บาลีวันละคำ

พระสุปฏิบัน (บาลีวันละคำ 2,277)

พระสุปฏิบัน

ประชันกับพระสุปฏิบัติ

อ่านว่า พฺระ-สุ-ปะ-ติ-บัน

ในหมู่ผู้สนใจใฝ่ธรรมนิยมเรียกพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามกรอบแห่งพระธรรมวินัยว่า “พระสุปฏิบัติ

คำว่า “สุปฏิบัติ” เทียบกลับเป็นบาลีตรงกับคำว่า “สุปฏิปตฺติ” (สุ-ปะ-ติ-ปัด-ติ) เป็นคำนาม แปลว่า “การปฏิบัติดี

ถ้าจะให้เป็นคำคุณศัพท์ต้องเป็น “สุปฏิปนฺน” (สุ-ปะ-ติ-ปัน-นะ) เช่นในคำที่เราคุ้นกันดีที่สุดคือ “สุปฏิปนฺโน” (สุ-ปะ-ติ-ปัน-โน) อันเป็นคำขึ้นต้นแห่งสังฆคุณ

สุปฏิปนฺน” รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (ปทฺ > ), แปลง เป็น นฺน (หรือนัยหนึ่ง แปลง ทฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น นฺน)

: สุ + ปฏิ + ปทฺ = สุปฏิปทฺ + = สุปฏิปทฺต > สุปฏิปนฺน แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปถึงเฉพาะด้วยดี” “ผู้ดำเนินไปด้วยดี” “ผู้ปฏิบัติดี

สุปฏิปนฺน” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “สุปฏิปนฺโน” (สุ-ปะ-ติ-ปัน-โน)

ขยายความ :

คัมภีรวิสุทธิมรรคไขความคำว่า “สุปฏิปนฺโน” ไว้ว่า “สุฏฺฐุ  ปฏิปนฺโน

(๑) “สุฏฺฐุ” (สุด-ถุ) เป็นคำนิบาต แปลว่า ด้วยดี (well)

(๒) “ปฏิปนฺโน” แปลว่า ดำเนินตามหรือกำลังติดตาม, ไปตามหรืออาศัย, เข้าสู่, ได้รับ (followed or following up, reaching, going along or by, entering on, obtaining)

สุฏฺฐุ  ปฏิปนฺโน” แปลว่า “ผู้ดำเนินไปด้วยดี” เอาความว่า “ผู้ปฏิบัติดี

คัมภีรวิสุทธิมรรคยังได้ขยายความต่อไปอีกด้วยว่า หลักติดสินความเป็น “สุปฏิปนฺโน” หรือที่นิยมเรียกว่า “พระสุปฏิบัติ” มีดังนี้ –

(1) สมฺมาปฏิปทํ ปฏิปนฺโน : “ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิปทา” (ปฏิบัติชอบ) = ปฏิบัติถูกต้องตรงไปสู่ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ตรงกันข้ามกับปฏิบัติผิด ยิ่งปฏิบัติยิ่งติดอยู่ในสังสารวัฏ

(2) อนิวตฺติปฏิปทํ  ปฏิปนฺโน : “ปฏิบัติเป็นอนิวัตติปฏิปทา” (ปฏิบัติไม่กลับ) = ปฏิบัติก้าวไปข้างหน้าเสมอ ไม่ถอยกลับ อุปมาดังคนเคยเลว แล้วกลับตัวเป็นคนดี มีแต่ทำดียิ่งขึ้น ไม่หวนกลับไปเลวเหมือนเดิมอีก

(3) อนุโลมปฏิปทํ  ปฏิปนฺโน : “ปฏิบัติเป็นอนุโลมปฏิปทา” (ปฏิบัติสมควรแก่พระนิพพาน) = ปฏิบัติแบบผู้ที่ทั้งรู้ปริยัติ ทั้งปฏิบัติตามที่รู้ ไม่ใช่ได้แต่รู้ แต่ไม่ปฏิบัติ

(4) อปจฺจนีกปฏิปทํ  ปฏิปนฺโน : “ปฏิบัติเป็นอปัจจนีกปฏิปทา” (ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมและบุคคล) = ปฏิบัติไม่เป็นศัตรูกับใคร แม้กับผู้ที่รู้ผิดปฏิบัติผิดก็มีจิตเมตตามุ่งอนุเคราะห์ให้มาดำเนินในทางที่ถูกต้อง

(5) ธมฺมานุธมฺมปฏิปทํ  ปฏิปนฺโน : “ปฏิบัติเป็นธรรมานุธรรมปฏิปทา” (ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม) = ปฏิบัติเหมาะสมกับสภาวะต่างๆ ที่กำลังปรากฏ (ทำสิ่งที่เหมาะ ในที่ที่เหมาะ ในเวลาที่เหมาะ)

…………..

สุปฏิปนฺน” เขียนแบบไทยเป็น “สุปฏิบัน” (สุ-ปะ-ติ-บัน)

ขอเสนอคำว่า “พระสุปฏิบัน” ประชันกับคำว่า “พระสุปฏิบัติ” เพื่อให้เป็นคำที่ถูกต้องตามหลักภาษาและยังคงได้ความเท่าเดิมทุกประการ คือหมายถึงพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

…………..

สังคมชาวพุทธไทยเมื่อพบเห็นพระภิกษุสงฆ์ที่ตนศรัทธาเลื่อมใส ก็มักจะสรรเสริญว่า ท่านเป็น “พระสุปฏิบัติ” (พระสุปฏิปันโน = พระสุปฏิบัน)

แต่ถ้าถามว่า ใช้หลักอะไรตัดสินว่าท่านเป็นพระสุปฏิบัติ ส่วนมากก็ตอบไม่ได้ คงบอกได้แต่เพียง ฉันชอบ ฉันเลื่อมใสของฉันก็แล้วกัน กลายเป็นว่าเอาความถูกกับจริตจิตใจของตนเป็นเกณฑ์

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เอาความถูกต้องเป็นความถูกใจ

สังคมก็ศรีวิไลและไร้ข้อบกพร่อง

: เอาความถูกใจเป็นความถูกต้อง

สังคมก็บกพร่องและนับวันประลัย

#บาลีวันละคำ (2,277)

6-9-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย