บาลีวันละคำ

ทัศนแพทย์ (บาลีวันละคำ 1,878)

ทัศนแพทย์

แพทย์แผนอนาคต

อ่านว่า ทัด-สะ-นะ-แพด

แยกศัพท์เป็น ทัศน + แพทย์

(๑) “ทัศน

บาลีเป็น “ทสฺสน” (ทัด-สะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = เห็น) + ยุ ปัจจัย, แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ทิสฺ > ทสฺส + ยุ > อน = ทสฺสน แปลตามศัพท์ว่า “การเห็น” หมายถึง –

(1) การเห็น, การมองดู, การสังเกต, สิ่งที่ปรากฏ, รูปร่าง (seeing, looking; noticing; sight of, appearance, look)

(2) การเล็งเห็น, เครื่องรู้เห็น, การเห็นแจ้ง, ความเห็น, ทฤษฎี (perception, faculty of apperception, insight, view, theory)

ทสฺสน” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ทัศน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : (คำนาม) ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).”

(๒) “แพทย์

บาลีเป็น “เวชฺช” (เวด-ชะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) วิชฺชา ( = ความรู้ทางยา) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิชฺ-เป็น เอ, ลบ และลบสระท้ายคำหน้า : วิชฺชา > วิชฺช

: วิชฺชา + = วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาทางยา

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช

: วิทฺ + ณฺย = วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา

เวชฺช” (ปุงลิงค์) หมายถึง หมอรักษาโรค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เวชฺช” ว่า a physician, doctor, medical man, surgeon (หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์)

เวชฺช” สันสกฤตเป็น “ไวทฺย” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ไวทฺย : (คำนาม) ‘แพทย์’ หมอยา, หมอรักษาโรค; ผู้คงแก่เรียน; ผู้คงแก่เรียนในพระเวท; a physician, a learned man; one well versed in Vedas;- (คำวิเศษณ์) อันเป็นสัมพันธินแก่ยา; medical relating to medicine.”

เวชฺช” ใช้ในภาษาไทยว่า “แพทย์

จะเห็นว่าคำนี้เราเขียนอิงไปทางสันสกฤต

ทสฺสน + เวชฺช = ทสฺสนเวชฺช > ทัศนแพทย์

ทัศนแพทย์” เป็นคำสนุกๆ ที่มีผู้คิดขึ้นเลียนความหมายคำว่า “หมอดู

หมอ” = แพทย์

ดู” = ทัศน-

ดังนั้น “หมอดู” ก็คือ “ทัศนแพทย์

คำว่า “ทัศนแพทย์” ยังสามารถเข้าเทียบในทำเนียบ “แพทย์” ต่างๆ ได้อย่างแนบเนียน เช่น –

จักษุแพทย์

ศัลยแพทย์

อายุรแพทย์

ทัศนแพทย์

วิสัญญีแพทย์

กลมกลืนกันเป็นอันดี ถ้าไม่สังเกต ก็ไม่เห็นอะไรผิดปกติ

นับว่าผู้คิดคำนี้มีอารมณ์สุนทรีย์อยู่มิใช่น้อย รูปคำก็สวย เสียงก็เพราะ ความหมายก็คมคาย น่าจะติดตลาด “คำตลก” ได้คำหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้หมอดูจะรู้วันตาย ทายได้ล่วงหน้า

: แต่ก็ไม่มีหมอใดรับรักษา ให้คนที่เกิดมาไม่ต้องตาย

—————–

(หยิบคำมาจากโพสต์ของคุณครู วัชรวุฒิ เรือนคำ)

31-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย