บาลีวันละคำ

เขาวงกต (บาลีวันละคำ 2,065)

เขาวงกต

อ่านว่า เขา-วง-กด

คำบาลีคือ “วงกต” เขียนแบบบาลีเป็น “วงฺกต” (มีจุดใต้ ) อ่านว่า วัง-กะ-ตะ รากศัพท์มาจาก วงฺก + ปัจจัย

(๑) “วงฺก” (วัง-กะ)

รากศัพท์มาจาก วงฺกฺ (ธาตุ = คด, งอ) + ปัจจัย

: วงฺกฺ + = วงฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่คด

วงฺก” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

เป็นคำนาม:

(1) ส่วนงอ, ซอก, ส่วนโค้ง (a bend, nook, curve )

(2) ตะขอ (a hook)

(3) เบ็ด (a fish-hook)

เป็นคุณศัพท์:

(1) (ใช้ตรงๆ) คด, งอ, โค้ง, คดเคี้ยว (crooked, bent, curved)

(2) (ใช้ในเชิงอุปมา) คด, โกง, ไม่ซื่อสัตย์ (crooked, deceitful, dishonest)

(3) สงสัย, คดโกง, หลอกลวง, หลอกหลอน (doubtful, deceitful, deceptive, haunted)

(๒) วงฺก + ปัจจัย

: วงฺกฺ + = วงฺกต แปลตามศัพท์ว่า “ภูเขาที่มีสัณฐานคด” (คือวกวน)

วงฺกต” (วัง-กะ-ตะ) ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์เป็น “วงกต” (วง-กด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วงกต : (คำนาม) ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).”

แถม :

พจนานุกรมสอ เสถบุตร แปลคำว่า “เขาวงกต” เป็นอังกฤษว่า maze และบอกว่าคำที่มีความหมายตรงกันอีกคำหนึ่งคือ labyrinth (1. เขาวงกต, สิ่งใดที่คดเคี้ยววกเวียน 2. ความยุ่งยาก)

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล maze เป็นบาลีดังนี้ –

(1) duggamagga ทุคฺคมคฺค (ทุก-คะ-มัก-คะ) = ทางที่เดินลำบาก

(2) gahanaṭṭhāna คหนฏฺฐาน (คะ-หะ-นัด-ถา-นะ) = สถานที่รกเรี้ยว

(3) vaṅkatta วงฺกตฺต (วัง-กัด-ตะ) = ภาวะที่คดโค้ง

(4) visamatta วิสมตฺต (วิ-สะ-มัด-ตะ) = ภาวะที่ไม่ราบรื่น

(5) saṃsaya สํสย (สัง-สะ-ยะ) = ความสงสัย

(6) sandeha สนฺเทห (สัน-เท-หะ) = ความฉงนฉงาย

และแปล labyrinth เป็นบาลีดังนี้ –

(1) dunniggamaṭṭhāna ทุนฺนิคฺคมฏฺฐาน (ทุน-นิก-คะ-มัด-ถา-นะ) = สถานที่ซึ่งยากที่จะลงความเห็นว่าจะไปทางไหนดี

(2) kaṇṇacchidda กณฺณจฺฉิทฺท (กัน-นัด-ฉิด-ทะ) = ช่องหรือโพรงที่เป็นมุมหักศอก

(3) vyākulatta วฺยากุลตฺต (เวีย-กุ-ลัด-ตะ) = ภาวะที่ทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์

อภิปราย :

ในบาลีมหาเวสสันดรชาดกมีคำว่า “วงฺกตปพฺพโต” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เขาวงกต” แต่ไม่มีรายละเอียดอธิบายว่าเขาวงกตมีทางเข้าออกวกวนอย่างไร

คำพรรณนาเส้นทางที่บรรยายไว้ในกัณฑ์หิมพานต์ จุลพน และมหาพน ก็ไม่ได้เอ่ยถึงเขาวงกต และไม่มีถ้อยคำที่แสดงว่าการเดินทางจากเมืองไปยังเขาวงกตต้องวกเวียนอย่างไร

แต่เราก็พูดกันและรู้สึกกันมานานแล้วว่าเขาวงกตในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกมีทางเข้าออกวกวนอาจทําให้หลงทางได้ ดังที่พจนานุกรมฯ ว่าไว้ จึงน่าสงสัยว่าเราไปเอาภาพเขาวงกตที่มีทางเข้าออกวกวนมาจากไหน

ถ้าใครค้นเรื่องเขาวงกตตามสื่อออนไลน์เวลานี้จะพบว่า “เขาวงกต” ที่บอกเล่ากล่าวถึงกันมักอ้างอิงไปที่เทพนิยายกรีกของฝรั่งทั้งนั้น

เราเอาคำว่า “เขาวงกต” (วงฺกตปพฺพโต) ซึ่งเป็นคำบาลีจากมหาเวสสันดรชาดกมาเรียกขาน แต่แทบจะไม่มีใครอ้างอิงถึงเขาวงกตในมหาเวสสันดรชาดกเลย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เขาวงกต

: ไม่คดเท่าใจคน

#บาลีวันละคำ (2,065)

6-2-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย