บาลีวันละคำ

นาฏศิลปิน (บาลีวันละคำ 1,928)

นาฏศิลปิน

อ่านว่า นาด-ตะ-สิน-ละ-ปิน

ประกอบด้วย นาฏ + ศิลปิน

(๑) “นาฏ

บาลีอ่านว่า นา-ตะ รากศัพท์มาจาก นฏฺ (ธาตุ = ฟ้อนรำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ฏฺ) เป็น อา (นฏฺ > นาฏ)

: นฏฺ + = นฏณ > นฏ > นาฏ แปลตามศัพท์ว่า “การฟ้อนรำ

มีคำขยายความว่า –

นจฺจํ  วาทิตํ  คีตํ  อิติ  อิทํ  ตูริยตฺติกํ นาฏนาเมนุจฺจเต = การดนตรี 3 ประการนี้ คือ การฟ้อนรำ การบรรเลง การขับร้อง เรียกโดยชื่อว่า นาฏะ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาฏ, นาฏ– : (คำนาม) นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับคําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.).”

นาฏ” ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาฏ : (คำนาม) การฟ้อนรำ, การเต้นรำ, การเล่น (เช่นลครเปนอาทิ); แคว้นกรรณาฏ; dancing, acting; the Carnatic.”

ในบาลีมีคำว่า “นาฏก” (นา-ตะ-กะ) อีกคำหนึ่ง หมายถึง –

(1) นักฟ้อน, นักแสดง, ตัวละคร (a dancer, actor, player)

(2) ละคร, ละครจำพวกออกท่าทาง แต่ไม่เจรจา (a play, pantomime)

นาฏก” ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาฏก : (คำนาม) ผู้แสดงบทลคร, ตัวลคร, ผู้เล่น; การแสดง (หรือเล่นลคร), การฟ้อนรำ; การเล่น, ลคร; เทพสภาหรือเทพสถานของพระอินทร์; a actor, acting, dancing; a play, a drama; the court of Indra.”

(๒) “ศิลปิน

เป็นรูปคำสันสกฤต “ศิลฺปินฺ” บาลีเป็น “สิปฺปี” (สิบ-ปี) รูปคำเดิมมาจาก สิปฺป + อี ปัจจัย

(ก) “สิปฺป” รากศัพท์มาจาก –

(1) สปฺปฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมต้นธาตุ (สปฺป > สิปฺป)

: สปฺป > สิปฺป + = สิปฺป + อี = สิปฺปี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีเครื่องดำเนินไปแห่งชีวิต” = อาศัย “สิ่งนั้น” จึงเลี้ยงชีวิต คือทำชีวิตให้ดำเนินไปได้

(2) สิ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ซ้อน ปฺ

: สิ + ปฺ + = สิปฺป แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ปรารถนาประโยชน์แห่งตนเสพอาศัย” = ถ้าต้องการประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้ “สิ่งนั้น” จนทำได้ทำเป็น แล้วใช้สิ่งนั้นยังประโยชน์ให้เกิดตามต้องการ

สิปฺป” หมายถึง ศิลปะ, แขนงของความรู้, การช่าง (art, branch of knowledge, craft)

สิปฺป ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น ศิลป

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศิลป-, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : (คำนาม) ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).”

(ข) สิปฺป + อี = สิปฺปี (สิบ-ปี) แปลว่า (1) “ผู้มีเครื่องดำเนินไปแห่งชีวิต” (2) “ผู้มีสิ่งอันผู้ปรารถนาประโยชน์แห่งตนเสพอาศัย” หมายถึง ผู้มีศิลปะ, ผู้มีความรู้ความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งถึงขั้นปฏิบัติการในเรื่องนั้นๆ ได้

บาลี “สิปฺปี” สันสกฤตเป็น “ศิลฺปินฺ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศิลฺปินฺ : (คำนาม) ‘ศิลปิน,’ ช่าง; an artist, an artisan;- (คำวิเศษณ์) อันเกี่ยวกับยันตรกลาหรือวิชาช่าง; belonging to mechanical art.”

การประสมคำ :

นาฏ + สิปฺปี = นาฏสิปฺปี > นาฏศิลปิน แปลเอาความตามศัพท์ในบาลีว่า “ผู้มีความรู้ความสามารถในการฟ้อนรำขับร้องบรรเลงดนตรี

…………..

อภิปราย :

คำว่า “นาฏศิลปิน” อาจแยกศัพท์ได้อีกแบบหนึ่ง คือ

(ก) นาฏ + สิปฺป = นาฏสิปฺป เขียนแบบไทยอิงสันสกฤตเป็น “นาฏศิลป์” (นาด-ตะ-สิน) แปลเอาความตามศัพท์ในบาลีว่า “ความรู้ความสามารถในการฟ้อนรำขับร้องบรรเลงดนตรี

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้สั้นๆ ว่า –

นาฏศิลป์ : (คำนาม) ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).”

(ข) นาฏสิปฺป + อี ปัจจัย = นาฏสิปฺปี เขียนแบบไทยอิงสันสกฤตเป็น “นาฏศิลปิน” แปลว่า “ผู้มีความรู้ความสามารถในการฟ้อนรำขับร้องบรรเลงดนตรี

กล่าวอีกนัยหนึ่ง “นาฏศิลปิน” อาจแยกเล่นๆ เป็น “นาฏศิลป์” คำหนึ่ง “ศิลปิน” อีกคำหนึ่ง (ดูความหมายตามพจนานุกรมฯ ข้างต้น)

นาฏศิลป์ รวมกับ ศิลปิน ได้คำใหม่เป็น “นาฏศิลปิน

คำว่า “นาฏศิลปิน” ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้จะไม่ได้เป็นนาฏศิลปิน

: ก็ทำความดีฝากไว้ในแผ่นดินเป็นราชสักการะได้ทุกคน

—————

ที่มาของคำและภาพ: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ข่าว-นาฏศิลปินร่วมฝึกซ้อมมหรสพงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 ที่วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตศิลป์ ศาลายา

19-9-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย