บาลีวันละคำ

โลกันต- (บาลีวันละคำ 2,313)

โลกันต

ไม่ได้หมายถึงนรก

อ่านว่า โล-กัน-ตะ-

โลกันต-” บาลีเป็น “โลกนฺต” อ่านว่า โล-กัน-ตะ แยกศัพท์เป็น โลก + อนฺต

(๑) “โลก” บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

(๒) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

โลก + อนฺต = โลกนฺต แปลว่า “ที่สุดของโลก” (the end [spatial] of the world)

อภิปรายขยายความ :

โลกนฺต” เขียนแบบไทยเป็น “โลกันต์” อ่านว่า โล-กัน ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย เขียนเป็น “โลกันต-” เช่น “โลกันตนรก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำที่อ่านว่า โล-กัน สะกดเป็น “โลกันตร์” ซึ่งมาจากคำว่า “โลกนฺตร” (โล-กัน-ตะ-ระ) บอกไว้ดังนี้ –

โลกันตร์ : (คำนาม) ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).”

สรุปว่า “โลกันตร์” เป็นชื่อนรกขุมหนึ่ง

แต่ในภาษาไทย คนทั้งหลายเมื่อจะเขียนชื่อนรกขุมนี้ แทนที่จะสะกดเป็น “โลกันตรนรก” กลับสะกดเป็น “โลกันตนรก” ทั้งสิ้น (ดูภาพประกอบ)

โลกันตนรก” ก็คือ โลกันต + นรก = โลกันตนรก

เมื่อสะกดเป็น “โลกันต-” (ไม่ใช่ “โลกันตร-” ตามพจนานุกรมฯ) ก็ต้องหาความหมายว่า “โลกนฺต” หรือ “โลกันต์” หมายถึงอะไร

ในคัมภีร์มีข้อความในที่แห่งหนึ่งว่า —

…………..

ยตฺถ  โข  อาวุโส  น  ชายติ  น  ชิยฺยติ  น  มิยฺยติ  น  จวติ  น  อุปปชฺชติ  นาหนฺตํ  คมเนน  โลกสฺส  อนฺตํ  ญาเตยฺยํ  ทฏฺเฐยฺยํ  ปตฺเตยฺยนฺติ  วทามิ. 

ดูก่อนอาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง (ด้วยเท้าหรือด้วยพาหนะใดๆ)

ที่มา: โรหิตัสสสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 15 ข้อ 296

…………..

โลกสฺส  อนฺตํ” ในพระสูตรนี้ก็คือ “โลกนฺต” หรือ “โลกันต-” เป็นการแยกศัพท์ให้เห็นชัดๆ

ได้ความตามพระพุทธพจน์ในพระสูตรนี้ว่า “โลกันต-” คือ “ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ” ซึ่งก็คือ พระนิพพาน

ถ้าเขียนว่า “โลกันตนรก” ก็ต้องแปลว่า “นรกคือพระนิพพาน” ซึ่งไม่มีคำสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาบอกไว้เช่นนั้นที่ไหนเลย

ในคัมภีร์มีคำว่า “โลกนฺตคู” (โล-กัน-ตะ-คู) แปลว่า “ผู้บรรลุถึงที่สุดแห่งโลก” ก็มาจาก “โลกนฺต-” คำเดียวกันนี้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โลกนฺตคู” ว่า one who has reached the end of the world (and of all things worldly), Ep. of an Arahant (ผู้ถึงที่สุดโลก [และทุกสิ่งในทางโลก], เป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระอรหันต์)

เพราะฉะนั้น จึงยุติได้ว่า คำที่ชอบเขียนกันว่า “โลกันตนรก” โดยตั้งใจจะให้หมายถึง “โลกันตรนรก” (หรือ “โลกันตริกนรก”) อันเป็นชื่อนรกขุมหนึ่งนั้น เป็นคำที่เขียนผิด แล้วพยายามจะบอกกันว่าเป็นคำที่ถูกต้อง หรือสะกดอย่างนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ท่านกำลังทำโลกให้วิปริต

: ถ้ายอมให้ผิดกลายเป็นถูก

#บาลีวันละคำ (2,313)

12-10-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย