บาลีวันละคำ

เขโฬ (บาลีวันละคำ 2,051)

เขโฬ = น้ำลาย

ลำดับ 28 ในอาการสามสิบสอง

อ่านว่า เข-โล

เขโฬ” รูปคำเดิมเป็น “เขฬ” (เข-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) เขลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่สุดธาตุเป็น (เขล > เขฬ)

: เขลฺ + = เขล > เขฬ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปอยู่” (คือมีอยู่ประจำ)

(2) (ฟ้า, อากาศ) +  อิลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ อิ-(ลฺ) เป็น เอ แล้วแปลง เป็น (อิล > เอล > เอฬ)

: + อิล = ขิล > เขล > เขฬ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปสู่อากาศ” (คือถูกถ่มถุยให้ลอยไป)

เขฬ” หมายถึง เสมหะ, น้ำลาย, เสลด (phlegm, saliva, foam)

เขฬ” (ปุงลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “เขโฬ

เขโฬ” ในภาษาไทยใช้เป็น “เขฬะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

เขฬะ : (คำนาม) นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ. (ป.).

…………..

ขยายความ :

คัมภีร์วิสุทธิมรรคบรรยายลักษณะของ “เขโฬ” ไว้ดังนี้ –

เขโฬติ  อนฺโตมุเข  เผณมิสฺสา  อาโปธาตุ.

คำว่า “เขโฬ” คืออาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายในปาก

โส  วณฺณโต  เสโต  เผณวณฺโณ.

เขฬะนั้นสีขาวเหมือนสีฟองน้ำ

สณฺฐานโต  โอกาสสณฺฐาโน.  เผณสณฺฐาโนติปิ  วตฺตุํ  วฏฺฏติ.

เขฬะนั้นมีรูปทรงสัณฐานตามรูปทรงอวัยวะที่มันเข้าไปอยู่ จะว่ามีรูปทรงสัณฐานเหมือนฟองน้ำก็ได้

โอกาสโต  อุโภหิ  กโปลปสฺเสหิ  โอรุยฺห  ชิวฺหาย  ฐิโต.

เขฬะนั้นก่อตัวจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้างลงมาอยู่ที่ลิ้น

น  เจส  เอตฺถ  สทา  สนฺนิจิโต  หุตฺวา  ติฏฺฐติ 

แต่ว่ามันมิได้ขังอยู่ที่นั่นตลอดเวลาดอก

ยทา  ปน  สตฺตา  ตถารูปํ  อาหารํ  ปสฺสนฺติ  วา  สรนฺติ  วา  อุณฺหติตฺติกกฏุกโลณมฺพิลานํ  วา  กิญฺจิ  มุเข  ฐเปนฺติ 

ต่อเมื่อใดเราเห็นหรือนึกถึงอาหารบางอย่างที่ชวนน้ำลายไหลเข้าก็ดี เอาอาหารอะไรก็ตามที่มีรสร้อน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยวใส่ปากเข้าไปก็ดี

ยทา  วา  เนสํ  หทยํ  อากิลายติ  กิสฺมิญฺจิเทว  วา  ชิคุจฺฉา  อุปฺปชฺชติ 

หรือว่าใจรู้สึกละเหี่ยไปก็ดี เกิดสะอิดสะเอียนอะไรขึ้นมาก็ดี

ตทา  เขโฬ  อุปฺปชฺชิตฺวา  อุโภหิ  กโปลปสฺเสหิ  โอรุยฺห  ชิวฺหาย  สณฺฐาติ.

เมื่อนั้นเขฬะจึงก่อตัวจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้างลงมาอยู่ที่ลิ้น

อคฺคชิวฺหาย  เจส  ตนุโก  โหติ  มูลชิวฺหาย  พหโล 

ที่ปลายลิ้นมีเขฬะน้อย ที่โคนลิ้นมีเขฬะมาก

มุเข  ปกฺขิตฺตญฺจ  ปุถุกํ  วา  ตณฺฑุลํ  วา  อญฺญํ  วา  กิญฺจิ  ขาทนียํ  นทีปุลิเน  ขตกูปกสลิลํ  วิย  ปริกฺขยํ  อคจฺฉนฺโตว  เตเมตุํ  สมตฺโถ  โหติ.

ข้าวเม่า ข้าวสาร หรือของขบเคี้ยวอะไรๆ ที่ใส่เข้าไปในปาก เขฬะสามารถทำให้เปียกชุ่มได้ไม่รู้จักสิ้นไปเลย อุปมาดังน้ำบ่อน้อยที่ขุดไว้ที่หาดทรายกระนั้น

(คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 2 อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส หน้า 48)

ในบทสวด “พระอาการสามสิบสอง” กล่าวถึง “เขโฬ” ไว้ดังนี้ –

๏ เขโฬน้ำลาย……ในปากมากมาย……ฟูมแก้มทั้งสอง

อาหารเข้าไป……..ไหลออกรับรอง……ข้าวน้ำทั้งผอง

น้ำลายปนกัน๚ะ๛

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทรัพย์สมบัติสำหรับปุถุชน คือสิ่งสำคัญยิ่งล้นค่าอมตะ

: ทรัพย์สมบัติสำหรับพระอริยะ คือก้อนเขฬะที่ปลายลิ้น

—————-

(ตามคำอาราธนาของคุณครูอนันต์ นาควิจิตร)

ภาพประกอบ: จาก google

ควรตามไปดูคำว่า “อาการ 32” ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ด้วย:

#บาลีวันละคำ (2,051)

23-1-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย