บาลีวันละคำ

พาหุรัด พาหุรัต พาหุรัตน (บาลีวันละคำ 1,977)

พาหุรัด พาหุรัต พาหุรัตน

ควรสะกดอย่างไร

คำหลักคือ “พาหุ” (พา-หุ) รากศัพท์มาจาก วหฺ (ธาตุ = นำไป) + ณุ ปัจจัย, ลบ (ณุ > อุ), “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (วหฺ > วาห), แปลง เป็น

: วหฺ + ณุ = วหณุ (> วหอุ) > วหุ > วาหุ > พาหุ (ปุงลิงค์) (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องนำไป” หมายถึง แขน (the arm)

คำที่มีปัญหา คือที่ออกเสียงว่า “รัด” ควรจะสะกดอย่างไร

(๑) “รัด” (ด เด็ก สะกด)

เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัด : (คำกริยา) โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.”

(๒) “รัต” (ต เต่า สะกด)

บาลีเป็น “รตฺต” (รัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี, ชื่นชอบ) + ปัจจัย, ลบ ญฺช ท้ายธาตุ (รญฺช > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รญฺชฺ + ตฺ + )

: รญฺชฺ + ตฺ + = รญฺชตฺต > รตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องชื่นชอบแห่งผู้คน

รตฺต” (คุณศัพท์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ย้อม, ทำให้เป็นสี (dyed, coloured)

(2) สีแดง (red)

(3) กำหนัด, หลงใหล, เผ็ดร้อน, เร่าร้อน (excited, infatuated, impassioned)

รตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “รัต” (ตัดตัวสะกดออก)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัด : (คำกริยา)

(1) รัต ๑ : (คำกริยา) ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).

(2) รัต ๒, รัต– : (คำนาม) ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคํา เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือ เวลานาน. (คำวิเศษณ์) ย้อมสี, มีสีแดง; กําหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).

(๓) “รัตน

บาลีเป็น “รตน” (ระ-ตะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รติ (ความยินดี) + ตนฺ (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ติ ที่ รติ (รติ > )

: รติ + ตนฺ = รติตน + = รติตนณ > รติตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายความยินดี” คือเพิ่มความยินดีให้

(2) รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ตน ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: รมฺ + ตน = รมตน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้คน

(3) รติ (ความยินดี) + นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่ รติ (รติ > รต), ลบสระที่ธาตุ (นี > )

: รติ + นี = รตินี + = รตินี > รตนี > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำไปสู่ความยินดี

(4) รติ (ความยินดี) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ รติ เป็น ะ (รติ > รต), ลบ ต้นธาตุ (ชนฺ > )

: รติ + ชนฺ = รติชนฺ + = รติชน > รตชน > รตน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิดขึ้น

รตน > รัตน > รัตน์ ความหมายที่เข้าใจกันคือ แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง ถ้าใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี และบางทีก็หมายถึงเครื่องประดับที่ทำด้วยรัตนชาติ

…………..

อภิปราย :

๑ ถ้าเป็น พาหุ + รัด (ด เด็ก สะกด, คำไทย) = พาหุรัด ก็น่าจะหมดปัญหา เพราะคำนี้มีเก็บในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

พาหุรัด : (คำนาม) เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, ทองต้นแขน ก็เรียก.”

แต่ถ้าคำนี้ตัดมาจากพระนามของเจ้านายพระองค์หนึ่ง คือ “เจ้าฟ้าพาหุรั-มณีมัย” ก็ชวนให้สงสัยว่า ทำไมจึงมีคำไทยปนอยู่ในพระนามที่เป็นบาลีสันสกฤต

พาหุ มณี มัย ล้วนเป็นบาลี แต่ “รัด” เป็นคำไทย

ในราชกิจจานุเบกษารุ่นเก่าที่กล่าวถึงพระนามนี้ บางแห่งสะกดเป็น “พาหุรั” (-รัต เต่า) (ดูภาพประกอบ)

๒ ถ้าเป็น พาหุ + รัต (-รัต เต่า) = พาหุรัต จะต้องแปลรวมกับคำว่า “มณีมัย” คือเป็น “-รัตมณีมัย” แปลว่า “ทำด้วยแก้วมณีสีแดง” หรือ “ทำด้วยแก้วมณีอันเป็นที่น่าชื่นชม” ก็คือหมายถึงเครื่องประดับแขนที่ทำด้วยแก้วมณีนั่นเอง

๓ ถ้าเป็น พาหุ + รัตน = พาหุรัตน ต้องอ่านรวมกับคำหลังเป็น “พาหุรัตนมณีมัย” อ่านว่า พา-หุ-รัด-มะ-นี-ไม (-รัตน– อ่านว่า รัด)

ถ้าเป็น “พาหุรัตน” ก็แปลได้ว่า “เพชรพลอยที่เป็นเครื่องประดับแขน” เมื่อรวมกับ “มณีมัย” เป็น “พาหุรัตนมณีมัย” ก็แปลว่า “เพชรพลอยที่เป็นเครื่องประดับแขนซึ่งทำด้วยแก้วมณี

…………..

ที่อภิปรายมานี้เป็นแต่ชวนให้คิดกันเล่นๆ เท่านั้น ความจริงแล้วตัดสินได้ง่ายมาก เพราะคำว่า “พาหุรั-มณีมัย” เป็นพระนามเฉพาะ (ชื่อเฉพาะ) เอกสารหลักฐานที่เป็นทางราชการสะกดอย่างไร ก็ตัดสินตามนั้น ถ้อยคำภาษาจะอธิบายว่าอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะชื่อเฉพาะย่อมอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของภาษา ดังชื่อคนในปัจจุบันที่สะกดแปลกๆ ก็เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นกันอยู่

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แม้ชื่อเดียวอาจจะกลายเป็นหลายคำ

: ใจไม่จำจะต้องกลายเป็นหลายใจ

#บาลีวันละคำ (1,977)

10-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย