บาลีวันละคำ

มัตตัญญู – มัตตัญญุตา (บาลีวันละคำ 1,908)

มัตตัญญูมัตตัญญุตา

หาคำ ไม่ยากเหมือนหาคน

อ่านว่า มัด-ตัน-ยู มัด-ตัน-ยุ-ตา

(๑) “มัตตัญญู

บาลีเขียน “มตฺตญฺญู” (มัด-ตัน-ยู) รากศัพท์มาจาก มตฺต + ญู

(ก) “มตฺต” (มัด-ตะ, เป็น “มตฺตา” ก็มี) รากศัพท์มาจาก มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย, รัสสะ ( = ทำให้เสียงสั้น) อา (ที่ มา) เป็น อะ (มา > ), ซ้อน

: มา > + + = มตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากำหนด” มีความหมายว่า –

(1) ประกอบด้วย, วัดหรือนับได้, ประมาณ (consisting of, measured, measuring)

(2) มากถึง, มากเท่านั้น, เพียงพอ (as much as, so much, some, enough of)

(3) เหมือน, เหมือนเช่น, สิ่งที่เรียกว่า, อาจพูดได้ว่า (like, just as what is called, one may say)

(4) มาตร, ปริมาณหรือจำนวน, ปริมาณที่ถูกต้อง, ความพอดี (measure, quantity, right measure, moderation)

(ข) มตฺต + ญา (ธาตุ = รู้) + รู ปัจจัย, ซ้อน ญฺ, ลบสระที่สุดธาตุ (ญา > ) และลบ ที่ รู (รู > อู)

: มตฺต + ญฺ + ญา = มตฺตญฺญา > มตฺตญฺญ + รู > อู : มตฺตญฺญ + อู = มตฺตญฺญู แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ความพอดี” หมายถึง รู้จักปริมาตรที่ถูก, รู้จักประมาณหรือความพอควร, รู้จักยับยั้ง (knowing the right measure, moderate, temperate)

มตฺตญฺญู” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “มัตตัญญู

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัตตัญญู : (คำนาม) ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).”

(๒) “มัตตัญญุตา

บาลีเขียน “มตฺตญฺญุตา” (มัด-ตัน-ยุ-ตา) รากศัพท์มาจาก “มตฺตญฺญู” นั่นเอง โดยลง “ตา” ปัจจัยเข้าข้างท้ายแล้วรัสสะ อู ที่ (มตฺตญฺ)-ญู เป็น อุ (มตฺตญฺญู > มตฺตญฺญุ)

ตา” ปัจจัยที่ลงท้ายศัพท์ แปลว่า “ความเป็น–” เทียบกับภาษาอังกฤษก็คล้ายกับ -ness -ation หรือ -ity นั่นเอง

: มตฺตญฺญู + ตา = มตฺตญฺญูตา > มตฺตญฺญุตา แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นผู้รู้ความพอดี” หมายถึง ความรู้จักประมาณ (moderation)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “มัตตัญญุตา” ไว้ว่า –

มัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควรเป็นต้น.”

…………..

คำที่คนไทยพูดกันทั่วไปว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อันเป็นพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้น นักเรียนบาลีในเมืองไทยเห็นพ้องต้องกันว่า ถ้าแปลเป็นภาษาบาลีก็ตรงกับคำว่า “มัตตัญญูมัตตัญญุตา” นี่เอง

ข้อสังเกต :

มัตตัญญูมัตตัญญุตา เทียบคำได้กับ กตัญญูกตัญญุตา

กตัญญูกตัญญุตา มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ทั้ง 2 คำ

แต่ มัตตัญญูมัตตัญญุตา พจนานุกรมฯ เก็บไว้เฉพาะ “มัตตัญญู” แต่ไม่ได้เก็บ “มัตตัญญุตา

ในพจนานุกรมฯ หาคำว่า “มัตตัญญุตา” ไม่เจอ ฉันใด

ในสังคมไทยก็หาคนที่รู้จักพอไม่เจอ ฉันนั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ต่อให้มีความรู้จนล้นคอ

: ถ้าไม่รู้จักพอ ก็คือยังไม่รู้อะไรเลย

30-8-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย