บาลีวันละคำ

สมมุติฐาน (บาลีวันละคำ 2,150)

สมมุติฐาน

อ่านว่า สม-มุด-ติ-ถาน

ประกอบด้วยคำว่า สมมุติ + ฐาน

(๑) “สมมุติ

บาลีเป็น “สมฺมุติ” อ่านว่า สำ-มุ-ติ รากศัพท์มาจาก สํ + มุติ

(ก) “สํ” (สัง) เป็นคำอุปสรรค (คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง) นักเรียนบาลีท่องจำกันมาว่า “สํ พร้อม, กับ, ดี” ใช้ในความหมายว่า พร้อมกัน, ร่วมกัน (together, altogether, the same, near by) และในบางบริบทมีความหมายว่า ดี (good)

(ข) “มุติ” รากศัพท์มาจาก –

(1) มุ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย

: มุ + ติ = มุติ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้

(2) มนฺ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(นฺ) เป็น อุ (มนฺ > มุน), ลบ ที่สุดธาตุ (มุนฺ > มุ)

: มนฺ > > มุ + ติ = มุติ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้

มุติ” หมายถึง จิตใจ, ความเห็น, ความคิด; การคิดถึง, ความอยาก, ความอยากได้หรือปรารถนา (mind, opinion, thought; thinking of, hankering after, love or wish for)

สํ + มุติ แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ)

: สํ > สมฺ + มุติ = สมฺมุติ แปลตามศัพท์ว่า “การรู้พร้อมกัน” คือ รับรู้ร่วมกัน, ยอมรับร่วมกัน

สมฺมุติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การยินยอม, การอนุญาต (consent, permission)

(2) การเลือก, การคัดเลือก, คณะผู้แทน (choice, selection, delegation)

(3) การกำหนด, การกำหนดหมาย [เขตแดน] (fixing, determination [of boundary])

(4) การยินยอมโดยทั่วๆ ไป, ความเห็นทั่วๆ ไป, ระเบียบแบบแผน, สิ่งที่ยอมรับทั่วๆ ไป (common consent, general opinion, convention, that which is generally accepted)

(5) ความคิดเห็น, คำสอน (opinion, doctrine)

(6) คำจำกัดความ, คำประกาศ, การแถลง (definition, declaration, statement)

(7) คำพูดที่นิยมกัน, เป็นเพียงชื่อหรือคำเท่านั้น (a popular expression, a mere name or word)

(8) ขนบประเพณี, เรื่องเก่า ๆ (tradition, lore)

คำว่า “สมฺมุติ” อาจมีรูปคำเป็น “สมฺมต” (สำ-มะ-ตะ) หรือ “สมฺมติ” (สำ-มะ-ติ) ได้อีก มีความหมายในทำนองเดียวกัน

สมมต, สมมติ, สมมุติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) (คำกริยา) รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมุติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง.

(2) (คำสันธาน) ต่างว่า, ถือเอาว่า เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก.

(3) (คำวิเศษณ์) ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมุติเทพ.

(๒) “ฐาน” (ถา-นะ) รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ฐา + ยุ > อน = ฐาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งแห่งผล

ฐาน” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สถานที่, เขตแคว้น, ตำบล, แหล่ง, ที่อาศัย, ส่วน (ของสิ่งใดๆ) (place, region, locality, abode, part)

(2) ภาวะ, สถานะ (state, condition)

สมมุติ + ฐาน = สมมุติฐาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งแห่งสิ่งที่รับรู้ร่วมกัน

สมมุติฐาน” เป็นคำที่ผูกขึ้นใช้ในภาษาไทย ยังไม่พบคำที่มีความเช่นนี้ในคัมภีร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมมติฐาน, สมมุติฐาน : (คำนาม) ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).”

สมมุติฐาน” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า hypothesis

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล hypothesis ว่า ข้อสมมุติ อันไม่ต้องพิสูจน์, สมมุติฐาน

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล hypothesis เป็นบาลีดังนี้ –

(1) saṅkappitattha สงฺกปฺปิตตฺถ (สัง-กับ-ปิ-ตัด-ถะ) = ข้อความที่คิดประมวลขึ้น

(2) anumāna อนุมาน (อะ-นุ-มา-นะ) = อนุมาน, การคาดคะเน

ข้อสังเกต :

โปรดสังเกตว่า คำนี้ พจนานุกรมฯ เก็บไว้ 2 คำ คือ “สมมติฐาน” (-ติ-) คำหนึ่ง และ “สมมุติฐาน” (-มุติ-) อีกคำหนึ่ง

สมมติฐาน” พจนานุกรมฯ บอกคำอ่านว่า สม-มด-ติ-ถาน (-มด-)

สมมุติฐาน” พจนานุกรมฯ บอกคำอ่านว่า สม-มุด-ติ-ถาน (-มุด-)

เท่าที่ฟังพูดกันทั่วไป เราจะได้ยินพูดกันว่า สม-มุด- ทั้งนั้น แทบจะไม่มีใครพูดว่า สม-มด-

อาจเป็นเพราะ สม-มุด- ออกเสียงง่ายกว่า สม-มด-

ในเชิงปรัชญา “สมมุติฐาน” หมายถึงเรื่องที่ยังไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ จึงต้องใช้วิธีคาดคะเนเอาว่า ถ้ามีข้อมูลว่าอย่างนี้ๆ ข้อเท็จจริงก็น่าจะเป็นอย่างนั้นๆ

ในทางธรรม มีแนวคิดว่า ไม่ว่าจะตั้งสมมุติฐานหลากหลายเลิศหรูสักเท่าไรๆ ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง ก็จะไม่มีทางเข้าถึงความจริงได้เลย

…………..

ดูก่อนภราดา!

เรื่องบุญบาป-นรกสวรรค์เป็นอาทิ

: ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือใครจะรอตั้งสมมุติฐาน

: ยมบาลท่านก็ไม่เคยคอยใคร

#บาลีวันละคำ (2,150)

2-5-61

สมมุติฐาน

อ่านว่า สม-มุด-ติ-ถาน

ประกอบด้วยคำว่า สมมุติ + ฐาน

(๑) “สมมุติ

บาลีเป็น “สมฺมุติ” อ่านว่า สำ-มุ-ติ รากศัพท์มาจาก สํ + มุติ

(ก) “สํ” (สัง) เป็นคำอุปสรรค (คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง) นักเรียนบาลีท่องจำกันมาว่า “สํ พร้อม, กับ, ดี” ใช้ในความหมายว่า พร้อมกัน, ร่วมกัน (together, altogether, the same, near by) และในบางบริบทมีความหมายว่า ดี (good)

(ข) “มุติ” รากศัพท์มาจาก –

(1) มุ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย

: มุ + ติ = มุติ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้

(2) มนฺ (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(นฺ) เป็น อุ (มนฺ > มุน), ลบ ที่สุดธาตุ (มุนฺ > มุ)

: มนฺ > > มุ + ติ = มุติ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้

มุติ” หมายถึง จิตใจ, ความเห็น, ความคิด; การคิดถึง, ความอยาก, ความอยากได้หรือปรารถนา (mind, opinion, thought; thinking of, hankering after, love or wish for)

สํ + มุติ แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ)

: สํ > สมฺ + มุติ = สมฺมุติ แปลตามศัพท์ว่า “การรู้พร้อมกัน” คือ รับรู้ร่วมกัน, ยอมรับร่วมกัน

สมฺมุติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การยินยอม, การอนุญาต (consent, permission)

(2) การเลือก, การคัดเลือก, คณะผู้แทน (choice, selection, delegation)

(3) การกำหนด, การกำหนดหมาย [เขตแดน] (fixing, determination [of boundary])

(4) การยินยอมโดยทั่วๆ ไป, ความเห็นทั่วๆ ไป, ระเบียบแบบแผน, สิ่งที่ยอมรับทั่วๆ ไป (common consent, general opinion, convention, that which is generally accepted)

(5) ความคิดเห็น, คำสอน (opinion, doctrine)

(6) คำจำกัดความ, คำประกาศ, การแถลง (definition, declaration, statement)

(7) คำพูดที่นิยมกัน, เป็นเพียงชื่อหรือคำเท่านั้น (a popular expression, a mere name or word)

(8) ขนบประเพณี, เรื่องเก่า ๆ (tradition, lore)

คำว่า “สมฺมุติ” อาจมีรูปคำเป็น “สมฺมต” (สำ-มะ-ตะ) หรือ “สมฺมติ” (สำ-มะ-ติ) ได้อีก มีความหมายในทำนองเดียวกัน

สมมต, สมมติ, สมมุติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) (คำกริยา) รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมุติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง.

(2) (คำสันธาน) ต่างว่า, ถือเอาว่า เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก.

(3) (คำวิเศษณ์) ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมุติเทพ.

(๒) “ฐาน” (ถา-นะ) รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ฐา + ยุ > อน = ฐาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งแห่งผล

ฐาน” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สถานที่, เขตแคว้น, ตำบล, แหล่ง, ที่อาศัย, ส่วน (ของสิ่งใดๆ) (place, region, locality, abode, part)

(2) ภาวะ, สถานะ (state, condition)

สมมุติ + ฐาน = สมมุติฐาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่ตั้งแห่งสิ่งที่รับรู้ร่วมกัน

สมมุติฐาน” เป็นคำที่ผูกขึ้นใช้ในภาษาไทย ยังไม่พบคำที่มีความเช่นนี้ในคัมภีร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมมติฐาน, สมมุติฐาน : (คำนาม) ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).”

สมมุติฐาน” เป็นศัพท์บัญญัติจากคำอังกฤษว่า hypothesis

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล hypothesis ว่า ข้อสมมุติ อันไม่ต้องพิสูจน์, สมมุติฐาน

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล hypothesis เป็นบาลีดังนี้ –

(1) saṅkappitattha สงฺกปฺปิตตฺถ (สัง-กับ-ปิ-ตัด-ถะ) = ข้อความที่คิดประมวลขึ้น

(2) anumāna อนุมาน (อะ-นุ-มา-นะ) = อนุมาน, การคาดคะเน

ข้อสังเกต :

โปรดสังเกตว่า คำนี้ พจนานุกรมฯ เก็บไว้ 2 คำ คือ “สมมติฐาน” (-ติ-) คำหนึ่ง และ “สมมุติฐาน” (-มุติ-) อีกคำหนึ่ง

สมมติฐาน” พจนานุกรมฯ บอกคำอ่านว่า สม-มด-ติ-ถาน (-มด-)

สมมุติฐาน” พจนานุกรมฯ บอกคำอ่านว่า สม-มุด-ติ-ถาน (-มุด-)

เท่าที่ฟังพูดกันทั่วไป เราจะได้ยินพูดกันว่า สม-มุด- ทั้งนั้น แทบจะไม่มีใครพูดว่า สม-มด-

อาจเป็นเพราะ สม-มุด- ออกเสียงง่ายกว่า สม-มด-

ในเชิงปรัชญา “สมมุติฐาน” หมายถึงเรื่องที่ยังไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่ จึงต้องใช้วิธีคาดคะเนเอาว่า ถ้ามีข้อมูลว่าอย่างนี้ๆ ข้อเท็จจริงก็น่าจะเป็นอย่างนั้นๆ

ในทางธรรม มีแนวคิดว่า ไม่ว่าจะตั้งสมมุติฐานหลากหลายเลิศหรูสักเท่าไรๆ ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง ก็จะไม่มีทางเข้าถึงความจริงได้เลย

…………..

ดูก่อนภราดา!

เรื่องบุญบาป-นรกสวรรค์เป็นอาทิ

: ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือใครจะรอตั้งสมมุติฐาน

: ยมบาลท่านก็ไม่เคยคอยใคร

#บาลีวันละคำ (2,150)

2-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *