บาลีวันละคำ

ถันยรักษ์ (บาลีวันละคำ 2,244)

ถันยรักษ์

รักษาอะไร

อ่านว่า ถัน-ยะ-รัก

ประกอบด้วยคำว่า ถันย + รักษ์

(๑) “ถันย” เป็นรูปคำภาษาอะไร บาลีหรือสันสกฤต?

บาลีมีคำว่า “ถน” (ถะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ตนฺ (ธาตุ = แผ่ไป, ขยาย) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ตนฺ + = ตน > ถน แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่แผ่ไปเฉพาะผู้หญิง

ถน” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เต้านมของสตรี (the breast of a woman)

(2) เต้านมของวัว (the udder of a cow)

บาลี “ถน” ในภาษาไทยใช้เป็น “ถัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ถัน : (คำนาม) เต้านม; นํ้านม. (ป. ถน ว่า เต้านม; ถญฺญ ว่า นํ้านม).

บาลีมีอีกคำหนึ่งที่ปรุงรูปมาจาก “ถน” นั่นคือ “ถญฺญ” อ่านว่า ถัน-ยะ รากศัพท์มาจาก ถน (เต้านม) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ (ณฺย > ), แปลง นฺย (คือ ที่ ถ และ ที่ ณฺ ซึ่งลบ ณฺ แล้ว) เป็น ญฺญ

: ถน + ณฺย = ถนณฺย > ถนฺย > ถญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “(น้ำ) ที่เกิดจากเต้านม” หมายถึง น้ำนม (mother’s milk)

โปรดสังเกตว่า รูปศัพท์ก่อนที่จะมาเป็น “ถญฺญ” ก็คือ “ถนฺย” ซึ่งตรงกันพอดีกับคำว่า “ถันย

ฝั่งสันสกฤตว่าอย่างไร?

บาลี “ถน” สันสกฤตเป็น “สฺตน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

สฺตน : (คำนาม) อกหรือทรวงสตรี, ‘ถัน’ ก็เรียก; the female bosom or breast; a pap.”

นอกจาก “สฺตน” สันสกฤตยังมี “สฺตนฺย” อีกคำหนึ่ง

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

สฺตนฺย : (คำนาม) ‘สตันยะ, สตันย์,’ ถัน, นมหรือน้ำนม, คำว่า ‘ปยัส, เกษียร,’ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน; milk.”

รูปคำ “สฺตน” และ “สฺตนฺย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้เป็น “สตน” (สะ-ตน) “สตัน” (สะ-ตัน) และ “สตันย์” (สะ-ตัน) บอกไว้ดังนี้ –

(1) สตน, สตัน : (คำแบบ) (คำนาม) เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).

(2) สตันย์ : (คำแบบ) (คำนาม) นํ้านม. (ส.; ป. ถญฺญ;).

สรุปว่า –

บาลี “ถน” สันสกฤตเป็น “สฺตน

บาลี “ถญฺญ” สันสกฤตเป็น “สฺตนฺย

เป็นอันว่า ทั้งในบาลี ทั้งในสันสกฤต ไม่มีรูปศัพท์ตรงๆ ว่า “ถนฺย” นอกจากสรุปเอาโดยประสงค์ว่า “ถนฺย” เป็นรูปคำบาลีก่อนที่แปลงเป็น “ถญฺญ” และ “ถนฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ถันย

และโปรดเข้าใจว่า ในบาลี “ถนฺย” ( = ถญฺญ) หมายถึง น้ำนม (mother’s milk) แต่ในภาษาไทย-โดยเฉพาะในคำว่า “ถันยรักษ์” นี้ “ถันย” หมายถึง เต้านม (the breast of a woman)

(๒) “รักษ์

บาลีเป็น “รกฺข” (รัก-ขะ) รากศัพท์มาจาก รกฺขฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: รกฺขฺ + = รกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” “ผู้รักษา

ในบาลีมีคำว่า “รกฺขก” (รัก-ขะ-กะ) อีกคำหนึ่ง รากศัพท์มาจาก รกฺขฺ + + ปัจจัย หรือบางทีเรียก “ก สกรรถ” (กะ สะ-กัด) คือลง ก ปัจจัยความหมายเท่าเดิม

รกฺข > รกฺขก มีความหมายดังนี้ –

(1) คุ้มครอง, ป้องกัน, ระมัดระวัง, เอาใจใส่ (guarding, protecting, watching, taking care)

(2) ปฏิบัติ, รักษา (observing, keeping)

(3) ผู้เพาะปลูก (สติปัญญา) (a cultivator)

(4) ทหารยาม (a sentry, guard, guardian)

รกฺข รกฺขก สันสกฤตเป็น รกฺษ รกฺษก

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) รกฺษ : (คำนาม) การรักษา, การคุ้มครอง-ป้องกัน; เท่าหรืออังคาร; preserving, protecting; ashes.

(2) รกฺษก : (คำนาม) ผู้คุ้มครอง-ป้องกัน-หรือปกครอง; ผู้รักษาการ, ยาม; a guardian, a protector, a watchman, a guard.

รกฺข” ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “รักษ์” และ “รักษา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รักษ์, รักษา : (คำกริยา) ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยา เช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).”

ถันย + รักษ์ = ถันยรักษ์ แปลตามประสงค์ว่า “ระวังสิ่งอันเนื่องมาจากนม” หรือแปลสั้นๆ ว่า “รักษานม” “ดูแลนม

ขยายความ :

ถันยรักษ์” เป็นชื่อหน่วยงาน คือ “มูลนิธิถันยรักษ์” และ “ศูนย์ถันยรักษ์

มูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นองค์กรการกุศลลำดับที่ 271 ของกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2537 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระราชดำริช่วยเหลือหญิงไทยให้พ้นภัยจากมะเร็งเต้านม จึงได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน 12 ล้านบาท เป็นทุนเริ่มแรก และพระราชทานชื่อมูลนิธิว่า “ถันยรักษ์” …

มูลนิธิถันยรักษ์ฯ ได้มีมติจัดตั้ง ศูนย์ถันยรักษ์ ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อปี พ.ศ. 2538

ศูนย์ถันยรักษ์เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยเต้านมครบวงจร และเป็นสถานที่ให้การอบรมแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในเรื่องการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ด้วยความพร้อมทุกด้าน

หมายเหตุ: ข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซ้ต์ของมูลนิธิถันยรักษ์ฯ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยากสวยให้รักถัน

: อยากไปสวรรค์ให้รักธรรม

#บาลีวันละคำ (2,244)

4-8-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *