บาลีวันละคำ

อัพโพหาริก (บาลีวันละคำ 1,853)

อัพโพหาริก

อารามิกโวหาร

อ่านว่า อับ-โพ-หา-ริก

อัพโพหาริก” บาลีเป็น “อพฺโพหาริก” อ่านว่า อับ-โพ-หา-ริ-กะ รากศัพท์มาจาก + โวหาร + อิก ปัจจัย

(๑) “” (อะ) คำเดิมคือ “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “โวหาร” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

โปรดสังเกต :

โวหาร ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ” ในภาษาไทย รูปคำ “โว-” ขึ้นต้นด้วยสระ โอ ก็จริง แต่เสียงที่เป็นตัวนำคือพยัญชนะ (วอ + โอ = โว) ไม่ใช่เสียงสระ โอ– เป็นตัวนำ การที่เขียนสระ โอ อยู่หน้าเป็นเพียงกฎเกณฑ์ทางอักขรวิธีของไทย

ถ้าเขียนเป็นอักษรโรมันซึ่งถือกันว่าเป็นอักษรสากลที่ใช้เขียนภาษาบาลีจะเห็นชัด คือ vohāra ขึ้นต้นด้วย v ซึ่งเป็นพยัญชนะ

(๒) “โวหาร” (โว-หา-ระ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อว (คำอุปสรรค = ลง) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ , “ลบสระหน้า” คือ วิ + อว ลบ อิ ที่ วิ (วิ > ), แผลง อว เป็น โอ, “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (หรฺ > หาร)

: วิ > + อว > โอ : + โอ = โว + หรฺ = โวหร + = โวหรณ > โวหร > โวหาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “คำอันเขากล่าว” (2) “คำเป็นเครื่องกล่าว” (3) “คำที่ลักใจของเหล่าสัตว์อย่างวิเศษ” (คือดึงดูดใจคนฟังไป) (4) “ภาวะที่พูดทำความขัดแย้ง” (5) “การตกลงกัน

โวหาร” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ชื่อหรือการเรียกขานที่ใช้กันในเวลานั้น, การใช้ภาษาร่วมกัน, ตรรกวิทยา, วิธีปกติธรรมดาของการนิยาม, วิธีใช้, ตำแหน่ง, ฉายา (current appellation, common use, popular logic, common way of defining, usage, designation, term, cognomen)

(2) การค้า, ธุรกิจ (trade, business)

(3) คดีความ, กฎหมาย, พันธะทางกฎหมาย; วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคดีความ, วิชาธรรมศาสตร์ (lawsuit, law, lawful obligation; juridical practice, jurisprudence)

โวหาร” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

โวหาร : (คำนาม) ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).”

(๓) + โวหาร + อิก ปัจจัย, แปลง ที่ โว-(หาร) เป็น (โวหาร > โพหาร), ซ้อน พฺ

: + พฺ = อพฺ + โวหาร = อพฺโวหาร > อพฺโพหาร + อิก = อพฺโพหาริก แปลตามศัพท์ว่า “-อันไม่ประกอบด้วยคำพูด” หมายถึง เรื่องหรือกรณีที่ไม่อาจจะพูดได้ว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อพฺโพหาริก” ว่า not of legal or conventional status (ไม่มีสถานภาพที่รับรองด้วยบทบัญญัติ หรือไม่ใช่ฐานะที่ชอบด้วยกฎเกณฑ์) และขยายความว่าหมายถึง –

(ก.) negligible, not to be decided (ทิ้งเสียได้, เพิกเฉย)

(ข.) uncommon, extraordinary (ไม่ปกติ, พิเศษ)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปลไว้ดังนี้ –

Abbohārika : insignificant; negligible; ineffective.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

อัพโพหาริก : “กล่าวไม่ได้ว่ามี”, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัพโพหาริก : (คำวิเศษณ์) ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิดวินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส การกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควรนับว่ากินเหล้า. (ป.).”

…………..

ขยายความ :

อัพโพหาริก” หมายถึง เรื่องหรือกรณีที่มีการกระทำครบองค์ประกอบที่จะพูดได้ว่าดีหรือชั่ว ถูกหรือผิดเป็นต้น แต่ผู้ทำมิได้มีเจตนาจะให้เกิดผลเป็นชั่วดีผิดถูกตามผลที่จะพึงเกิดจากการกระทำเช่นนั้นที่ได้กระทำกันตามปกติ

ตามตัวอย่างที่ยก คือการกินเหล้า ผลที่จะพึงเกิดจากการกินเหล้าหากกินตามปกติก็คือ ต้องการให้มึนเมาหรือเกิดอารมณ์ครึ้มอกครึ้มใจเป็นต้น

แต่กับข้าวบางชนิด เวลาปรุงต้องใส่เหล้าลงไปด้วยเพื่อผลบางประการ เช่นดับคาวหรือช่วยให้รสอาหารนั้นดีขึ้น มิใช่หวังให้มึนเมาหรือเกิดอารมณ์ครึ้มอกครึ้มใจดังเช่นกินเหล้าตามปกติ

คนที่รู้ว่าอาหารชนิดนั้นผสมเหล้า และกินอาหารนั้นเข้าไป ถ้าพูดตามหลักธรรมดาก็คือกินเหล้าเข้าไปด้วย แต่เจตนาในการกินต่างกัน คือเป็นเจตนากินอาหารตามธรรมดาของการกินอาหาร มิได้มีเจตนาจะกินเหล้าเหมือนคนที่ตั้งใจกินเหล้ากันตามปกติ

การกินเหล้าที่ผสมอยู่ในอาหารตามที่กล่าวมานี้แหละ เรียกว่า “อัพโพหาริก” คือกินเหล้าที่ไม่ถือว่าเป็นการกินเหล้า

กรณีอื่นๆ พึงเทียบเคียงโดยนัยเช่นที่กล่าวนี้

ยาไทยบางชนิดที่เรียกว่า “ยาดอง” หรือ “ยาดองเหล้า” ก็เข้าเกณฑ์นี้ คือผู้กินมีเจตนากินยา มิได้มีเจตนากินเหล้า

มีเรื่องเก่าเล่ากันขำๆ ว่า หลวงตารูปหนึ่งมีโรคประจำตัว ต้องฉันยาดองเป็นประจำทุกบ่าย ยาดองของหลวงตาถ้าเผอิญใครได้ลองชิมดูบ้างก็จะมีอารมณ์ครึกครื้นไปได้ทั้งวัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวเหมือนหลวงตาแต่ประการใดเลย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำเลวอย่าเลี่ยงบาลี

: เพราะในอเวจีไม่มีอัพโพหาริก

————–

(เก็บคำมาจากคำของพระคุณท่าน Bm. Chaiwut Pochanukul)

6-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย