บาลีวันละคำ

สังฆภัณฑ์ (บาลีวันละคำ 1,985)

สังฆภัณฑ์

ของสงฆ์ตัวจริง

อ่านว่า สัง-คะ-พัน

ประกอบด้วยคำว่า สังฆ + ภัณฑ์

(๑) “สังฆ

บาลีเป็น “สงฺฆ” (สัง-คะ) รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น , แปลง หนฺ เป็น

: สํ > สงฺ + หนฺ > + = สงฺฆ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ

(2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้

สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า –

(1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)

(2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)

(3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)

สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ-”

สงฆ์” ในพระพุทธศาสนามีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) “สาวกสงฆ์” หมายถึงหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ได้บรรลุธรรมในภูมิอริยบุคคลคือเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ดังคำสวดในสังฆคุณที่ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

(2) “ภิกขุสงฆ์” หมายถึงชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย

บางทีเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมติสงฆ์

คำว่า “สงฆ์” ในภาษาไทย อาจหมายถึงภิกษุที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็ได้ หมายถึงภิกษุแต่ละรูปก็ได้

(๒) “ภัณฑ์

บาลีเป็น “ภณฺฑ” (พัน-ดะ) รากศัพท์มาจาก ภฑิ (ธาตุ = ห่อ, เก็บ) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (ภฑิ > ภํฑิ) แล้วแปลงเป็น , ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ + = ภณฺฑิก > ภณฺฑิ > ภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลพึงห่อเก็บ” เดิมหมายถึงสิ่งซึ่งสามารถห่อแล้วเก็บไว้ได้ ต่อมาความหมายขยายไปถึงสิ่งของทั่วไป

ภณฺฑ” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีหมายถึง

(1) ของค้าขาย; สินค้า, สิ่งของ, ทรัพย์สมบัติ (stock in trade; collectively goods, wares, property, possessions)

(2) เครื่องใช้, วัตถุ, เครื่องมือ (implement, article, instrument)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัณฑ-, ภัณฑ์ : (คำนาม) สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).”

สงฺฆ + ภณฺฑ = สงฺฆภณฺฑ (สัง-คะ-พัน-ดะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งของของสงฆ์

…………..

อภิปราย :

คำว่า “สงฺฆภณฺฑ” ในภาษาบาลีหมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีผู้ถวายไว้ในพระศาสนา ไม่ได้ถวายให้เป็นสมบัติส่วนตัวของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แต่ถวายไว้เป็นของกลางหรือของส่วนรวม มีทั้งครุภัณฑ์ คือถาวรวัตถุ เช่น กุฏิ วิหาร ที่ดิน และลหุภัณฑ์ คือของใช้ที่อาจเสื่อมหรือชำรุดสึกหรอไปตามสภาพ เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ เสื่อ หมอน เป็นต้น ของเหล่านี้คือที่เราเรียกรู้กันว่า “ของสงฆ์

ในภาษาไทย มีผู้เอาคำว่า “สงฺฆภณฺฑ” มาใช้เป็น “สังฆภัณฑ์” ใช้เป็นชื่อร้านค้าที่ขายบริขารของพระสงฆ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีผู้นิยมนำไปถวายพระ มักเรียกกันว่า ร้านสังฆภัณฑ์

โปรดสังเกตว่า –

สงฺฆภณฺฑ” ในภาษาบาลีเป็น “ของสงฆ์

แต่ “สังฆภัณฑ์” ในภาษาไทยเป็น “สินค้า

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน?

: อยากเป็นเปรต ให้เอาของสงฆ์ไปทำเป็นสินค้า

: อยากเป็นเทวดา ให้เอาสินค้าไปทำเป็นของสงฆ์

#บาลีวันละคำ (1,985)

18-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย