บาลีวันละคำ

อนุปสัมบัน (บาลีวันละคำ 2,279)

อนุปสัมบัน

เห็นอยู่ทุกวัน แต่ไม่รู้ว่า-คือคำนี้

อ่านว่า อะ-นุ-ปะ-สํา-บัน

อนุปสัมบัน” บาลีเป็น “อนุปสมฺปนฺน” อ่านว่า อะ-นุ-ปะ-สํา-ปัน-นะ รากศัพท์มาจาก + อุปสมฺปนฺน

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แปลง เป็น อน– เช่น

: + อาคต (มาแล้ว) : > อน + อาคต = อนาคต (ไม่มาแล้ว = ยังไม่มา)

ในที่นี้ “อุปสมฺปนฺน”  ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อุ– จึงต้องแปลง เป็น อน-

(๒) “อุปสมฺปนฺน” (อุ-ปะ-สํา-ปัน-นะ) รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ), ลบที่สุดธาตุ (ปทฺ > ), แปลง เป็น นฺน (หรือนัยหนึ่ง แปลง ทฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น นฺน)

: อุป + สํ + ปทฺ = อุปสํปทฺ > อุปสมฺปทฺ + = อุปสมฺปทฺต > อุปสมฺปนฺน แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เข้าไปถึงพร้อม” หมายถึง ผู้ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุหรือภิกษุณีแล้ว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุปสมฺปนฺน” ว่า obtained, got, received; in special sense of having attained the recognition of bhikkhuship, ordained (ได้มา, ได้รับ, ถึงพร้อม, เข้าถึง; ในความหมายพิเศษของการบรรลุถึงความเป็นภิกษุ, อุปสมบท)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อุปสมฺปนฺน” เป็นอังกฤษว่า –

Upasampanna : the ordained; a Bhikkhu or Bhikkhunī.

อุปสมฺปนฺน” ในภาษาไทยใช้เป็น “อุปสมบัน” และ “อุปสัมบัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปสมบัน, อุปสัมบัน : (คำนาม) ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. (ป. อุปสมฺปนฺน).”

+ อุปสมฺปนฺน แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

: > อน + อุปสมฺปนฺน = อนุปสมฺปนฺน แปลว่า “ผู้ไม่ได้อุปสมบท

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อนุปสมฺปนฺน” เป็นอังกฤษว่า –

Anupasampanna : one who has not yet received the full ordination; novices and the laity; unordained one.

อนุปสมฺปนฺน” ในภาษาไทยใช้เป็น “อนุปสมบัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนุปสัมบัน : (คำนาม) ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).”

ขยายความ :

ในพระวินัยมีสิกขาบทเป็นอันมากที่กล่าวถึง “อนุปสัมบัน” เช่น ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์, ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน เกิน 3 คืนขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ เป็นต้น

คำว่า “อนุปสัมบัน” มีลักษณะคล้ายภาษากฎหมายที่ใช้คำกลางๆ แต่มีความหมายครอบคลุมได้หมด เช่น “รถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไป” (ไม่ต้องแจกแจงว่ารถชนิดไหนบ้าง) หรือคำว่า “สัตว์ 4 เท้า” (ไม่ต้องแจกแจงว่าสัตว์อะไรบ้าง) “อนุปสัมบัน” คือผู้ที่ไม่ได้บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ก็ไม่ต้องแจกแจงว่าคือใครบ้าง นอกจากภิกษุหรือภิกษุณีแล้วจัดเป็น “อนุปสัมบัน” ทั้งสิ้น

การแบ่งบุคคลออกเป็น “อุปสัมบัน” และ “อนุปสัมบัน” เป็นการแบ่งตามกติกาของสังคมสงฆ์ โดยใช้คุณสมบัติที่สามารถมองเห็นได้ ไม่เกี่ยวไปถึงคุณสมบัติอันเป็นนามธรรม เช่น สามเณรที่เป็นพระอรหันต์ก็ยังมีฐานะทางสังคมสงฆ์ต่ำกว่าภิกษุที่เป็นปุถุชน การกำหนดกติกาเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าพระอรหันต์ต่ำกว่าปุถุชน ซึ่งเป็นการวัดกันด้วยนามธรรม แต่หมายความว่าสามเณรต่ำกว่าภิกษุ ซึ่งเป็นการวัดกันด้วยรูปธรรม อันเป็นกติกาทางสังคม หรือ “สถานะทางสังคม” ที่คนทั่วไปมองเห็นได้

ขอให้สังเกตว่า กติกาสังคมมักกำหนดชัดเจนกันที่กาย (การกระทำ) กับวาจา (คำพูด) เท่านั้น ไม่ได้กำหนดกันด้วยความคิดจิตใจ

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าไม่เคารพกติกาสังคม

: ก็ไม่ควรจะอยู่ในสังคม

#บาลีวันละคำ (2,279)

8-9-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย