บาลีวันละคำ

พระบรมราชสรีรางคาร (บาลีวันละคำ 1,966)

พระบรมราชสรีรางคาร

อ่านว่า พฺระ-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-สะ-รี-ราง-คาน

พระบรมราช” เป็นคำประกอบ

คำหลักคือ “สรีรางคาร

(ก) “พระบรมราช” แยกศัพท์เป็น พระ + บรม + ราช

(๑) “พระ

มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พระ” ไว้ 13 อย่าง ในที่นี้คำว่า “พระ” เป็นคำใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่องพระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์

(๒) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” อ่านว่า ปะ-ระ-มะ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย” (2) “ยินดีในความยิ่งใหญ่” (3) “รักษาความสูงสุดของตนไว้” (ดูรายะเอียดที่ “พระบรมโกศ” : บาลีวันละคำ (1,593) 14-10-59)

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ที่ใช้ภาษาไทยว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น โง่บรม บรมขี้เกียจ”

(๓) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ญฺ, ยืดเสียง อะ ที่ – เป็น อา

: รญฺชฺ > รช + = รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า ผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พระ + บรม + ราช = พระบรมราช เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำสามัญทำให้เป็นราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

(ข) “สรีรางคาร” แยกศัพท์เป็น สรีร + อังคาร

(๑) “สรีร” (สะ-รี-ระ)

รากศัพท์มาจาก  สรฺ (ธาตุ = เป็นไป, เบียดเบียน) + อีร ปัจจัย

: สรฺ + อีร = สรีร แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ร่างที่เป็นไปตามปกติ” คือเกิดขึ้น ดำรงอยู่ แตกสลายไปตามธรรมดา

(2) “ร่างที่เบียดเบียนลม” คือทำให้ลมผ่านไม่สะดวกเนื่องจากมาปะทะกับร่าง

สรีร” ใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) ร่างกาย, โครงร่างของสิ่งใดๆ ที่เป็นวัตถุ (the body, the physical body)

(2) ร่างกายคนตาย, ซากศพ (a dead body, a corpse)

(3) กระดูก (the bones)

(4) ส่วนของร่างกายของผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว (relics)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรีร-, สรีระ : (คำนาม) ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ศรีร : (คำนาม) กาย, ร่าง, ตัว; the body.”

(๒) “อังคาร

บาลีเขียน “องฺคาร” อ่านว่า อัง-คา-ระ รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ถึง) + อาร ปัจจัย

: องฺคฺ + อาร = องฺคาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความเสื่อมสภาพ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “องฺคาร” ว่า charcoal, burning coal, embers; ashes (ถ่านไม้, ถ่านเผา, ถ่านไฟที่ยังปะทุอยู่; เถ้าถ่าน)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 จำกัดความหมายเฉพาะเจาะจงลงไปว่า –

อังคาร : เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว.”

สรุปว่า คำว่า “องฺคาร” หมายถึง –

(1) ถ่านไม้หรือถ่านหินที่ยังไม่ติดไฟ ก็ได้

(2) ถ่านไม้หรือถ่านหินที่กำลังติดไฟลุกโพลงอยู่ ก็ได้

(3) เถ้าถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้ ก็ได้

สรีร + อังคาร = สรีรางคาร (แผลง อัง– เป็น อาง– เมื่อเข้าสนธิ จึงเป็น “สรีรางคาร” แต่ที่เป็น “สรีรังคาร” ก็มี) แปลตามศัพท์เฉพาะในที่นี้ว่า “เถ้าถ่าน (อันเหลือจากการเผา) ร่างกาย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรีรังคาร, สรีรางคาร : (คำนาม) เถ้าถ่านที่ปะปนกับกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว.”

สรีรางคาร” เมื่อมีคำว่า “พระบรมราช” ประกอบเข้าข้างหน้าเป็น “พระบรมราชสรีรางคาร” จึงหมายถึง เถ้าถ่านปนพระบรมอัฐิชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เหลือหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าแผ่นดิน

…………..

หนังสือ “คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่ อธิบายคำว่า “พระบรมราชสรีรางคาร” ไว้ดังนี้ –

…………..

พระบรมราชสรีรางคาร : คือ เถ้าถ่านที่ปะปนกับพระบรมอัฐิชิ้นเล็กชิ้นน้อยของพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่เผาแล้ว ซึ่งอาจเรียกว่า พระสรีรางคาร ตามลำดับพระอิสริยยศของพระบรมวงศ์ และเรียกว่า อังคาร สำหรับสามัญชน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พระสรีรธาตุอาจเหลือเพียงเศษธุลีถ่านเถ้า

: แต่พระราชกฤษฎาบารมีแห่งพระผู้เป็นเจ้าจักเป็นทิพยธาตุสถิตคู่ไทยตราบนิรันดร์กาล

#บาลีวันละคำ (1,966)

27-10-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย