บาลีวันละคำ

พิสมัย (บาลีวันละคำ 2,134)

พิสมัย

คุ้นหน้า แต่ไม่รู้ว่ามาจากไหน

อ่านว่า พิด-สะ-ไหฺม

พิสมัย” เป็นรูปคำสันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “วิมฺหย

วิมฺหย” (วิ-ไม-หฺยะ หรือจะอ่านแบบไทยว่า วิม-หะ-ยะ ก็ได้) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + มหฺ (ธาตุ = บูชา) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ ที่ ณฺย (ณฺย > ) และ “ลบ อะ ที่ มฺ-(ห)” เพื่อทำให้ มฺ เป็นเหมือนตัวสะกด (มหฺ > มฺห)

: วิ + มหฺ = วิมหฺ + ณฺย = วิมหณฺย > วิมหย > วิมฺหย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ควรบูชาโดยพิเศษ” หมายถึง ความอัศจรรย์, ความประหลาด, ความไม่สมหวัง (astonishment, surprise, disappointment)

บาลี “วิมฺหย” สันสกฤตเป็น “วิสฺมย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

(สะกดตามต้นฉบับ)

วิสฺมย : (คำนาม) ‘วิสมัย, พิสมัย,’ ความปลาด, ความอัศจรรย์; อหังการ; ศงกา; ความสนเท่ห์; wonder, surprise; pride or arrogance; doubt, uncertainty.”

บาลี “วิมฺหย” สันสกฤต “วิสฺมย” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “พิสมัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิสมัย : (คำนาม) ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. (คำกริยา) รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. (คำวิเศษณ์) ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).”

อภิปราย :

พิสมัย” ในภาษาไทยเป็นทั้งคำนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์

แต่ที่ควรสังเกตก็คือ ความหมายในภาษาไทยออกจะเคลื่อนที่ไปมาก

โปรดเทียบดู :

บาลี : ความอัศจรรย์, ความประหลาด, ความไม่สมหวัง (astonishment, surprise, disappointment)

สันสกฤต : ความประหลาด, ความอัศจรรย์; อหังการ; ศงกา; ความสนเท่ห์ (wonder, surprise; pride or arrogance; doubt, uncertainty)

ไทย : ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม; รักใคร่หลงใหล; ควรชม

อธิบายแบบช่วยลากเข้าความก็คือ อะไรที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ( = ความหมายเดิม) เราก็จะสนใจใคร่รู้ อยากจะตามไปดูว่ามันคืออะไรอย่างไรกันแน่ อาการที่ใจไปจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นนั่นเองไทยเราจึงแปรความไปเป็น-ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม อันเป็นความหมายของ “พิสมัย” ในภาษาไทย

ข้อควรระวัง :

พิสมัย เสือ

ไม่ใช่ “พิศมัย ศาลา

ระวัง อย่าเขียนผิด

ยกเว้นชื่อเฉพาะ (proper name) จะใช้ หรือ ต้องแล้วแต่เจ้าของชื่อ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่มีอะไรน่าพิสมัย ถ้าหัวใจรู้ทัน

: ไม่มีอะไรน่าอัศจรรย์ ถ้ารู้ทันหัวใจ

#บาลีวันละคำ (2,134)

16-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *