บาลีวันละคำ

จาระไน – เจียระไน (บาลีวันละคำ 2,151)

จาระไน – เจียระไน

ไม่ใช่บาลี

อ่านตรงตัวว่า จา-ระ-ไน เจีย-ระ-ไน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) จาระไน : (คำกริยา) พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.

(2) เจียระไน : (คำกริยา) ทําเพชรพลอยหรือแก้วให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการแล้วขัดเงา. (เทียบทมิฬ จาไณ).

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่าทั้ง 2 คำนี้มาจากภาษาอะไร

จาระไน” มักมีผู้เขียนเป็น “จารนัย” หรือ “จาระนัย

เจียระไน” มักมีผู้เขียนเป็น “เจียรนัย” หรือ “เจียระนัย

โปรดทราบว่าเป็นการเขียนผิด

ทั้ง 2 คำนี้เขียน จาระไน – เจียระไน

ไม่ใช่ “จารนัย” หรือ “จาระนัย

และไม่ใช่ “เจียรนัย” หรือ “เจียระนัย

แม้ 2 คำนี้จะไม่ใช่ภาษาบาลี แต่เมื่อเห็นคำที่เขียนผิดเป็น “จารนัย” และ “เจียรนัย” การถือโอกาสรู้ความหมายของคำว่า “จาร” “เจียร” และ “นัย” ในภาษาบาลี ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่ประการใด

(๑) “จาร

บาลีอ่านว่า จา-ระ รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = เที่ยวไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จาร)

: จรฺ + = จรณ > จร > จาร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เที่ยวไปรู้เรื่องอาณาจักรศัตรูหรือเรื่องปรปักษ์

ศัพท์นี้ในบาลี เป็น “จร” (จะ-ระ) ก็มี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จร” เป็นอังกฤษว่า –

(1) the act of going about, walking; one who walks or lives (การเที่ยวไป, การเดินไป, ผู้เดินหรืออยู่)

(2) one who is sent on a message, a secret emissary, a spy (ผู้ถูกให้ไปส่งข่าว, จารบุรุษ, คนสอดแนม)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “จาร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) จาร ๑ [จาน] : (คำกริยา) ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). (คำนาม) เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).

(2) จาร– ๒ [จาระ-] : (คำนาม) ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

(๒) “เจียร

ถ้าเป็นคำบาลี คำนี้แผลงมาจาก “จิร” (จิ-ระ)

รูปคำ อิร หรือ อีร ในบาลีสันสกฤตแผลงเป็น เอียร ในภาษาไทย เราจะพบเห็นได้เสมอ เช่น –

กิรติ > เกียรติ = ชื่อเสียง

ขีร > กฺษีร > เกษียร = น้ำนม

สิร > ศิร > เศียร = หัว

จิร” รากศัพท์มาจาก จิ (ธาตุ = สะสม, เจริญ, รวม) + ปัจจัย

: จิ + = จิร (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาสะสมไว้” หมายถึง ยาวนาน, เนิ่นนาน (long)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “เจียร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) เจียร ๑ [เจียน] : (คำวิเศษณ์) นาน, ช้านาน, ยืนนาน. (ป., ส. จิร ว่า ยั่งยืน).

(2) เจียร ๒ [เจียน] : (คำกริยา) จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ. (ทวาทศมาส).

(๓) “นัย

บาลีเป็น “นย” (นะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป, รู้) + ปัจจัย, แผลง อี ที่ นี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (นี > เน > นย)

: นี > เน > นย + = นย แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเป็นไป” (2) “อุบายเป็นเครื่องแนะนำ” (3) “วิธีที่พึงแนะนำ” (4) “วิธีเป็นเหตุให้รู้

นย” (ปุงลิงค์) หมายถึง หนทาง, วิธีการ, แผน, วิธี (way, method, plan, manner)

นย” ในภาษาไทยใช้ว่า “นัย” (ไน) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง

(2) ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้

(3) ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย

(4) แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย

(5) แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง

…………..

ขอย้ำว่า “จารนัย” หรือ “จาระนัย” และ “เจียรนัย” หรือ “เจียระนัย” เป็นคำที่เขียนผิด

คำที่ถูกต้องคือ “จาระไน” และ “เจียระไน

และ “-ไน” ไม้มลาย ไม่ใช่ “-ใน” ไม้ม้วน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำสั่งสอนไม่สามารถเจียระไนเพชรได้

: แต่สามารถทำให้คนที่อดทนฟังมีปัญญาแหลมคมยิ่งกว่าเพชรได้

#บาลีวันละคำ (2,151)

3-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *