชฺ + = ภชณ > ภช > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่จำแนกผลดีหรือไม่ดีให้มากขึ้น” (2) “สิ่งอันบุคคลเสพ

(2) ภาชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ภาชฺ + = ภาชณ > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาแบ่งออก

ภาค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ส่วน, ภาค, อนุภาค, ส่วนแบ่ง (part, portion, fraction, share)

(2) ส่วน (ของเงิน) ที่แบ่งให้, ค่าธรรมเนียม, ค่าจ้างรางวัล (apportioned share (of money), fee, remuneration)

(3) ส่วนของพื้นที่, สถานที่, ภูมิภาค (division of space, quarter, side, place, region)

(4) ส่วนของเวลา, เวลา (division of time, time)

ในที่นี้ “ภาค” ใช้ในความหมายว่า “ส่วน” ตามข้อ (1)

ปุพฺพ + ภาค = ปุพฺพภาค (ปุบ-พะ-พา-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนอันเป็นเบื้องต้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุพฺพภาค” ว่า “former part,” i. e. previous (“ส่วนที่กล่าวถึงก่อน”, คือก่อนนี้)

ปุพฺพภาค” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 สะกดเป็น “บุพภาค” บอกไว้ดังนี้ –

บุพภาค : (คำนาม) ส่วนเบื้องต้น. (ป. ปุพฺพภาค).”

ในที่นี้ “บุรพภาค” เขียนอิงสันสกฤต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำรูปนี้ไว้

…………..

อภิปราย :

บุรพภาค” หมายถึง ส่วนเริ่มต้นของเรื่อง เช่นจะถวายทาน ความคิดที่จะถวายอันเกิดจากจิตที่ประกอบด้วยศรัทธา มีอาการผ่องใส่ ยินดี เต็มใจ นี่คือ “บุรพภาค” ของทาน เป็นสิ่งบอกเหตุว่า อีกไม่นานการถวายทานจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ถ้าเทียบกับการแสดงมหรสพ “บุรพภาค” ก็คือการโหมโรง มีการโหมโรงเมื่อไร ก็แปลว่าอีกไม่นานการแสดงจะต้องเริ่มขึ้น

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งดีทั้งร้าย ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ก็จะเกิดขึ้นทันที หากแต่จะต้องมีการสะสมสาเหตุต่างๆ อันเป็น “บุรพภาค” เกิดขึ้นก่อนเสมอ

ทางปฏิบัติของผู้มีปัญญาก็คือ ถ้าเป็น “บุรพภาค” ในทางดี ก็จะพยายามส่งเสริมเพิ่มพูนให้มากขึ้น เพื่อให้เนื้อตัวของความดีจริงๆ ได้เกิดตามมาโดยเร็ว แต่ถ้าเป็น “บุรพภาค” ในทางร้าย ก็จะพยายามหาทางสกัดกั้นป้องกันไว้ก่อน อย่างที่พูดกันว่า “ตัดไฟแต่ต้นลม” เพื่อมิให้เหตุร้ายเกิดขึ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แค่ไม่เริ่มก็หมดเรื่อง แค่ไม่เคืองก็หมดแค้น

: แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแทน แค่ไม่แล่นก็หยุดแล้ว!

——————

(ตามคำขอของ Jaja Limjanon)

1-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย