บาลีวันละคำ

มตฺถเก มตฺถลุงฺคํ (บาลีวันละคำ 2056)

มตฺถเก  มตฺถลุงฺคํ = มันสมอง

ลำดับ 32 ในอาการสามสิบสอง

อ่านว่า มัต-ถะ-เก มัต-ถะ-ลุง-คัง

(๑) “มตฺถเก” รูปคำเดิมเป็น “มตฺถก” (มัด-ถะ-กะ) รากศัพท์มาจาก มสฺ (ธาตุ = จับต้อง, ลูบคลำ) + ตฺถ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (มสฺ > ), ลง สกรรถ (กะ-สะ-กัด)

: มสฺ + ตฺถ = มสตฺถ > มตฺถ + = มตฺถก แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะอันคนลูบคลำ” หมายถึง ศีรษะ (the head) และใช้ในเชิงเปรียบ หมายถึง ยอด, ที่สูงสุด (top, summit)

มตฺถก” ในภาษาไทยใช้เป็น “มัตถกะ” อ่านว่า มัด-ถะ-กะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

มัตถกะ : (คำนาม) หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).”

ในที่นี้ “มตฺถก” หมายถึง กะโหลกศีรษะ (skull)

มตฺถก” (ปุงลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มตฺถเก” แปลว่า “ในกะโหลกศีรษะ

(๒) “มตฺถลุงฺคํ” รูปคำเดิมเป็น “มตฺถลุงฺค” (มัต-ถะ-ลุง-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มตฺถุ (เนยเหลว) + ลุจฺ (ธาตุ = เห็น, ดู) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น งฺ (ลุจฺ > ลุํจฺ > ลุงฺจ), แปลง เป็น (ลุงฺจ > ลุงฺค), “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ (มตฺ)-ถุ (มตฺถุ > มตฺถ)

: มตฺถุ + ลุจฺ = มตฺถุลุจฺ > มตฺถลุจฺ > มตฺถลุํจฺ > มตฺถลุงฺจ + = มตฺถลุงฺจ > มตฺถลุงฺค แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะดุจเนยเหลวอันเป็นเครื่องยังจิตให้เห็น

(2) มตฺถ (ที่สูงสุด) + ลุจฺ (ธาตุ = เห็น, ดู) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น งฺ (ลุจฺ > ลุํจฺ > ลุงฺจ), แปลง เป็น (ลุงฺจ > ลุงฺค)

: มตฺถ + ลุจฺ = มตฺถลุจฺ > มตฺถลุํจฺ > มตฺถลุงฺจ + = มตฺถลุงฺจ > มตฺถลุงฺค แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องยังจิตให้เห็นในที่สูง

มตฺถลุงฺค” หมายถึง มันสมอง (the brain)

มตฺถลุงฺค” (นปุงสกลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มตฺถลุงฺคํ

มตฺถลุงฺค” ในภาษาไทยใช้เป็น “มัตถลุงค์” (มัด-ถะ-ลุง)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

มัตถลุงค์ : (คำนาม) มันสมอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมัตถลุงค์. (ป.).”

มตฺถเก  มตฺถลุงฺคํ” (มัตถะเก มัตถะลุงคัง) แปลทั้ง 2 ศัพท์ว่า “มันสมองในกะโหลกศีรษะ

…………..

ขยายความ :

คัมภีร์วิสุทธิมรรคบรรยายลักษณะของ “มตฺถลุงฺคํ” ไว้ดังนี้ –

มตฺถลุงฺคนฺติ  สีสกฏาหพฺภนฺตเร  ฐิตมิญฺชราสิ.

คำว่า “มตฺถลุงฺคํ” ได้แก่กลุ่มเยื่อไข (marrow) ที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ

ตํ  วณฺณโต  เสตํ  อหิจฺฉตฺตกปิณฺฑวณฺณํ.  ทธิภาวํ  อสมฺปตฺตทุฏฺฐขีรวณฺณนฺติปิ วตฺตุํ  วฏฺฏติ.

มัตถลุงคังนั้นสีขาวคล้ายสีดอกเห็ด แต่จะว่ามีสีเหมือนนมสดที่ไม่สดแล้วแต่ยังไม่ถึงเป็นนมส้มก็ได้

สณฺฐานโต  โอกาสสณฺฐานํ.

มัตถลุงคังมีรูปทรงตามรูปทรงสัญฐานของแหล่งที่มันอยู่

โอกาสโต  สีสกฏาหพฺภนฺตเร  จตฺตาโร  สิพฺพินิมคฺเค  นิสฺสาย  สโมธาเนตฺวา  ฐปิตา  จตฺตาโร  ปิฏฺฐปิณฺฑา  วิย  สโมหิตํ  ติฏฺฐติ.

มัตถลุงคังอาศัยแนวประสาน 4 แฉกรวมกลุ่มกันอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ คล้ายก้อนแป้ง 4 ก้อนที่เอามาวางสุมกันไว้

(คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส หน้า 43)

ในบทสวด “พระอาการสามสิบสอง” กล่าวถึง “มตฺถลุงฺคํ” ไว้ดังนี้ –

๏ มัตถะเกมัตถะลุงค์….สมองอันสูง…..เยื่อในกะโหลกหัว

คนปัญญาลึก…………..ย่อมนึกถึงตัว….อย่าได้เมามัว

ด้วยราคราคา๚ะ๛

…………..

หมายเหตุ : อาการสามสิบสองข้อนี้คำที่เป็นศัพท์แท้ๆ มีศัพท์เดียว คือ “มตฺถลุงฺคํ” ส่วน “มตฺถเก” เป็นคำขยายหรือคำเสริม

ในคัมภีร์ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ตอนที่ว่าด้วยอาการสามสิบสองซึ่งนิยมนำไปสวดสาธยายกันทั่วไป เรียงลำดับ “มตฺถลุงฺคํ” ไว้เป็นข้อสุดท้าย ในที่นี้จึงเรียงตามนั้น

ในคัมภีร์ทั่วไป ตลอดจนคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่ยกมาขยายความ นิยมเรียง “มตฺถลุงฺคํ” ไว้เป็นลำดับที่ 20 คือต่อจาก “กรีสํ” อันเป็นข้อที่ 19 ต่อจาก “มตฺถลุงฺคํ” ก็เป็น “ปิตฺตํ” ไล่ไปตามลำดับจนถึง “มุตฺตํ” เป็นข้อที่ 32 สุดท้าย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถึงแม้จะฉลาดแสนฉลาด ก็มิควรบังอาจอวดคะนอง

: เพราะมันสมองไม่ใช่ใบรับรองว่าจะไม่ตกนรก

—————-

(ตามคำอาราธนาของคุณครูอนันต์ นาควิจิตร)

ภาพประกอบ: จาก google

ควรตามไปดูคำว่า “อาการ 32” ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ด้วย:

#บาลีวันละคำ (2,056)

28-1-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย