บาลีวันละคำ

ปัจจามิตร (บาลีวันละคำ 2,224)

ปัจจามิตร

อ่านว่า ปัด-จา-มิด

ปัจจามิตร” บาลีเป็น “ปจฺจามิตฺต” (ปัด-จา-มิด-ตะ)

(1) แยกศัพท์เท่าที่ตาเห็น :

ปจฺจามิตฺต” แยกศัพท์เป็น ปจฺจ + อมิตฺต

(๑) “ปจฺจ” (ปัด-จะ) รูปเดิมคือ ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) แปลงรูปตามสูตรทางไวยากรณ์คือ :

(1) แปลง เป็น = ปฏิ > ปติ

(2) แปลง อิ เป็น = ปติ > ปตฺย

(3) แปลง ตฺย เป็น จฺจ = ปตฺย > ปจฺจ

หรือสูตรสั้นๆ ว่า “แปลง ปฏิ เป็น ปจฺจ

(๒) “อมิตฺต” (อะ-มิด-ตะ) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + มิตฺต

(ก) “มิตฺต” (มิด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (มิ)-ทฺ เป็น ตฺ (มิทฺ > มิต)

: มิทฺ + = มิทต > มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้รักใคร่กัน” คือต่างคนต่างรู้สึกรักใคร่มีไมตรีต่อกัน

(๒) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” คือมีลักษณะชวนให้คนอื่นรักโดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันได้รู้จักผู้ที่มารักตนนั่นเลยด้วยซ้ำ

(2) มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + ตฺ + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ควรแก่การที่จะใส่ความลับเข้าไป” คือคนที่เพื่อนสามารถบอกความลับให้รู้ได้ทุกเรื่อง

บางคนเป็นเพื่อนกันก็จริง แต่เพื่อนไม่กล้าบอกความลับ หรือบอกก็บอกได้บางเรื่อง บอกทุกเรื่องไม่ได้ เพราะไม่ไว้ใจว่าจะเก็บความลับได้

(๒) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” คือคนที่เก็บความลับของเพื่อนไว้ได้ (เก็บไว้เพื่อปกป้องและช่วยแก้ไขให้เพื่อน มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายเพื่อน)

เพื่อนบางคนเก็บความลับของเพื่อนไม่อยู่ หรือเก็บได้ในยามปกติ แต่ถ้าถูกหลอกล่อหรือถูกบีบคั้นก็เก็บไม่อยู่

มิตฺต” (ปุงลิงค์) หมายถึง เพื่อน (friend) บางครั้งใช้เป็นนปุงสกลิงค์ หมายถึง “ความเป็นเพื่อน” (friendship)

(ข) + มิตฺต แปลง (นะ) เป็น (อะ) ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น –

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน– เช่น –

: + อาคต : > อน + อาคต = อนาคต ภาษาไทยทับศัพท์ว่า อนาคต 

ในที่นี้ “มิตฺต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

: + มิตฺต = นมิตฺต > อมิตฺต แปลว่า “ผู้มิใช่มิตร” หรือทับศัพท์ว่า “อมิตร” คือ ศัตรู

ปจฺจ + อมิตฺต (ทีฆะ อะ ที่ -มิตฺต เป็น อา-) = ปจฺจามิตฺต แปลว่า “ศัตรูเฉพาะตัว” หมายถึง คนที่เป็นคู่เวรหรือคู่แค้นกัน

(2) แยกศัพท์ตามตำรา :

ปจฺจามิตฺต” รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + อมฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ที่ (ป)-ฏิ เป็น ตฺ แล้วแปลง อิ เป็น (ปฏิ > ปติ > ปตฺย), แปลง ตฺย เป็น จฺจ (> ปตฺย > ปจฺจ), “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง” คือลบ อะ ที่ ปจฺจ ทีฆะ อะ ที่ -(มฺ) ธาตุเป็น อา (ปจฺจ + อมฺ = ปจฺจามฺ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัยแล้วซ้อน ตฺ (อมฺ + อิ + ตฺ + )

: ปฏิ > ปติ > ปตฺย > ปจฺจ + อมฺ = ปจฺจมฺ > ปจฺจามฺ + อิ + ตฺ + = ปจฺจามิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นไปโดยเป็นฝ่ายตรงข้าม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “ปจฺจามิตฺต” แปลตามศัพท์ว่า “back-friend” (เพื่อนข้างหลัง) หมายถึง adversary, enemy (ศัตรู, ข้าศึก)

บาลี “ปจฺจามิตฺต” ภาษาไทยใช้เป็น “ปัจจามิตร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัจจามิตร : (คำนาม) ข้าศึก, ศัตรู. (ป. ปจฺจามิตฺต).”

ในภาษาไทย โดยเฉพาะในบทกลอน คำว่า “ปัจจามิตร” บางทีตัดคำเหลือแต่ “ปัจจา” ก็เป็นที่เข้าใจกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ปัจจามิตรจากเมืองไกล

: ไม่ร้ายเท่ากิเลสที่อยู่ในใจของตัวเอง

#บาลีวันละคำ (2,224)

15-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *