บาลีวันละคำ

กฤษฎีกา (บาลีวันละคำ 2,203)

กฤษฎีกา

อ่านว่า กฺริด-สะ-ดี-กา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กฤษฎีกา : (คำนาม) กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (คำที่ใช้ในกฎหมาย; ภาษาปาก) (คำนาม) คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชกฤษฎีกา. (แผลงมาจาก กติกา).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “กฤษฎีกา” แผลงมาจาก “กติกา

กติกา” บาลีอ่านว่า กะ-ติ-กา มีรากศัพท์มาจาก –

(1) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาต (กรฺ > ) + อิก ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กรฺ + = กรต > กต + อิก = กติก + อา = กติกา แปลตามศัพท์ว่า “ถ้อยคำอันเขาทำแล้ว

(1) กถฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ปัจจัย + อิก ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, แปลง เป็น

: กถฺ + = กถ + อิก = กถิก + อา = กถิกา > กติกา แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบไว้ในถ้อยคำ” “ดำเนินไปในถ้อยคำ

กติกา” มีความหมาย 2 นัย คือ –

(1) การตกลง, กติกา, สัญญา (agreement, contract, pact)

(2) การพูดกัน, การสนทนา, การเจรจา (talking, conversation, talk)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กติกา : (คำนาม) กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกําหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) หนังสือสัญญา; ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).

พจนานุกรมฯ บอกว่า “กติกา” บัญญัติจากคำอังกฤษว่า covenant

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล covenant เป็นบาลีดังนี้ –

(1) paṭissava ปฏิสฺสว (ปะ-ติด-สะ-วะ) = คำรับรอง, คำสัญญา, การยอมรับ

(2) paṭiññāpaṇa ปฏิญฺญาปณ (ปะ-ติน-ยา-ปะ-นะ) = “การยังกันและกันให้รับรู้เฉพาะ” > การประกาศรับรอง

การกลายรูป :

ปกติ “กต” ในบาลีจะเป็น “กฤต” ในสันสกฤต เช่น “กตาธิการ” เป็น “กฤดาธิการ

กติกา” ควรจะกลายรูปเป็น “กฤติกา” การที่ “กติกา” กลายรูปเป็น “กฤษฎีกา” ต้องนับว่าเป็นการกลายรูปพิเศษนอกกติกา

แถม :

ตามหลักท่านว่า กติกามี 2 อย่าง คือ –

๑ “ธมฺมิกา กติกา” กติกาที่เป็นธรรม เช่นตกลงกันว่าจะทำความดี

๒ “อธมฺมิกา กติกา” กติกาที่ไม่เป็นธรรม เช่นตกลงกันว่าจะหมกเม็ดในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนระยำ

: มักจะซ่อนเงื่อนงำในการทำกติกา

#บาลีวันละคำ (2,203)

24-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย