บาลีวันละคำ

ชราภาพ (บาลีวันละคำ 1,877)

ชราภาพ

ภาพที่ไม่มีใครชอบ

อ่านว่า ชะ-รา-พาบ

แยกศัพท์เป็น ชรา + ภาพ

(๑) “ชรา

บาลีอ่านว่า ชะ-รา รากศัพท์มาจาก ชรฺ (ธาตุ = เสื่อมวัย, แก่) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ชรฺ + = ชร + อา = ชรา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่เสื่อม” (2) “ภาวะเป็นเหตุให้เสื่อมเป็นคนแก่” หมายถึง ความเสื่อมถอย, ความชรา, ทุพพลภาพ (decay, decrepitude, old age)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชรา : (คำวิเศษณ์) แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).”

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” (พา-วะ) รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู ที่ ภู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว (ภู > โภ > ภาว)

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภาว” ไว้ดังนี้ –

(1) being, becoming, condition, nature (ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ)

(2) cultivation or production by thought, mental condition (การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ)

ความหมายของ “ภาว” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ภาว แปลง เป็น = ภาพ

ความหมายของ “ภาพ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย.

(2) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน.

(3) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย.

ในที่นี้ “ภาพ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

ชรา + ภาว = ชราภาว แปลว่า “ภาวะคือความแก่” “ภาวะแห่งความแก่

ชราภาว” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ชราภาพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชราภาพ : (คำนาม) ความแก่ด้วยอายุ, ความชํารุดทรุดโทรม, เช่น อันทุพพลชรา ภาพแล้ว. (โลกนิติ).”

…………..

ขยายความ :

อันว่า “ชราภาพ” โดยทางธรรมท่านว่ามี 2 แบบ คือ

๑. ปากฏชรา (ปา-กะ-ตะ-ชะ-รา) = แก่เปิดเผย ท่านว่าหมายถึงความแก่แห่งรูปธรรม เช่น ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยวย่นเป็นต้น

๒. ปฏิจฉันนชรา (ปะ-ติด-ฉัน-นะ-ชะ-รา) = แก่ปกปิด ท่านว่าหมายถึงความแก่แห่งอรูปธรรม เช่น สัญญา ความจำเป็นต้น แม้จะมีอาการหลงลืมบ้าง แต่ก็ไม่มีรูปร่าง เช่นผมหงอก ฟันหัก ปรากฏให้เห็น

นักขบธรรมะบางท่านบอกว่า –

๑. ตั้งแต่เกิดจนโตเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นปฏิจฉันนชรา = แก่ปกปิด หรือแก่ขึ้น คือแม้จะแก่ตามสภาวะ แต่คนเราก็ไม่รู้สึกว่าแก่

๒. ตั้งแต่เป็นหนุ่มสาวเต็มที่จนถึงวัยชรา เป็นปากฏชรา = แก่เปิดเผย หรือแก่ลง คือความแก่ปรากฏให้เห็นว่าเป็นคนแก่จริงๆ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำบุญใส่ตัวอย่ามัวไถลไถถาก

: มัจจุราชไม่เคยรับปากว่าจะให้อยู่จนถึงชรา

30-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย