บาลีวันละคำ

มาตุฆาต – ปิตุฆาต (บาลีวันละคำ 2,190)

มาตุฆาต – ปิตุฆาต

สองในอนันตริยกรรม

อ่านว่า มา-ตุ-คาด ปิ-ตุ-คาด

(๑) “มาตุฆาต

บาลีอ่านว่า มา-ตุ-คา-ตะ ประกอบด้วย มาตุ + ฆาต

(ก) “มาตุ

มาตุ” บาลีอ่านว่า มา-ตุ รากศัพท์มาจาก –

(1) มานฺ (ธาตุ = รัก, ทะนุถนอม) + ราตุ ปัจจัย, ลบ ที่ าตุ (ราตุ > อาตุ), ลบพยัญชนะที่สุดธาตุและสระ (มานฺ > มา > )

: มานฺ > มา > + ราตุ > อาตุ = มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักบุตรโดยธรรมชาติ

(2) ปา (ธาตุ = ดื่ม) + ตุ ปัจจัย, แปลง ที่ ปา เป็น (ปา > มา)

: ปา + ตุ = ปาตุ > มาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังบุตรให้ดื่มนม

มาตุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มาตา” หมายถึง แม่ (mother) ใช้ในภาษาไทยเป็น “มารดา

(ข) “ฆาต

บาลีอ่านว่า คา-ตะ รากศัพท์มาจาก หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง หนฺ เป็น ฆาต

: หนฺ+ = หน > ฆาต แปลตามศัพท์ว่า “การเบียดเบียน” หมายถึง การทำให้ตาย, ฆาตกรรม; การประหาร, การทำลาย, การปล้น (killing, murdering; slaughter, destruction, robbery)

ในทางหลักภาษา “ฆาต” อาจแปลได้หลายลักษณะ คือ

– การทำให้ตาย > การฆ่า

– ผู้ทำให้ตาย > ผู้ฆ่า

– อุปกรณ์เป็นเครื่องทำให้ตาย > เครื่องมือฆ่า

– สถานที่เป็นที่ทำให้ตาย > ที่ฆ่า > ที่ตาย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฆาต, ฆาต– : (คำนาม) การฆ่า, การทำลาย. (คำกริยา) ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลองเร่งกองรบ (อภัย).”

มาตุ + ฆาต = มาตุฆาต แปลว่า “การฆ่ามารดา” คือฆ่าแม่ (matricide)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มาตุฆาต : (คำนาม) การฆ่าแม่. (ป.).”

(๒) “ปิตุฆาต” บาลีอ่านว่า ปิ-ตุ-คา-ตะ ประกอบด้วย ปิตุ + ฆาต

(ก) “ปิตุ

บาลีอ่านว่า ปิ-ตุ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปา (ธาตุ = รักษา, คุ้มครอง) + ริตุ ปัจจัย, ลบ ที่ ริตุ (ริตุ > อิตุ), ลบสระที่สุดธาตุ (ปา > )

: ปา > + ริตุ > อิตุ : + อิตุ = ปิตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้คุ้มครองบุตร

(2) ปิ (ธาตุ = ยินดี, ชอบใจ) + ริตุ ปัจจัย, ลบ ที่ ริตุ (ริตุ > อิตุ), ลบสระที่สุดธาตุ (ปิ > )

: ปิ > + ริตุ > อิตุ : + อิตุ = ปิตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักบุตร

ปิตุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “ปิตา” หมายถึง พ่อ (father) ใช้ในภาษาไทยเป็น “บิดา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บิดา : (คำนาม) พ่อ (ใช้ในภาษาทางการ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กำเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์. (ป. ปิตา; ส. ปิตฤ).”

(ข) “ฆาต

ดูข้างต้น

ปิตุ + ฆาต = ปิตุฆาต แปลว่า “การฆ่าบิดา” คือฆ่าพ่อ (patricide)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปิตุฆาต : (คำนาม) การฆ่าพ่อ. (ป.).”

มาตุฆาต – ปิตุฆาต” การฆ่าแม่-ฆ่าพ่อ จัดเป็นอนันตริยกรรม 2 อย่างในอนันตริยกรรม 5

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [245] แสดงเรื่อง “อนันตริยกรรม” ไว้ดังนี้ :

อนันตริยกรรม 5 (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลรุนแรงต่อเนื่องไป โดยไม่มีกรรมอื่นจะมากั้นหรือคั่นได้ — Anantariya-kamma: immediacy-deeds; heinous crimes which bring immediate, uninterrupted and uninterruptible results) :

1. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา — Mātughāta: matricide)

2. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา — Pitughāta: patricide)

3. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์ — Arahantaghāta: killing an Arahant)

4. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป — Lohituppāda: causing a Buddha to suffer a contusion or to bleed)

5. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์ — Saŋghabheda: causing schism in the Order)

ดูเพิ่มเติม: “อนันตริยกรรม” บาลีวันละคำ (1,057) 10-4-58

…………..

อภิปราย :

ภาษาไทยเราพูดว่า “พ่อแม่” หรือ “บิดามารดา” คือเอ่ยถึงพ่อก่อน แต่ภาษาบาลีเมื่อพูดถึงพ่อแม่คู่กัน เอ่ยถึงแม่ก่อนเสมอ คือเป็น “มาตาปิตา” ไม่ใช่ “ปิตามาตา

เช่นในมงคลสูตร มงคลข้อที่ 11 ว่าด้วยการเลี้ยงดูพ่อแม่ คำบาลีว่า “มาตาปิตุอุปฏฺฐาน” แปลว่า “การดูแลมารดาบิดา

แม้ในอนันตริยกรรมนี้เอง เมื่อแยกเป็น 2 ข้อ ในคัมภีร์ท่านก็เรียงลำดับข้อ “มาตา” ขึ้นก่อน “ปิตา” คือเป็น —

มาตา  ชีวิตา  โวโรปิตา  โหติ 

ปิตา  ชีวิตา  โวโรปิโต  โหติ 

มารดาเป็นผู้อันบุตรปลงแล้วจากชีวิต

บิดาเป็นผู้อันบุตรปลงแล้วจากชีวิต

ผู้รู้บอกว่า ที่พูดว่า “มาตาปิตา” (แม่ขึ้นก่อน) เพราะลูกเห็นแม่ก่อนพ่อ (บางคนไม่เคยเห็นพ่อด้วยซ้ำ)

มีคำถามชวนคิดว่า

๑ ฆ่าพ่อฆ่าแม่โดยไม่รู้ว่าเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นอนันตริยกรรมหรือไม่

๒ คนที่เห็นว่าพ่อแม่ก็เป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ไม่มีบุญคุณพิเศษใดๆ และไม่เชื่อว่าการฆ่าพ่อฆ่าแม่เป็นอนันตริยกรรม คนเช่นนี้ถ้าเขาฆ่าพ่อฆ่าแม่ จะเป็นอนันตริยกรรมหรือไม่

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้อำนาจไม่คำนึงถึงธรรม

: คือการทำอนันตริยกรรมแก่แผ่นดิน

#บาลีวันละคำ (2,190)

11-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *