บาลีวันละคำ

ทยฺยภาสา (บาลีวันละคำ 1,876)

ทยฺยภาสา

แปลว่า ภาษาไทย

เวลาแต่งภาษาบาลีที่มีชื่อคนหรือชื่อสถานที่เป็นภาษาไทย ท่านว่าให้คงชื่อนั้นไว้ ไม่ต้องแปลเป็นบาลี เช่น “อุบาสกชื่อทองย้อย” ก็ให้แต่งเป็นบาลีว่า

“ทองย้อย” อิติ ทยยภาสาย ลทฺธนาโม อุปาสโก

แปลว่า “อุบาสกผู้มีนามอันตนได้แล้วโดยภาษาไทยว่า ทองย้อย”

คำว่า “ภาษาไทย” เรียกเป็นคำบาลีว่า “ทยฺยภาสา” อ่านว่า ไท-ยะ-พา-สา

(๑) “ทยฺย

เป็นการใช้คำทับศัพท์ คือเอาคำว่า “ไทย” มาเขียนทับศัพท์เป็นรูปคำบาลีว่า “ทยฺย” อ่านว่า ไท-ยะ เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีสระ ไอ จะทับศัพท์เป็น “ไทยภาสา” ก็ไม่ใช่รูปบาลี จะเขียนว่า “ทยฺภาสา” (ไท-พา-สา) ก็ไม่ได้ เพราะเมื่อมีตัวสะกดก็ต้องมีตัวตาม จึงต้องมี เป็นตัวตาม ดังนั้นจึงต้องสะกดเป็น “ทยฺย” และอ่านว่า ไท-ยะ

เมื่อสมัยที่ประเทศไทยใช้ชื่อ “สยาม” ท่านก็ทับศัพท์เป็น “สฺยาม” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า สฺยา-มะ หรือออกเสียงว่า เซียม-มะ จะได้เสียงที่ถูกต้อง

(๒) “ภาสา

ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “ภาษา” (-ษา ฤๅษี) บาลีเป็น “ภาสา” (-สา เสือ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ภาสฺ (ธาตุ = พูด) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิง์

: ภาสฺ + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “วาจาอันคนพูด

(2) ภา (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิง์

: ภา + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ส่องสว่าง” “สิ่งที่รุ่งเรือง

ภาสา” ความหมายที่เข้าใจกันคือ คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา (speech, language)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ภาษา” ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

(1) ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม

(2) เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ

(3) (คำเก่า) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา (พงศ. ร. ๓)

(4) (ศัพท์คอมพิวเตอร์) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา

(5) โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา

อภิปราย:

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “ประสา” บอกไว้ว่า –

ประสา : (คำนาม) วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.”

ประสา” คงเพี้ยนมาจาก “ภาษา” นั่นเอง

ขอให้พิจารณาความหมายของ “ภาษา” ในข้อ (2) : เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ (ความจริงข้อนี้ควรมี “ลายลักษณ์” อีกอย่างหนึ่ง ลายลักษณ์บางอย่างไม่ใช่ตัวหนังสือ แต่มีความหมายที่สื่อความได้)

วิสัยที่เป็นไป” (ความหมายของ “ประสา”) ของมนุษย์เมื่อแรกเกิดก็คือยังไม่รู้ “ภาษา” ตามความหมายข้อ (2) นี่คือ ไม่รู้ภาษา = ไม่รู้ประสา

ต่อเมื่อโตขึ้นและได้เรียนรู้ตามวิสัย จึงสามารถรู้และทำสิ่งต่างๆ ได้ นี่คือ รู้ภาษา = รู้ประสา หรือ เป็นภาษา = เป็นประสา

ใครโตพอที่จะรู้ภาษาหรือเป็นภาษาได้แล้ว แต่ยังทำอะไรไม่ถูกไม่ควรหรือไม่ได้เรื่องที่ควรจะได้ หรือเคยทำได้ แต่บางคราวมีเหตุให้ทำไม่ได้ เราจึงเรียกว่า “ไม่รู้ภาษา” หรือ “ไม่เป็นภาษา” แล้วเพี้ยนเป็น “ไม่รู้ประสา” “ไม่เป็นประสา”

เวลาแปลคำว่า “ภาษาไทย” เป็นบาลี นักเรียนบาลีจะรู้กันดีว่าให้ใช้คำว่า “ทยฺย” ที่ทับศัพท์มาจาก “ไทย”  สมาสกับคำว่า “ภาสา

: ทยฺย + ภาสา = ทยฺยภาสา (ไท-ยะ-พา-สา) แปลว่า “ภาษาไทย

เวลาแต่งภาษาบาลี และมีชื่อคนชื่อสถานที่เป็นต้นที่เป็นคำไทย นักเรียนบาลีจะรู้กันว่า ต้องคงชื่อนั้นไว้โดยใช้ข้อความว่า “ได้นามโดยภาษาไทยว่า …” ดังที่แสดงตัวอย่างไว้ข้างต้น

…………..

เกร็ดนักเรียนบาลี :

เล่ากันว่า นานมาแล้ว ข้อสอบวิชาแต่งบาลีสำหรับชั้น ป.ธ.9 ปีหนึ่งมีข้อความภาษาไทยตอนหนึ่งว่า “นกแร้งตัวหนึ่ง” นักเรียนรูปหนึ่งนึกศัพท์ว่า “แร้ง” ในภาษาบาลีไม่ออก จึงแต่งเป็นบาลีว่า

เอโก “แร้ง” อิติ ทยฺยภาสาย ลทฺธนาโม สกุโณ

แปลได้ว่า นกตัวหนึ่งที่ได้นามโดยภาษาไทยว่า “แร้ง”

อีกรูปหนึ่ง นึกศัพท์ว่า “แร้ง” ไม่ออกเช่นกัน แต่งไปว่า

เอโก แรโง

ว่ากันว่า ใบตอบของนักเรียนทั้ง 2 รูปนี้ทำความครึกครื้นให้กรรมการผู้ตรวจข้อสอบเป็นอันมาก แต่ที่สำคัญคือกรรมการยอมให้ผ่าน โดยมีเหตุผลประกอบว่า คนเราบทจะนึกไม่ออกมันก็ไม่ออกจริงๆ แต่สำนวนในส่วนอื่นๆ แต่งถูกต้องดีมาก จึงควรแก่การเห็นใจและอนุโมทนา

…………..

ในภาษาบาลีมีภาษาไทย

๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ารักษาไทยกันปีละครั้ง

: วันหนึ่งฝรั่งจะมาสอนไทย

29-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย