บาลีวันละคำ

พาหุงมหากา (บาลีวันละคำ 2,238)

พาหุงมหากา

ฤๅว่าเพียงแต่จะพูดคำย่อ

อ่านว่า พา-หุง-มะ-หา-กา

ประกอบด้วยคำว่า พาหุง + มหากา

(๑) “พาหุง

เขียนแบบบาลีเป็น “พาหุํ” (สระ อุ ข้างล่าง นิคหิตข้างบน) ศัพท์เดิมเป็น “พาหุ” รากศัพท์มาจาก วหฺ (ธาตุ = นำไป) + ณุ ปัจจัย, ลบ (ณุ > อุ), “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือ อะ ที่ -(หฺ) เป็น อา (วหฺ > วาห), แปลง เป็น

: วหฺ + ณุ = วหณุ (> วหอุ) > วหุ > วาหุ > พาหุ (ปุงลิงค์) (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องนำไป” หมายถึง แขน (the arm)

พาหุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เอกพจน์ ได้รูปเป็น “พาหุํ” อ่านว่า พา-หุง เขียนแบบไทยเป็น “พาหุง

(๒) “มหากา

ตัดมาจากคำว่า “มหาการุณิโก” (มะ-หา-กา-รุ-นิ-โก) รูปคำเดิมคือ “มหาการุณิก” (มะ-หา-กา-รุ-นิ-กะ) ประกอบด้วย มหากรุณา + ณิก ปัจจัย

[1] “มหากรุณา” ประกอบด้วย มหา + กรุณา

(๑) “มหา” (มะ-หา)

รูปคำเดิมในบาลีเป็น “มหนฺต” (มะ-หัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก มหฺ (ธาตุ = เจริญ) + อนฺต ปัจจัย

: มหฺ + อนฺต = มหนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายตัว” มีความหมายว่า ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต; มาก; สำคัญ, เป็นที่นับถือ (great, extensive, big; much; important, venerable)

มหนฺต” เป็นคำเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทยว่า “มหันต์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหันต-, มหันต์ : (คำวิเศษณ์) ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).”

ในที่นี้ มหันต– เข้าสมาสกับ –กรุณา เปลี่ยนรูปเป็น “มหา

(๒) “กรุณา” รากศัพท์มาจาก –

(1) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + อุณ ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กรฺ + อุณ = กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่สร้างความสะเทือนใจแก่คนดีเมื่อผู้อื่นมีทุกข์

(2) บทหน้า + รุธิ (ธาตุ = ปิด, กั้น) + ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ ธิ) เป็น อ, ธ เป็น ณ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + รุธิ > รุธ > รุณ + = กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่กั้นความสุขไว้” (คือห้ามความสุขตัวเองเพื่อช่วยคนอื่น)

(3) กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย, แปลง (ที่ –รฺ) เป็น อุ, ยุ เป็น อน, เป็น + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กรฺ > กรุ + ยุ > อน = กรุน > กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติเป็นเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่งอาศัยของคนอื่น

(4) กิรฺ (ธาตุ = กำจัด, ปัดเป่า) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ กิ-) เป็น , เป็น อุ, ยุ เป็น อน, เป็น + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กิรฺ > กร > กรุ + ยุ > อน = กรุน > กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่กำจัด” (คือกำจัดทุกข์ของผู้อื่น)

(5) กิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + รุณ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ กิ) เป็น อ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กิ > + รุณ = กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่เบียดเบียน” (คือเบียดเบียนความเห็นแก่ตัวออกไป)

(6) กิรฺ (ธาตุ = กระจาย) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ กิ-) เป็น , เป็น อุ, ยุ เป็น อน, เป็น + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กิรฺ > กร > กรุ + ยุ > อน = กรุน > กรุณ + อา = กรุณา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่กระจาย” (คือแบ่งปันความสุขแก่ผู้อื่น)

กรุณา” หมายถึง ความกรุณา, ความสงสาร (pity, compassion)

มหา + กรุณา = มหากรุณา แปลว่า “ความกรุณาอย่างยิ่งใหญ่” (great compassion)

[2] มหากรุณา + ณิก ปัจจัย, ลบ , “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (กรุ)-ณา (กรุณา > กรุณ) แล้วทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(รุณ) เป็น อา (กรุณ > การุณ),

: มหากรุณา + ณิก = มหากรุณาณิก > มหากรุณณิก > มหากรุณิก > มหาการุณิก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกอบด้วยความกรุณาอย่างยิ่งใหญ่

มหาการุณิก” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มหาการุณิโก

ขยายความ :

๑ “พาหุง” เป็นคำที่ตัดมาจากคำขึ้นต้นคาถาแรกในบทพุทธชัยมงคลคาถา หรือที่มีชื่อโดยเฉพาะว่า “ชยมังคลัฏฐกคาถา” ซึ่งมักเรียกกันเป็นสามัญว่า “คาถาพาหุง” และเรียกสั้นๆ ว่า “พาหุง

คาถาพาหุง” ท่านแต่งเป็นวสันตดิลกฉันท์ บทแรกมีข้อความและคำแปลดังนี้ (คำบาลีในที่นี้เขียนแบบคำอ่าน) –

พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง

ครีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท

ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ.

พระจอมมุนีได้ชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน

ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารคีรีเมขละพร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก

ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้น

ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.

๒ “มหาการุณิโก” เป็นคำที่ตัดมาจากคำขึ้นต้นคาถาแรกในบท “ชยปริตตคาถา

ชยปริตตคาถา” ท่านแต่งเป็นปัฐยาวัตฉันท์ บทแรกมีข้อความและคำแปลดังนี้ –

มะหาการุณิโก  นาโถ…….หิตายะ  สัพพะปาณินัง,

ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา….ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง,

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ……โหตุ  เต  ชะยะมังคะลัง.

พระผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็มเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ประลุแล้วซึ่งความตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน.

คาถาพาหุง” และ “ชยปริตตคาถา” เป็นบทที่ชาวพุทธนิยมสวดสาธยายกันทั่วไป และเมื่อจะเรียกขานบททั้ง 2 นี้ ก็นิยมตัดเอาคำแรกมาเรียกรวมกันว่า “พาหุงมหากา

แต่บางทีก็เรียกกันเพลินไป จนลืมไปว่า คำว่า “พาหุงมหากา” มาจากไหน

ดูเพิ่มเติม: “พาหุง” บาลีวันละคำ (1,756) 26-3-60

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านรู้ฤๅหาไม่ว่า ในยุทธวิธีรักษาสืบสานพระพุทธศาสนานั้น –

: เมื่อชาวบ้านทั่วไทยมีศรัทธาเรียนบาลี

ตื่นตีสี่ลุกขึ้นมาท่องสวดมนต์

: ชาววัดทั่วสังฆมณฑลกำลังทำอะไรอยู่?

#บาลีวันละคำ (2,238)

29-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *