บาลีวันละคำ

ฉกษัตริย์ [2] (บาลีวันละคำ 2084)

ฉกษัตริย์ [2]

กัณฑ์ที่ 12 ในมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์

อ่านว่า ฉ้อ-กะ-สัด หรือ ฉอ-กะ-สัด ก็ได้

ประกอบด้วย + กษัตริย์

(๑) “

ภาษาบาลีออกเสียงว่า ฉะ แปลว่า หก (จำนวน 6)

(๒) “กษัตริย์

บาลีเป็น “ขตฺติย” อ่านว่า ขัด-ติ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ขตฺต (ขัด-ตะ = ผู้ป้องกันเขตแคว้น) + อิย ปัจจัย ( = ผู้เกิด, ผู้เป็นเชื้อสาย)

: ขตฺต + อิย = ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดในตระกูลของผู้ป้องกันเขตแคว้น

(2) เขตฺต (เขด-ตะ = นา) + อิย ปัจจัย ( = ผู้เป็นใหญ่), ลบ เอ ที่ เขตฺต (เขตฺต > ขตฺต)

: เขตฺต + อิย = เขตฺติย > ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเจ้าของนา” “ผู้เป็นใหญ่ของพวกชาวนา

ขตฺติย” สันสกฤตเป็น “กฺษตฺริย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

กฺษตฺริย : (คำนาม)  ‘กษัตริย,’ นรหรือสตรีชาตินักรบ; a man or woman of the military tribe.”

บาลี “ขตฺติย” ภาษาไทยเขียนตามรูปสันสกฤตเป็น “กษัตริย์” (กะ-สัด)

คำนี้มีปฐมเหตุจากการตั้งชุมชนของมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ที่ต้องอาศัยพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก เมื่อถูกมนุษย์พวกอื่นรบกวน ต้องมีคนที่คอยป้องกันเพื่อให้ชุมชนเพาะปลูกได้อย่างปลอดภัย

จึงเรียกคนที่ทำหน้าที่ป้องกันนี้ว่า “ขตฺติยกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งนา” ในความหมายดั้งเดิมคือ “ผู้ทำหน้าที่ปกป้องที่นาให้พ้นจากการรุกราน เพื่อให้คนอื่นๆ ทำนาได้อย่างสะดวกปลอดภัย”

ในการทำหน้าที่ปกป้องนี้ย่อมหลีกไม่พ้นที่จะต้องต่อสู้กับศัตรู ดังนั้น “ขตฺติยกษัตริย์” จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “สายเลือดนักรบ

ในภาษาบาลี ผู้ที่ถูกเรียกว่า “ขตฺติย” ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (the king) เสมอไป ถ้าเทียบในภาษาไทย “ขตฺติย” ก็ตรงกับคำที่เราเรียกท่านผู้กำเนิดในสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า “เจ้านาย” นั่นเอง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กษัตริย-, กษัตริย์ : (ราชาศัพท์) (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย).”

+ ขตฺติย ในภาษาบาลีท่านให้ซ้อน กฺ ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นวรรคของพยัญชนะต้นของคำหลัง

(พยัญชนะต้นของคำหลังคือ “” พยัญชนะต้นวรรคของ คือ “” :         )

: + กฺ + ขตฺติย = ฉกฺขตฺติย (ฉัก-ขัด-ติ-ยะ) แปลว่า กษัตริย์หกพระองค์ หรือ เจ้านายทั้งหก

ฉกฺขตฺติย” ในภาษาไทยเขียน “ฉกษัตริย์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฉกษัตริย์ : (คำนาม) กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ.”

กษัตริย์หกพระองค์ หรือเจ้านายทั้งหกตามชื่อนี้ ก็คือ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี ชาลีกุมาร และกัณหา

ดูเพิ่มเติม: “ฉกษัตริย์ [1]” บาลีวันละคำ (1,394) 26-3-59

ขยายความ :

ฉกษัตริย์” เป็นชื่อกัณฑ์ที่ 12 ของมหาเวสสันดรชาดก

ในคัมภีร์ชาดก (พระไตรปิฎกเล่ม 28 ข้อ 1241-1256 หน้า 444-448) เรียกชื่อกัณฑ์นี้ว่า “ฉกฺขตฺติยปพฺพํ” (ดูภาพประกอบ) ภาษาไทยใช้ว่า “ฉกษัตริย์

เรื่องราวในกัณฑ์ “ฉกษัตริย์” ว่าด้วยพระเวสสันดรได้ยินเสียงอึกทึกกึกก้องของกระบวนทัพที่พระเจ้ากรุงสญชัยยกออกมา ทรงตกพระทัยว่าปัจจามิตรจะมาจับพระองค์ จึงชวนพระนางมัทรีเสด็จขึ้นเนินเขา พระนางกราบทูลว่าเป็นทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยเสด็จมารับสมตามที่ท้าวสักกเทวราชประทานพร

เมื่อหกกษัตริย์พร้อมกันที่พระอาศรม ต่างก็ทรงโศกสลดที่พลัดพรากจากกัน จนถึงวิสัญญีภาพ พระอินทร์ก็บันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาในมหาสมาคมนั้นทำให้ทุกพระองค์ฟื้นคืนสมปฤดี แล้วบรรดาโยธาแสนยากรก็ทูลเชิญเสด็จกลับพระนคร

ข้อสังเกต :

คนที่ฟังเทศน์มหาชาติมักจะลืมไปว่า มหาเวสสันดรชาดกนั้นมีต้นเหตุมาจากฝนโบกขรพรรษ กล่าวคือ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรดพระญาติวงศ์เป็นครั้งแรก หมู่พระญาติมีขัตติยมานะขาดคารวธรรม พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์กำราบทิฐิมานะลงได้ ในท้ายแห่งปาฏิหาริย์ ฝนโบกขรพรรษได้ตกลงมาในมหาสมาคมแห่งพระญาติ

ภิกษุทั้งหลายนำเหตุการณ์ฝนโบกขรพรรษตกไปสนทนากันด้วยความอัศจรรย์ใจ พระพุทธองค์ตรัสว่า มิใช่แต่ในกาลบัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตชาติฝนโบกขรพรรษเช่นนี้ก็ได้เคยตกลงมาในมหาสมาคมแห่งพระญาติเช่นกัน แล้วจึงตรัสมหาเวสสันดรชาดก

ในมหาเวสสันดรชาดกนั้น เหตุการณ์ที่ฝนโบกขรพรรษตกก็คือตอนที่หกกษัตริย์ได้มาพบกันพร้อมหน้าในกัณฑ์ “ฉกษัตริย์” นี่แล

……..

กัณฑ์ที่ 12 ฉกฺขตฺติยปพฺพํ 36 พระคาถา

เพลงประจำกัณฑ์: เพลงตระนอน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทั้งคนทั้งของที่รัก มีวันจากเราไป

: แต่บุญกรรมอยู่ในใจ ไม่มีวันไปจากเรา

#บาลีวันละคำ (2,084)

25-2-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย