บาลีวันละคำ

โลหปราสาท (บาลีวันละคำ 2,071)

โลหปราสาท

อ่านว่า โล-หะ-ปฺรา-สาด

ประกอบด้วยคำว่า โลห + ปราสาท

(๑) “โลห

บาลีอ่านว่า โล-หะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ลุ เป็น โอ (ลุ > โล)

: ลุ + = ลุห > โลห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องตัด

(2) ลุ (ตัดมาจากคำว่า “ลุนนฺต” = ตัด) + หา (ธาตุ = สละ, ทิ้ง) + ปัจจัย, ใช้สูตร “ลบสระหน้า” หรือ “ลบสระที่สุดธาตุ” คือลบ อา ที่ หา (หา > ), แผลง อุ ที่ ลุ เป็น โอ (ลุ > โล)

: ลุ + หา = ลุหา > ลุห + = ลุห > โลห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ผู้ตัดผละทิ้งไป” (คือตัดไม่ขาดจนต้องทิ้ง)

โลห” (ปุงลิงค์) หมายถึง โลหะ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งทองแดง, ทองเหลืองหรือทองสัมฤทธิ์ (metal, esp. copper, brass or bronze)

(๒) “ปราสาท

บาลีเป็น “ปาสาท” (ปา-สา-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สทฺ (ธาตุ = แผ่ไป, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ปา), ทีฆะ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (สทฺ > สาท)

: + สทฺ = ปสทฺ + = ปสทณ > ปสท > ปาสท > ปาสาท แปลตามศัพท์ว่า “อาคารเป็นที่ยินดีแห่งตาและใจ

(2) ปสาท (ความยินดี) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(สาท) เป็น อา (ปสาท > ปาสาท)

: ปสาท + = ปสาทณ > ปสาท > ปาสาท แปลตามศัพท์ว่า “อาคารที่ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น

ปาสาท” นักเรียนบาลีแปลทับศัพท์เป็นรูปสันสกฤตว่า ปราสาท

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปาสาท” ว่า a lofty plat-form, a building on high foundations, a terrace, palace (แท่นหรือชานหรือยกพื้นสูง, สิ่งก่อสร้างที่มีฐานสูง, อาคารเป็นชั้นๆ, วัง)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺราสาท : (คำนาม) ‘ปราสาท,’ วิหาร; มนเทียร, พระราชวัง; a temple; a palace, a building inhabited by a prince or king.”

ปาสาท” ใช้ในภาษาไทยตามรูปสันสกฤตเป็น “ปราสาท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปราสาท : (คำนาม) เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปฺราสาท; ป. ปาสาท).”

โลห + ปาสาท = โลหปาสาท (โล-หะ-ปา-สา-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “ปราสาทอันสำเร็จด้วยโลหะ” หรือ “ปราสาทอันมุงด้วยโลหะ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความคำว่า “โลหปาสาท” ไว้ว่า “copper terrace,” brazen palace, N. of a famous monastery at Anurādhapura in Ceylon (“โลหปราสาท”, ปราสาททองแดง, ชื่อของวัดที่มีชื่อเสียงในเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา)

โลหปาสาท” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “โลหปราสาท

ขยายความ :

ว่ากันว่า “โลหปราสาท” เท่าที่มีประวัติปรากฏอยู่ มีเพียง 3 แห่งในโลก คือ –

๑ โลหปราสาทหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นผู้สร้าง เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ

๒ โลหปราสาทหลังที่ 2 สร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช 382 พระเจ้าทุฏฐคามณีกษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกาเป็นผู้สร้าง เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง

๓ โลหปราสาทหลังที่ 3 อยู่ที่วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2394 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หมายเหตุ :

ในเอกสารที่พบ รวมทั้งที่ “โลหปราสาท” ที่วัดราชนัดดารามในกรุงเทพฯ สะกดคำนี้เป็น “โลหะปราสาท” คือมีสระ อะ (ภาษาวิชาการว่า ประวิสรรชนีย์) หลังคำว่า โลห

โลหปราสาท” เป็นคำสมาสระหว่าง “โลห” กับ “ปราสาท” (โลห + ปราสาท) ตามหลักภาษาห้ามประวิสรรชนีย์กลางคำ เช่น สาธารณ + สุข สะกด “สาธารณสุข” ไม่ใช่  “สาธารณะสุข

ดังนั้น โลห + ปราสาท จึงต้องสะกดเป็น “โลหปราสาท” ไม่ใช่ “โลหะปราสาท

คำเทียบที่คล้ายกันคือ โลห + กุมภี สะกดเป็น “โลหกุมภี” (ชื่อนรกขุมหนึ่ง) ไม่ใช่ “โลหะกุมภี

คำว่า “โลหปราสาท” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

เศรษฐีในโลกนี้ท่านว่ามี 2 จำพวก

เศรษฐีโลหปราสาท : ขายสมบัติส่วนตัวเอาไปสร้างปราสาทถวายวัด

เศรษฐีโลหกุมภี : รับซื้อสมบัติที่ขโมยจากวัดเอาไปจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว

#บาลีวันละคำ (2,071)

12-2-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย