บาลีวันละคำ

มุตฺตํ (บาลีวันละคำ 2,055)

มุตฺตํ = มูตร

ลำดับ 31 ในอาการสามสิบสอง

อ่านว่า มุด-ตัง

มุตฺตํ” รูปคำเดิมเป็น “มุตฺต” (มุด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มุจฺ (ธาตุ = หลุด, พ้น) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่ (มุ)-จฺ เป็น ตฺ (มุจฺ > มุตฺ)

: มุจฺ + = มุจฺต > มุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “น้ำที่พ้นออกมา

(2) มุตฺตฺ (ธาตุ = ไหล, ไหลออก) + ปัจจัย

: มุตฺตฺ + = มุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “น้ำที่ไหลออกมา

มุตฺต” หมายถึง มูตร, น้ำปัสสาวะ (urine)

มุตฺต” (นปุงสกลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มุตฺตํ

มุตฺต” ในภาษาไทยใช้เป็น “มูตร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

มูตร : (คำนาม) นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ส. มูตฺร; ป. มุตฺต).”

…………..

ขยายความ :

คัมภีร์วิสุทธิมรรคบรรยายลักษณะของ “มุตฺตํ” ไว้ดังนี้ –

มุตฺตนฺติ  วณฺณโต  มาสขาโรทกวณฺณํ.

คำว่า “มุตฺตํ” (น้ำมูตร คือน้ำปัสสาวะ)

มูตรนั้นมีสีเหมือนน้ำด่างที่แช่ถั่วราชมาส

(ราชมาส: ชื่อถั่วชนิด Phaseolus lunatus L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง-พจนานุกรมฯ 54)

สณฺฐานโต  อโธมุขฏฺฐปิตอุทกกุมฺภอพฺภนฺตเร  คตอุทกสณฺฐานํ.

ลักษณาการของน้ำมูตรอุปมาดังน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำที่ปิดปากแล้วตั้งคว่ำปากไว้

โอกาสโต  วตฺถิสฺส  อพฺภนฺตเร  ฐิตํ.

น้ำมูตรนั้นอยู่ภายในวัตถิ (คำเก่าแปลว่า หัวไส้)

วตฺถิ  นาม  วตฺถิปูโฏ  วุจฺจติ

ที่เรียกกันว่า “วัตถิ” ก็คือกระเพาะเบา

ยตฺถ  เสยฺยถาปิ  จนฺทนิกาย  ปกฺขิตฺเต  อโธมุเข  รวณฆเฏ  จนฺทนิการโส  ปวิสติ  น  จสฺส  ปวิสนมคฺโค  ปญฺญายติ

กระเพาะเบาก็เหมือนหม้อเนื้อหยาบที่ปิดปากวางแช่ไว้ในแอ่งน้ำครำ น้ำครำซึมเข้าไปในหม้อได้ แต่ทางเข้าไปของมันไม่ปรากฏ

เอวเมว  สรีรโต  มุตฺตํ  ปวิสติ  น  จสฺส  ปวิสนมคฺโค  ปญฺญายติ  นิกฺขมนมคฺโค   ปน  ปากโฏ  โหติ

น้ำมูตรซึ่งกลั่นกรองจากร่างกายก็ซึมเข้าไปในกระเพาะเบาแบบเดียวกันนั้น แต่ว่าทางเข้าไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ทางออก

ยมฺหิ  จ  มุตฺตสฺส  ภริเต  ปสฺสาวํ  กโรมาติ  สตฺตานํ  อายูหนํ  โหติ.

กระเพาะเบานั้นเมื่อเต็มด้วยน้ำมูตรแล้ว อาการปวดปัสสาวะก็จะเกิดขึ้น (แปลตามตัวว่า “ความขวนขวายว่าเราจะถ่ายปัสสาวะย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลาย”)

(คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส หน้า 50)

ในบทสวด “พระอาการสามสิบสอง” กล่าวถึง “มุตฺตํ” ไว้ดังนี้ –

๏ มุตตังน้ำมูตร….ไหลหลั่งดังฉูด…..ออกทวารเบา

มีอยู่ในกาย………ทั้งใหม่ทั้งเก่า……ไหลออกเหม็นเน่า

ใครเล่าพันพัว๚ะ๛

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อารมณ์ไม่ใช่น้ำมูตร

: อย่าปล่อยให้บูดแล้วเที่ยวหาที่ระบาย

—————-

(ตามคำอาราธนาของคุณครูอนันต์ นาควิจิตร)

ภาพประกอบ: จาก google

ควรตามไปดูคำว่า “อาการ 32” ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ด้วย:

#บาลีวันละคำ (2,055)

27-1-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย