บาลีวันละคำ

อริราชศัตรู (บาลีวันละคำ 2,158)

อริราชศัตรู

อ่านว่า อะ-ริ-(หรือ อะ-หฺริ-)-ราด-ชะ-สัด-ตฺรู

ประกอบด้วยคำว่า อริ + ราช + ศัตรู

(๑) “อริ

บาลีอ่านว่า อะ-ริ รากศัพท์มาจาก –

(1) (อะ แทนศัพท์ว่า “อปฺปก” = เล็กน้อย) + (ระ แทนศัพท์ว่า “รูปาทิปญฺจกามคุณ” = “เบญจกามคุณมีรูปเป็นต้น” หมายถึงความรัก, ความต้องการ) + อิ ปัจจัย

: + = อร + อิ = อริ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ความรักมีน้อย” (คือมีคนรักน้อย)

(2) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + อิ ปัจจัย

: อรฺ + อิ = อริ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปสู่เวร” “ผู้ไปเป็นฝ่ายตรงข้าม

อริ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ข้าศึก, ศัตรู (an enemy)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อริ : (คำนาม) ข้าศึก, ผู้ที่ไม่ถูกกัน. (ป., ส.).”

(๒) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ แปลตามรากศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย) = ราช

หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + (ปัจจัย) ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา = ราช

หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๓) “ศัตรู

บาลีเป็น “สตฺตุ” (สัด-ตุ) รากศัพท์มาจาก สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ตุ ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น

: สสฺ + ตุ = สสตุ > สตฺตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนคนอื่น” หมายถึง ข้าศึก, ปรปักษ์ (an enemy)

ศัตรู” สันสกฤตเป็น “ศตฺรุ” เราเขียนอิงสันสกฤต และเข้าใจความหมายโดยไม่ต้องรู้คำแปลเดิม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศัตรู : (คำนาม) ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ยเป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคนแล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. สตฺตุ).”

การประสมคำ :

เนื่องจากคำนี้มี 3 ศัพท์ คือ อริ ราช ศัตรู ดังนั้นจึงอาจประสมคำได้ 2 แบบ คือ –

แบบที่ 1

๑. ราช + ศัตรู = ราชศัตรู (ราด-ชะ-สัด-ตฺรู) แปลตามศัพท์ว่า “ศัตรูของพระราชา” หมายถึง ศัตรูของบ้านเมือง

๒. อริ + ราชศัตรู = อริราชศัตรู (อะ-ริ-ราด-ชะ-สัด-ตฺรู) แปลตามศัพท์ว่า “ข้าศึกผู้เป็นศัตรูของพระราชา” หมายถึง ข้าศึกศัตรูของบ้านเมือง

แบบที่ 2

๑. อริ + ราช = อริราช (อะ-ริ-ราด) แปลตามศัพท์ว่า “พระราชาผู้เป็นข้าศึก

๒. อริราช + ศัตรู = อริราชศัตรู (อะ-ริ-ราด-ชะ-สัด-ตฺรู) แปลตามศัพท์ว่า “ศัตรูคือพระราชาผู้เป็นข้าศึก” หรือ “พระราชาข้าศึกผู้เป็นศัตรู

แบบที่ 1 อริ + ราชศัตรู : ศัตรูของบ้านเมือง เป็นใครก็ได้ 

แบบที่ 2 อริราช + ศัตรู : ศัตรูของบ้านเมือง เป็นระดับพระราชา

คำว่า “อริราชศัตรู” นิยมใช้ในภาษาหนังสือสมัยเก่า

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ศัตรูที่น่ากลัว

: คือศัตรูที่ทำให้ศัตรูคิดว่าไม่น่ากลัว

#บาลีวันละคำ (2,158)

10-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *