บาลีวันละคำ

อมิตตดา (บาลีวันละคำ 2,086)

อมิตตดา

ผู้ทำให้ชายร้อนรัก

(คำในชุดนามานุกรมเวสสันดรชาดก)

อ่านว่า อะ-มิด-ตะ-ดา

อมิตตดา” เป็นชื่อสตรีคนหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดก ชื่อเต็มในบาลีว่า “อมิตฺตตาปนา” (อะ-มิด-ตะ-ตา-ปะ-นา)

นัยหนึ่ง แยกศัพท์เป็น อมิตฺต + ตาปนา

(๑) “อมิตฺต” (อะ-มิด-ตะ)

รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + มิตฺต

(ก) “มิตฺต

บาลีอ่านว่า มิด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (มิ)-ทฺ เป็น ตฺ (มิทฺ > มิต)

: มิทฺ + = มิทต > มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้รักใคร่กัน” คือต่างคนต่างรู้สึกรักใคร่มีไมตรีต่อกัน

(๒) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” คือมีลักษณะชวนให้คนอื่นรักโดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันได้รู้จักผู้ที่มารักตนนั่นเลยด้วยซ้ำ

(2) มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + ตฺ + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ควรแก่การที่จะใส่ความลับเข้าไป” คือคนที่เพื่อนสามารถบอกความลับให้รู้ได้ทุกเรื่อง

บางคนเป็นเพื่อนกันก็จริง แต่เพื่อนไม่กล้าบอกความลับ หรือบอกก็บอกได้บางเรื่อง บอกทุกเรื่องไม่ได้ เพราะไม่ไว้ใจว่าจะเก็บความลับได้

(๒) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” คือคนที่เก็บความลับของเพื่อนไว้ได้ (เก็บไว้เพื่อปกป้องและช่วยแก้ไขให้เพื่อน มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายเพื่อน)

เพื่อนบางคนเก็บความลับของเพื่อนไม่อยู่ หรือเก็บได้ในยามปกติ แต่ถ้าถูกหลอกล่อหรือถูกบีบคั้นก็เก็บไม่อยู่

มิตฺต” (ปุงลิงค์) หมายถึง เพื่อน (friend) บางครั้งใช้เป็นนปุงสกลิงค์ หมายถึง “ความเป็นเพื่อน” (friendship)

(ข) + มิตฺต แปลง (นะ) เป็น (อะ) ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน– เช่น –

: + อาคต : > อน + อาคต = อนาคต ภาษาไทยทับศัพท์ว่า อนาคต 

ในที่นี้ “มิตฺต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

: + มิตฺต = นมิตฺต > อมิตฺต แปลว่า “ผู้มิใช่มิตร” หรือทับศัพท์ว่า “อมิตร” คือ ศัตรู

(๒) “ตาปนา

บาลีอ่านว่า ตา-ปะ-นา รากศัพท์มาจาก ตปฺ (ธาตุ = เดือดร้อน, เร่าร้อน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(ปฺ) เป็น อา (ตปฺ > ตาป) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

: ตปฺ + ยุ > อน = ตปน > ตาปน + อา = ตาปนา แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำให้เดือดร้อน” “ผู้ทำให้เร่าร้อน

อมิตฺต + ตาปนา = อมิตฺตตาปนา แปลว่า “หญิงผู้ทำให้ศัตรูเดือดร้อน

อีกนัยหนึ่ง “อมิตฺตตาปนา” แยกศัพท์เป็น (ไม่, ไม่ใช่) + มิตฺตตาปนา (ผู้ทำให้มิตรเดือดร้อน)

: > + มิตฺตตาปนา = อมิตฺตตาปนา แปลตามศัพท์ว่า “หญิงผู้ไม่ทำให้มิตรเดือดร้อน

อย่างไรก็ตาม ในเชิงวรรณคดี ชื่อ “อมิตฺตตาปนา” น่าจะมีความหมายว่า ผู้ทำใช้ชาย ( = อมิตร คือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับหญิง) เดือดร้อนหรือเร่าร้อนด้วยความสิเนหา คือ “ผู้ทำให้ชายร้อนรัก” อันเป็นชื่อที่แสดงว่ามีความงามอย่างยิ่ง

อมิตฺตตาปนา” ภาษาไทยใช้ว่า “อมิตตดา” (อะ-มิด-ตะ-ดา) เป็นธิดาของตระกูลพราหมณ์ พ่อแม่รับฝากทรัพย์จากชูชกไว้แล้วเอาทรัพย์ไปใช้จ่ายหมด ไม่มีใช้คืนให้ชูชก จึงยกนางให้เป็นการใช้หนี้

นางอมิตตดาปรนนิบัติชูชกเป็นอย่างดี ทำให้ผู้ชายในหมู่บ้านพากันตำหนิตีด่าภรรยาของตนที่ปรนนิบัติไม่ดีเหมือนนาง

พวกภรรยารุมกันด่าว่านางอมิตตดาจนออกนอกบ้านไม่ได้ นางจึงขอให้ชูชกไปขอชาลีกัณหามาเป็นคนรับใช้

คัมภีร์อรรถกถาเล่าว่าที่นางอมิตตดาบอกให้ชูชกไปขอสองกุมารนั้นเพราะ “เทวดาดลใจ” (สา เทวตาย วิคฺคหิตา หุตฺวา : ชาตกฏฺฐกถา ภาค 10 หน้า 470)

นักวิจารณ์ในเมืองไทยอธิบายว่า “เทวดา” ในที่นี้ก็คือชายหนุ่มคนใดคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้นที่หมายปองนางอมิตตดานั่นเองเป็นผู้วางแผนให้นางบอกให้ชูชกเดินทางไปเขาวงกต เพราะมั่นใจว่าชูชกอายุมากแล้ว เมื่อเดินทางไกลเข้าป่าคงจะรอดชีวิตกลับมาได้ยาก

เมื่อชูชกออกเดินทางไปแล้ว นางอมิตตดาจะได้อยู่ครองคู่กับ “เทวดา” สมปรารถนา

ปรากฏว่า ชูชกไปแล้วก็ไม่ได้กลับจริงๆ

แต่ในท้องเรื่องมหาเวสสันดรชาดกไม่ได้บอกเล่าถึงความเป็นไปในชีวิตของนางอมิตตดาอีกเลย

ในตอนกลับชาติ คัมภีร์บอกว่า นางอมิตตดากลับชาติมาเกิดเป็นนางจิญจมาณวิกา สาวงามผู้นับถือเดียรถีย์ รับอาสาแสดงบทบาทลวงมหาชนให้เข้าใจผิดว่าพระพุทธองค์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนาง แต่ความแตกถูกจับเท็จได้ (โปรดศึกษาประวัติของนางจิญจมาณวิกาต่อไป)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไฟรักทำให้ร้อนหัวอกในชาตินี้

: แต่ไฟนรกอเวจีร้อนไปชั่วกัปกัลป์พุทธันดร

—————–

(คำในชุดนี้ได้ความคิดจากคำถามของ วงษ์ชนะ สุรเชษฐ์)

#บาลีวันละคำ (2,086)

27-2-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย