บาลีวันละคำ

ธรรมวิภาค (บาลีวันละคำ 1,974)

ธรรมวิภาค

อ่านว่า ทำ-มะ-วิ-พาก

ประกอบด้วยคำว่า ธรรม + วิภาค

(๑) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายเน้นที่-คําสั่งสอนและหลักประพฤติปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

(๒) “วิภาค

บาลีอ่านว่า วิ-พา-คะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ภาชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: วิ + ภาชฺ = วิภาชฺ + = วิภาชณ > วิภาช > วิภาค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาแบ่งออกเป็นต่างๆ” หมายถึง การจำแนก, การแบ่ง; การจำแนกรายละเอียด, การจัดชั้น (distribution, division; detailing, classification)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิภาค : (คำนาม) การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).”

ธมฺม + วิภาค = ธมฺมวิภาค (ทำ-มะ-วิ-พา-คะ) > ธรรมวิภาค (ทำ-มะ-วิ-พาก) แปลว่า การจำแนกธรรม, การแบ่งธรรมออกเป็นส่วนๆ, การจัดแบ่งธรรมออกเป็นหมวด

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ไขความไว้ว่า –

ธรรมวิภาค : การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ.”

…………..

ขยายความ :

ธรรมวิภาค” ที่รู้จักกันในหมู่ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ “นวโกวาท” ซึ่งมีเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ

– ส่วนต้นเป็น “วินัยบัญญัติ” หรือศีลของภิกษุ

– ส่วนกลางเป็น “ธรรมวิภาค” คือธรรมที่แยกคัดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เช่นธรรมที่มี 2 ข้อย่อย รวมไว้หมวดหนึ่ง มี 3 ข้อย่อยรวมไว้หมวดหนึ่งเป็นต้น

– ส่วนหลังเป็น “คิหิปฏิบัติ” คือหลักปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์หรือชาวบ้านทั่วไป แสดงหลักธรรมที่ควรประพฤติ เช่น เรื่องทิศหก และที่ควรเว้น เช่น อบายมุข เป็นต้น

คำว่า “วิภาค” ถ้าฟังแต่เสียงแล้วให้สะกดเป็นคำ คนส่วนมากคงจะสะกดเป็น “วิพากย์” ซึ่งผิดทั้งคำและความหมาย

วิพากย์” – การันต์ แบบนี้ไม่มีในภาษาไทย

พากย์” – การันต์ ไม่มี วิ– แบบนี้มีใช้ในภาษาไทย แปลว่า คำพูด หรือพูดแทนผู้แสดงหรือพูดตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนังใหญ่ พากย์ภาพยนตร์

แต่ถ้าเป็น “วิพาก-” ต้อง ฤษี การันต์ สะกดเป็น “วิพากษ์” แปลว่า พิจารณาตัดสิน

ธรรมวิพากษ์” แม้จะแปลได้ความว่า พิจารณาตัดสินธรรม แต่ไม่ใช่ความหมายที่ต้องการในที่นี้

ในที่นี้ “ธรรมวิภาค” แปลว่า จำแนกธรรม หรือแบ่งธรรมออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แบ่งฝ่ายกันทำความดี

: ดีกว่าสามัคคีกันทำความชั่ว

#บาลีวันละคำ (1,974)

7-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย