บาลีวันละคำ

มโนมัย (บาลีวันละคำ 2,288)

มโนมัย

ไม่ได้แปลว่าม้า

อ่านว่า มะ-โน-ไม

แยกศัพท์เป็น มโน + มัย

(๑) “มโน

รูปคำเดิมในบาลีเป็น “มน” (มะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มน (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ลบสระที่สุดธาตุ

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มน” (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

มน” เป็นศัพท์พิเศษที่เรียกว่า “มโนคณศัพท์” (มะ-โน-คะ-นะ-สับ) แปลว่า “ศัพท์ในกลุ่มของ มน

มโนคณศัพท์” มีกฎว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ให้แปลง อะ ที่สุดศัพท์เป็น โอ เช่น มน + รม แทนที่จะเป็น “มนรม” ท่านให้แปลง อะ ที่ (ม)- เป็น โอ (มน > มโน) จึงเป็น “มโนรม

ในที่นี้ มน + มย แทนที่จะเป็น “มนมย” ก็เป็น “มโนมย

(๒) “มัย

บาลีเป็น “มย” (มะ-ยะ) นักภาษาวิเคราะห์ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ –

(1) มีความหมายว่า “มยํ” (มะ-ยัง) = ข้าพเจ้าเอง (“myself”)

(2) มีความหมายว่า “ปญฺญตฺติ” (บัญญัติ) = รับรู้กันว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ (“regulation”)

(3) มีความหมายว่า “นิพฺพตฺติ” = บังเกิด (“origin”, arising from)

(4) มีความหมายว่า “มโนมย” = ทางใจ (“spiritually”)

(5) มีความหมายว่า “วิการ” = ทำให้แปลกไปจากสภาพเดิมของสิ่งนั้น (“alteration”) เช่น เอาทองมาทำเป็นสร้อยคอ (ทอง = สภาพเดิม, สร้อยคอ = สิ่งที่ถูกทำให้แปลกจากเดิม)

(6) มีความหมายว่า “ปทปูรณ” (บทบูรณ์) = ทำบทให้เต็ม เช่น ทานมัย ก็คือทานนั่นเอง สีลมัย ก็คือศีลนั่นเอง เติม “มัย” เข้ามาก็มีความหมายเท่าเดิม (to make up a foot of the verse)

กฎของการใช้คำว่า “มย” ก็คือ ไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่จะเป็นส่วนท้ายของคำอื่นเสมอ

มน > มโน + มย = มโนมย (มะ-โน-มะ-ยะ) คำแปลสามัญคือ “สำเร็จด้วยใจ” หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจจิต คือใช้พลังจิตทำให้เกิดขึ้น (made of mind, consisting of mind, formed by the magic power of the mind, magically formed)

ขยายความ :

ตามหลักท่านว่า จิตที่จะมีพลังทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “มโนมย” ขึ้นได้ต้องเป็นจิตที่ฝึกอบรมมาดีแล้วถึงระดับได้ฌานสมาบัติ

คำว่า “มโนมย” ที่รู้จักกันดีในหมู่นักเรียนบาลีคือคาถาแรกในคัมภีร์พระธรรมบทที่ขึ้นต้นว่า —

มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา

มโนเสฎฺฐา  มโนมยา

……………………….

……………………….

สรรพสิ่งมีใจเป็นผู้นำ

มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ

มีสำนวนแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า —

Mind foreruns all mental conditions,

Mind is chief, mind-made are they;

มโนมย” ในภาษาไทยใช้เป็น “มโนมัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มโนมัย : (คำวิเศษณ์) สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) (คำนาม) ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).”

อภิปราย :

ในคัมภีร์มีกล่าวถึงม้าที่ผู้มีฤทธิ์เนรมิตขึ้น ใช้คำว่า “มโนมยสินฺธว” (สินฺธว = ม้า) หรือ “มโนมยอสฺส” (อสฺส = ม้า) ศัพท์เช่นนี้ไม่ได้หมายถึง “ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ” แต่หมายถึงม้าเนรมิตหรือม้าทิพย์ คือไม่ใช่ม้าจริง

มโนมัย” ที่ใช้ประกอบกับ “ม้า” บางทีก็เรียกเป็น “ม้ามโนมัย” แล้วคำว่า “ม้า” หายไป เหลือแต่ “มโนมัย” คนก็เข้าใจกันว่า “มโนมัย” แปลว่า ม้า เป็นความหมายที่คลาดเคลื่อนหรือ “ผิดจนถูก” ไปอีกคำหนึ่ง

อาจเป็นเพราะคำแปล “มโนมัย” ที่ว่า “สำเร็จด้วยใจ” นั่นเอง ทำให้มีผู้เติมจินตนาการลงไปว่า “สำเร็จได้ดังใจคิด” แล้วคิดเลยไปถึงว่า แค่คิดก็สำเร็จแล้ว

มโนมัย” เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจจิตของผู้ได้ฌานสมาบัติ ส่วนคนธรรมดาคิดธรรมดาไม่สำเร็จ ต้องลงมือทำจริงๆ จึงจะสำเร็จ

…………..

ดูก่อนภราดา!

น  หิ  จินฺตามยา  โภคา

อิตฺถิยา  ปุริสสฺส  วา

ที่มา:สรภชาดก เตรสนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 27 ข้อ 1859

: โภคะทั้งหลายของชายหญิง

: มิสำเร็จได้จริงด้วยเพียงแต่นึกๆ เอา

#บาลีวันละคำ (2,288)

17-9-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *