บาลีวันละคำ

สารทุกข์สุกดิบ (บาลีวันละคำ 2,233)

สารทุกข์สุกดิบ

มาจากไหน?

อ่านว่า สา-ระ-ทุก-สุก-ดิบ

คำที่หน้าตาเป็นบาลีคือ “สารทุกข์

(๑) “สาร

บาลีอ่านว่า สา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) สรฺ (ธาตุ = ขยาย, พิสดาร) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (สรฺ > สาร)

: สรฺ + = สรณ > สร > สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายออก

(2) สา (ธาตุ = มีกำลัง, สามารถ) + ปัจจัย

: สา + = สาร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีกำลัง

สาร” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง (essential, most excellent, strong)

(2) ชั้นในที่สุด และส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้ (the innermost, hardest part of anything, the heart or pith of a tree)

(3) แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด (substance, essence, choicest part)

(4) คุณค่า (value)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สาร” ไว้หลายคำ ขอยกมา 2 คำดังนี้ –

(1) สาร ๑, สาร– ๑ : (คำนาม) แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).

(2) สาร ๒ : (คำนาม) สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้; (คำโบราณ) เรียกธาตุจําพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้ว่า สาร.

ภาษาไทยในคำนี้ “สาร” น่าจะมีความหมายตามข้อ (1)

(๒) “ทุกข์

บาลีเป็น “ทุกฺข” (ทุก-ขะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทุ (คำอุปสรรค = ชั่ว, ยาก, ลำบาก, ทราม) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน) + กฺวิ ปัจจัย, ซ้อน กฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ทุ + กฺ + ขมฺ), ลบ กฺวิ และลบที่สุดธาตุ (ขมฺ > )

: ทุ + กฺ + ขมฺ = ทุกฺขมฺ + กฺวิ = ทุกฺขมกฺวิ > ทุกฺขม > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ทำได้ยากที่จะอดทน” คือยากที่จะทนได้ = ทนนะทนได้ แต่ยากหน่อย หรือยากมาก

(2) กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ) + (แทนศัพท์ว่า “สุข” = ความสุข), ลบ จฺฉิต (กุจฺฉิต > กุ), แปลง กุ เป็น ทุ, ซ้อน กฺ ระหว่าง ทุ กับ (ทุ + กฺ + )

: กุจฺฉิต + กฺ + = กุจฺฉิตกฺข > กุกฺข > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ความสุขที่น่ารังเกียจ” เป็นการมองโลกในแง่ดี คือความทนได้ยากที่เกิดขึ้นนั้นมองว่า-ก็เป็นความสุขแบบหนึ่ง แต่เป็นความสุขที่น่าเกลียด หรือน่ารังเกียจ

(3) ทฺวิ (สอง) + ขนุ (ธาตุ = ขุด) + ปัจจัย, แปลง ทฺวิ เป็น ทุ, ซ้อน กฺ ระหว่าง ทฺวิ กับธาตุ (ทฺวิ + กฺ + ขนฺ), ลบที่สุดธาตุ (ขนฺ > )

: ทฺวิ + กฺ + ขน = ทฺวิกฺขนฺ + = ทฺวิกฺขนฺ > ทุกฺขน > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ขุดจิตเป็นสองอย่าง” คือจิตปกติเป็นอย่างหนึ่งอยู่แล้ว พอมีทุกข์มากระทบ ก็กระเทือนกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทำนองเดียวกับสำนวนที่ว่า “หัวใจแตกสลาย

(4) ทุกฺขฺ (ธาตุ = ทุกข์) + ปัจจัย

: ทุกฺขฺ + = ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า“สภาวะที่ทำให้เป็นทุกข์” คำแปลสำนวนนี้ในภาษาบาลีมีความหมาย แต่ในภาษาไทย เท่ากับพูดว่า มืดคือค่ำ และ ค่ำคือมืด คือเป็นเพียงบอกให้รู้ว่า สิ่งนั้นเรียกว่า “ทุกข์” หรือเล่นสำนวนว่า “ทุกข์ก็คือทุกข์”

ความหมายที่เข้าใจทั่วไป “ทุกข์” คือความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ (grief & sorrow, afflictions of pain & misery, all kinds of misery)

สาร + ทุกข์ = สารทุกข์ ควรจะแปลว่า “เรื่องราวที่บอกถึงความเดือดร้อน

ส่วนคำว่า “สุกดิบ” เป็นคำที่เรียกว่า “คำสร้อย” คือคำพูดต่อท้ายให้คล้องจองกัน บางทีมีความหมาย บางทีก็ไม่มีความหมาย

ในที่นี้ ใช้คำว่า “สุก” เพื่อให้คล้องจองกับ “ทุกข์” แต่ไม่สะกดเป็น “สุข” เพราะต้องการให้ล้อกับคำว่า “ดิบ” (“สุกดิบ” มี แต่ “สุขดิบ” ไม่มี)

สารทุกข์ + สุกดิบ = สารทุกข์สุกดิบ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สารทุกข์สุกดิบ : (ภาษาปาก) (คำนาม) ข่าวคราวความเป็นไปหรือความเป็นอยู่ เช่น ไม่พบกันมานาน เพื่อน ๆ ต่างก็ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน.”

ที่มาของคำว่า “สารทุกข์” :

ในหนังสือเรื่อง “นิทานอิหร่านราชธรรม” นิทานเรื่องที่ ๗ เรื่องพระเจ้ามันสูรพระกรรณตึง มีข้อความตอนท้ายเรื่องดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

…………..

ครั้นพระเจ้ามันสูรได้ยินมนตรีกราบทูลเรื่องราวพระเจ้ายุมานดังนั้น พระเจ้ามันสูรจึงตรัสแก่เสนาบดีว่า ใช่เราจะกลัวความตายก็หามิได้ เรากรรแสงนี้ด้วยทุกข์ของประชาราษฎรทั้งปวง ด้วยว่าพระกรรณเราตึงไปแล้ว เกลือกว่าอาณาประชาราษฎรจะร้องฟ้องทุกขราชแก่เรา ๆ จะมิได้ยิน เหตุฉนี้เราจึงทรงพระกรรแสงถึงราษฎรทั้งปวง ตรัสแล้วสั่งแก่เสนาบดีให้ตีฆ้องร้องป่าวแก่อาณาประชาราษฎร ถ้าผู้ใดทำข่มเหงแก่ราษฎรเปนประการใดนั้น ให้ราษฎรห่มเสื้อดำมาร้องทุกขราช เราจึ่งแจ้งว่าราษฎรมีสารทุกข์ ครั้นพระเจ้ามันสูรตรัสสั่งดังนั้นแล้ว พระโรคพระกรรณซึ่งตึงอยู่นั้นก็หายไปด้วยทรงธรรมนั้นแล

…………..

ผู้เขียนบาลีวันละคำเข้าใจว่า ข้อความตรงที่ว่า “เราจึ่งแจ้งว่าราษฎรมีสารทุกข์” นี่เอง คือที่มาของคำว่า “สารทุกข์สุกดิบ” จึงบอกคำแปลของ “สารทุกข์” ว่า “เรื่องราวที่บอกถึงความเดือดร้อน” ดังแสดงไว้ข้างต้น

ขอเสนอผู้รู้เพื่อโปรดพิจารณาโดยทั่วกันเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ดอกไม้ประดิษฐ์ มีไว้ดู มิใช่มีไว้ดม

: คำหวานที่มีแต่ลม มีไว้เพื่อเป็นคำลวง

#บาลีวันละคำ (2,233)

24-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย