บาลีวันละคำ

ไม่อนาทร (บาลีวันละคำ 2404)

ไม่อนาทร

อีกคำหนึ่งที่ผิดจนถูก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อนาทร” ไว้ ๒ คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) อนาทร ๑ : (คำนาม) ความไม่เอื้อเฟื้อ, ความไม่เอาใจใส่, ความไม่พะวง. (ป., ส.).

(2) อนาทร ๒ : (คำกริยา) เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่อนาทร อย่าอนาทร หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ.

ดูรูปศัพท์แล้วเห็นได้ชัดว่าเป็นคำเดียวกัน แต่ดูคำนิยามของพจนานุกรมฯ จะเห็นได้ว่าความหมายตรงกันข้าม

อนาทร ๑” ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เอาใจใส่ ไม่พะวง ก็คือไม่ทุกข์ไม่ร้อนด้วยนั่นเอง ตรงกันข้ามกับ “อนาทร ๒”

อนาทร ๒” เป็นทุกข์เป็นร้อน ร้อนอกร้อนใจ ก็คือตรงกันข้ามกับ “อนาทร ๑”

อนาทร ๑” พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำบาลีสันสกฤต

อนาทร ๒” พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่าเป็นภาษาอะไร แต่ก็เห็นได้ชัดว่า-ก็เป็นคำบาลีสันสกฤตเช่นเดียวกัน

ที่พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “อนาทร ๒” เป็นภาษาอะไรก็น่าจะเป็นเพราะความหมายของ “อนาทร ๒” ตรงกันข้ามกับความหมายตามรูปศัพท์ของบาลีสันสกฤตนั่นเอง

อนาทร” บาลีอ่านว่า อะ-นา-ทะ-ระ รากศัพท์มาจาก (นะ) + อาทร

(๑) “” (นะ)

เป็นศัพท์จำพวกที่เรียกว่า “นิบาต” ศัพท์จำพวกนี้ไม่แจกรูปด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ แต่อาจเปลี่ยนแปลงโดยหลักเกณฑ์อื่นได้

” แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี (no, not)

(๒) “อาทร

บาลีอ่านว่า อา-ทะ-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ทรฺ (ธาตุ = เอื้อเฟื้อ, เคารพ) + ปัจจัย

: อา + ทรฺ = อาทรฺ + = อาทร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความเอื้อเฟื้ออย่างยิ่ง” หมายถึง ความกลัวเกรง, ความคำนึงถึง, ความนับถือ, ความเอาใจใส่, ความเคารพ, เกียรติ (consideration of, esteem, regard, respect, reverence, honour)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาทร : (คำนาม) ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่, ความห่วงใย. (ป., ส.).”

+ อาทร แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ) ตามกฎการประสมคำที่ว่า ถ้าคำที่ “” ไปประสมขึ้นด้วยสระ ให้แปลง “” เป็น “อน

ในที่นี้ “อาทร” ขึ้นต้นด้วยสระ จึงต้องแปลง “” เป็น “อน

: > อน + อาทร = อนาทร แปลว่า “ความไม่เอื้อเฟื้อ

อนาทร” ในบาลี –

(1) เป็นคำนาม หมายถึง ความไม่นับถือ, การไม่เอาใจใส่, การไม่เคารพ (lack of reverence, disregard, disrespect)

(2) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ไม่มีความเคารพ(disrespectful)

อนาทร” ในภาษาไทย ความหมายตามพจนานุกรมฯ เป็นดังที่นำมาแสดงไว้ข้างต้น

อภิปราย :

เข้าใจว่าแต่เดิม เราคงจะเอาคำว่า “อนาทร” มาใช้ตามความหมายในบาลีสันสกฤตนั่นแหละ คือหมายถึง อย่ากังวล อย่าสนใจ อย่าเอาใจใส่ อย่าเป็นห่วง แต่เมื่อพูดคำศัพท์ว่า “อนาทร” ออกไปแล้ว เราก็เอาคำว่า “อย่า-” ในภาษาไทยเหน็บติดเข้าไปอีกด้วยว่า “อย่าอนาทร

พอพูดอย่างนี้ “อนาทร” เลยกลายความหมายเป็นว่า — เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ คือเป็นความหมายของ “อาทร” ก่อนที่แปลงรูปตามบาลีเป็น “อนาทร” นั่นเอง

เมื่อใช้กันอย่างนี้นานเข้า คนก็คุ้นกับความหมายแบบนี้ จนในที่สุด ผิดก็กลายเป็นถูก ดังที่พจนานุกรมฯ ก็บันทึกไว้เป็นหลักฐานปรากฏอยู่

แถม :

ควรทำความเข้าใจไว้เป็นกรอบความคิดว่า ความหมายของถ้อยคำภาษา จะใช้อย่างไร ย่อมเป็นไปตามที่หมู่ชนคือสังคมนั้นๆ กำหนด จะให้ผิดเป็นถูกหรือให้ถูกเป็นผิด ก็เป็นไปตามนั้น เป็นกรอบของ “ถูก-ผิด” ซึ่งแล้วแต่จะกำหนดกันขึ้น ข้อกำหนดนี้ที่เรารู้กันก็คือ ระเบียบ วินัย กฎหมาย เป็นต้น

มีกรอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกว่า กรอบของ “ดี-ชั่ว” กำหนดด้วยความคิด จิตสำนึก เหตุผล ความเชื่อ ความเข้าใจเอาเอง ว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ชั่ว กรอบนี้จะใช้ระเบียบ วินัย หรือกฎหมาย มาเป็นตัวตัดสินมิได้ สิ่งที่ “ถูก” ตามกฎหมาย อาจไม่ใช่สิ่งที่ “ดี” เสมอไป สิ่งที่ “ผิด” ตามกฎหมาย ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ “ชั่ว” เสมอไป

ยังมีกรอบอีกชั้นหนึ่ง เป็นชั้นสูงสุด อาจเรียกว่า กรอบของ “จริง-ไม่จริง” ชั้นนี้จะเอา “ถูก-ผิด” ตามกฎหมาย หรือ “ดี-ชั่ว” ตามความเข้าใจมาตัดสินไม่ได้เลย เพราะสิ่งที่กฎหมายกำหนด หรือสิ่งที่เป็นความเชื่อ อาจไม่ใช่ความจริง และไม่เป็นไปตามความเชื่อของใครเลย ดังนั้นจึงต้องตัดสินกันด้วย “ความเป็นจริง

ปัญหาอาจจะมีขึ้นว่า แล้วใครจะเป็นคนตัดสิน หรือจะใช้อะไรเป็นเครื่องตัดสินว่า อะไรจริง อะไรไม่จริง ตรงนี้แหละที่ผู้รู้ท่านบอกว่า เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องพยายามทำความเห็นหรือความเชื่อให้ตรงกับความจริง ไม่ใช่เกณฑ์ความจริงให้ตรงกับความเชื่อหรือความเห็น

ถ้าแยกกรอบตามที่กล่าวมานี้ให้ชัดเจน แล้วตัดสินเรื่องต่างๆ ให้ตรง ให้ถูกตามกรอบของเรื่องนั้นๆ เราก็จะไม่สับสน แต่จะจับประเด็นจับแนวทางได้ถูกต้อง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ข้อตกลงของมนุษย์ หลอกศาลได้

: แต่หลอกยมบาลไม่ได้

#บาลีวันละคำ (2,404)

11-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *